รายงานพิเศษ…เตรียมซักซ้อม พร้อมรับมือน้ำท่วมอย่างปลอดภัย

รับมือน้ำท่วม (4)ช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคมจะมีฝนตกหนักเกือบทุกวันทั่วทั้งประเทศไทย ทำให้ในหลายพื้นที่มีปัญหาน้ำท่วมขัง อีกทั้งน้ำที่เอ่อท่วมจากลำน้ำ น้ำป่าไหลหลาก เกิดปัญหาน้ำท่วมใหญ่สร้างความเสียหายให้แก่พี่น้องประชาชนในบริเวณกว้าง

การเตรียมของรับมือน้ำท่วม อุปกรณ์ที่มีความจำเป็นประกอบด้วย สิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

• ไฟฉายและถ่านไฟฉาย

• เทียนไข

• ยาสามัญประจำบ้าน

• ยาประจำตัวสำหรับผู้มีโรคประจำตัว

• อาหารกระป๋อง-อาหารสำเร็จรูป

• น้ำดื่ม

• ถุงพลาสติกเอาไว้ใส่ขยะและเอาไว้ถ่ายหนัก-เบา หากถ่ายลงในน้ำจะทำให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค

• ปูนขาว ใช้ใส่ในถุงพลาสติกที่ถ่ายหนัก-เบา เพื่อฆ่าเชื้อโรค

• ถุงขยะสีดำใบใหญ่ ไว้รวมขยะทั้งหมดให้อยู่ในถุง ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค เป็นต้น
ในด้านการวางแผนเพื่ออพยพคนและสัตว์เลี้ยงหากเกิดน้ำท่วม โดยดูความเหมาะสม พิจารณาจากสมาชิกภายในครอบครัว เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว และผู้พิการไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ควรย้ายออกจากบ้านพัก สามารถติดต่อกับศูนย์ป้องกันภัย หรือ ศูนย์ช่วยเหลือประจำหมู่บ้าน/อำเภอ

โรคและสภาวะที่ต้องระวังในช่วงเกิดเหตุน้ำท่วม ได้แก่ ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ , โรคฉี่หนู , โรคอหิวาตกโรค , โรคตาแดง , อาหารเป็นพิษ , สภาวะน้ำกัดเท้า , แมลงสัตว์กัดต่อย

รับมือน้ำท่วม (3)

ข้อควรปฏิบัติในระหว่างเกิดภาวะน้ำท่วม

– กินอาหารและดื่มน้ำที่สะอาดทุกครั้ง

– หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆดิบๆ ต้องปรุงให้สุกก่อน เพราะในกรณีน้ำท่วมมีโอกาสที่จะได้รับเชื้อโรคสูงมาก

– ควรล้างมือให้บ่อยเท่าที่จะทำได้

– ถ้าหากเป็นอาหารกระป๋อง หรือ อาหารสำเร็จรูป ต้องตรวจสอบวันหมดอายุ และลักษณะของกระป๋อง ที่บรรจุอาหาร ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่บุบ ไม่บวม และไม่เป็นสนิม และถ้าสามารถทำให้ร้อนได้ ควรทำให้ร้อนก่อนกินทุกครั้ง

– การถ่ายหนักและถ่ายเบาควรทำในห้องน้ำ ห้ามถ่ายลงน้ำโดยตรง เพื่อไม่ให้เป็นการกระจายตัวของเชื้อ โรค กรณีที่ไม่มีห้องน้ำใช้ ต้องถ่ายลงในถุงพลาสติก และ ถ้าเป็นการถ่ายหนักต้องใส่ปูนขาวลงไป พอประมาณเพื่อฆ่าเชื้อ หลังจากนั้นผูกถุงให้แน่นแล้วทิ้งในถุงดำอีกที เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจาย

– หากเกิดภาวะท้องเสีย ให้ดื่มเกลือแร่ที่ผสมน้ำต้มสุกหรือน้ำสะอาด และถ้าสามารถไปโรงพยาบาลหรือ
หน่วยรักษาพยาบาลได้ให้รีบไปทันที ที่สำคัญห้ามผู้ป่วยถ่ายลงน้ำเด็ดขาด

– หลีกเลี่ยงการแช่น้ำนานๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีบาดแผล หากจำเป็นควรสวมถุงพลาสติกหรือใส่รองเท้าบูท เพราะการแช่ในน้ำ

– ระมัดระวังสัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง สัตว์มีพิษ หรือแม้แต่ จระเข้ (กรณีอยู่ใกล้แม่น้ำ)
การดูแลสุขภาพหลังน้ำลด

– โรคและภัยสุขภาพหลังน้ำลด ถึงน้ำจะลดลงแต่โรคและภัยสุขภาพยังคงอยู่ เช่น ไข้หวัด ปอดบวม โรคฉี่หนู โรคตาแดง ท้องร่วง อาหารเป็นพิษ การป้องกันโรคก็ยังเหมือนเดิม

แต่สิ่งที่ต้องการเน้นให้ระวังหลังน้ำลด คือ สภาวะน้ำกัดเท้า อาการคัน และโรคผิวหนัง เมื่อน้ำลด พื้นก็ยังแฉะ มีน้ำขัง มีน้ำเน่าจากขยะปฏิกูล พืชที่จมน้ำ และมีเชื้อโรคบางชนิด หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรใส่รองเท้าบูท

รับมือน้ำท่วม (1)

แนวทางแก้ไขและการป้องกันปัญหาอุทกภัย

1. ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา

2. ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือและวางแผนอพยพหากจำเป็น

3. เตรียมอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นที่กล่าวข้างต้นให้พร้อม

4. ซ่อมแซมอาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร

5. เตรียมพร้อมเสมอเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพไปที่สูง ขณะอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยและฝนตกหนักต่อเนื่อง

ด้วยความปรารถนาดีจาก ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ www.nurse.cmu.ac.th โทรศัพท์ 0-5393-5045

ร่วมแสดงความคิดเห็น