การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว

B1 รูปร่างลักษณะ ปลาตะเพียนขาวมีลักษณะลำตัวแบนข้าง หัวเล็ก ปากเล็ก ริมฝีปากขอบส่วนหลังโค้งยกสูงขึ้น ความยาวจากสุดหัวจรดปลายหาง 2.5 เท่าของความสูงจะงอยปากแหลม มีหนวดเส้นเล็ก 2 คู่ ต้นของครีบหลังอยู่ตรงกันข้ามกับเกล็ดที่สิบของเส้นข้างตัว เกล็ดตามแนวเส้นข้างตัวมี 29-31 เกล็ด ลำตัวมีสีเงิน ส่วนหลังมีสีคล้ำ ส่วนท้องสีขาว ที่โคนของเกล็ดมีสีเทาจนเกือบดำ ปลาตะเพียนขาวขนาดโตเต็มที่มีลำตัวยาวสูงสุดถึง 50 เซนติเมตร
ปลาตะเพียนสามารถเจริญเติบโตได้ดีในแหล่งน้ำทั่วไป เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายกินพืชเป็นอาหาร อาศัยอยู่ได้ดีในแหล่งน้ำนิ่งแม้กระทั่งในนาข้าว เมื่ออายุเพียง 6 เดือน ก็สามารถจะมีน้ำหนักได้ถึงครึ่งกิโลกรัม

บ่อเลี้ยง  ควรเป็นบ่อขนาด 400 ตารางเมตร จนถึงขนาด 1 ไร่ หรือมากกว่านั้น ควรลึกของน้ำในบ่อควรลึกกว่า 1 เมตรขึ้นไป ใช้เลี้ยงลูกปลาที่มีขนาดยาว 5-7 เซนติเมตรขึ้นไป ในอัตราส่วน 3-4 ตัวต่อตารางเมตร หรือ 5,000 ตัว/ไร่

บ่อใหม่ หมายถึงบ่อที่เพิ่งขุดใหม่และจะเริ่มการเลี้ยงเป็นครั้งแรก บ่อในลักษณะเช่นนี้ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคพยาธิที่ตกค้างอยู่ในบ่อ เพียงแต่บ่อใหม่จะมีอาหารธรรมชาติอยู่น้อย หากภายในบ่อมีคุณสมบัติของดินและน้ำไม่เหมาะสมก็ต้องทำการปรับปรุง เช่น น้ำและดินมีความเป็นกรดเป็นด่างต่ำกว่า 6.5 ก็ต้องใช้ปูนขาวช่วยในการปรับสภาพ แล้วระบายน้ำเข้าให้มีระดับประมาณ 10 เซนติเมตร ทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ จากนั้นก็ระบายน้ำเข้าให้มีระดับประมาณ 50 เซนติเมตร ทิ้งไว้อีก 5 -7 วัน จึงปล่อยน้ำเข้าให้ได้ระดับตามต้องการประมาณ 1-1.5 เมตร จึงปล่อยปลาลงเลี้ยงบ่อเก่า หรือบ่อที่ผ่านการเลี้ยงมาแล้ว หลังจากจับปลา ทำการสูบน้ำออกให้แห้งทิ้งไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน จากนั้นใส่ปูนขาวฆ่าเชื้อโรค และพยาธิพร้อมทั้งปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของพื้นบ่อ แต่ถ้าเป็นบ่อที่มีเลนอยู่มากควรทำการลอกเลนขึ้นก่อนแล้วจึงค่อยใส่ปูนขาว จากนั้นตากบ่อทิ้งไว้อีก 7 วันแล้วจึงปฏิบัติเหมือนกับบ่อใหม่ แต่ถ้าไม่สามารถสูบน้ำไห้แห้งได้ จำเป็นต้องกำจัดศัตรูปลาให้หมดเสียก่อน

B2

ปัญหาและอุปสรรค ปัญหาทั่วไปที่มักจะพบ ได้แก่ ปลาไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ทั้งนี้ เพราะไม่ได้ถ่ายเทน้ำเป็นประจำทำให้เกิดเห็นปลาและหนอนสมออันเป็นพยาธิของปลาหรือโรคจากบักเตรี ซึ่งเกิดจากการเลี้ยงปลาแน่นเกินไป

ศัตรูของปลาอีกประการหนึ่ง คือ การลักขโมยซึ่งมีวิธีการหลายอย่าง เช่น ใช้ตาข่าย แห กระชัง ลอบ ทำให้ผู้เลี้ยงปลาประสบการขาดทุนมาหลายรายแล้ว ซึ่งปัญหาเหล่านี้ผู้เลี้ยงควรศึกษาและแก้ไขโดยใกล้ชิด พร้อมทั้งปฏิบัติตามคำแนะนำในด้านวิชาการจากเจ้าหน้าที่ของกรมประมงอย่างเคร่งครัด

ผลตอบแทน เมื่อเลี้ยงปลาได้ประมาณ 8 เดือน หรือเห็นว่าปลาโตจนได้ขนาดที่ตลาดต้องการแล้ว เกษตรกรควรทยอยจับปลาที่ขนาดใหญ่จำหน่ายก่อน ส่วนปลาที่มีขนาดเล็กเลี้ยงต่อไปจนได้ขนาดตลาดจึงจับจำหน่ายภ้าเลี้ยงเป็นระยะเวลา 1 ปี จะได้ผลผลิตไม่น้อยกว่า 400 กก./ไร่ ราคาผลผลิตขึ้นอยู่กับชนิดปลาและขนาด โดยทั่วไปปลาที่มีขนาดใหญ่จะขายได้ราคาดีกว่า ผลตอบแทนคิดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25 บาท ขายผลผลิตได้ 10,000 บาท เกษตรกรจะมีกำไรต่อการเลี้ยงประมาณ 6,140 บาท

นอกจากการเลี้ยงแบบธรรมชาติแล้ว เกษตรกรควรให้อาหารสมทบจำพวก รำ ปลวก พืชผักต่างๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากนัก จะทำให้ปลาเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น ช่วยร่นระยะเวลาในการเลี้ยงให้สั้นลง

ร่วมแสดงความคิดเห็น