เชียงใหม่ อธิบดีกรมฝนหลวงลงพื้นที่ ตรวจการดำเนินการเติมน้ำในเขื่อน

 

ตรวจงาน (1)เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 25 ส.ค.59 นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้เดินทางมายังห้องประชุม ท่าอากาศยานทหารกองบิน 41 จ.เชียงใหม่ เพื่อรับฟังการดำเนินการและเพื่อร่วมเปิดโครงการความร่วมมือระหว่างกรมฝนหลวงและการบินเกษตรกับกองทัพอากาศ “การปฏิบัติการวิจัยพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น ปี 2559” โดยได้มีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งโครงการนี้ ถือเป็นโครงการที่ทำขึ้นเพื่อการวิจัยละพัฒนาพลุสารดูดความขื้น ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างกรมฝนหลวงและการบินเกษตรกับกองทัพอากาศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาของการใช้สารฝนหลวงชนิดผง ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดความชื้นได้ดี จึงทำให้เกิดปัญหาการจับตัวเป็นก้อนแข็ง ทำให้ประสิทธิภาพของสารลดลง จึงได้มีการพัฒนาเป็นพลุสารดูดความชื้น เพื่อใช้ติดตั้งกับอุปกรณ์จุดพลุบนเครื่องบิน โดยได้มีการวิจัยตั้งแต่ปี 2550 อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้ทาง นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยหลังการประชุมในครั้งนี้ว่า หลังการดำเนินงานตั้งแต่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทางกรมฝนหลวงคาดหวังว่าน้ำใน 4 เขื่อนหลักจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น 3,000 – 3,5000 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงนั้นพบว่ามีข้อจำกัดเยอะ ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.เป็นต้นมาทางกรมฝนหลวงได้ขึ้นปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้รวมระยะเวลาได้ 42 วัน และมีการบินทั้งสิ้นจำนวน 52 เที่ยว โดยในการปฏิบัติการภาพรวมสามารถเสริมเติมศักยภาพให้กับลุ่มน้ำปิงได้เป็นอย่างดี เนื่องจากขณะนี้ใน 4 เขื่อนหลักนั้นมีน้ำประมาณ 3,700 ล้านลูกบาศก์เมตร ถึงวันที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา และหากดำเนินการจนถึงสิ้นเดือนนี้คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำถึง 4,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะเกินเป้าที่ทางกรมฝนหลวงและทางกรมชลประทานได้คาดการณ์ไว้จะมีปริมาณน้ำอยู่ประมาณ 3,000 – 3,500 ล้านลูกบาศก์เมตร และหมายถึงช่วงฤดูกาลแล้งในปีหน้าเราจะมีน้ำต้นทุนเพียงพอที่จะใช้สอยในช่วงฤดูแล้ง และในส่วนที่จะเกินจากนี้ไปเป็น 5,000 – 6,000 ล้านลูกบาศก์เมตร นั้นก็จะใช้ในการปลูกพืชฤดูแล้งนั้นก็จะต้องดูผลในวันที่ 1 พ.ย. อีกครั้งหนึ่ง

ตรวจงาน (2)

อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตามทางกรมฝนหลวงก็ได้มีการปรับแผน ซึ่งได้มีการพูดคุยกับทางกรมชลประทานในบางเขื่อน เนื่องจากว่าเขื่อนทุกเขื่อนนั้นไม่ได้มีน้ำเติมเข้าในเขื่อนสมบูรณ์หมดทุกเขื่อน เช่น ในพื้นที่ภาคเหนือก็จะมีเขื่อนภูมิพลฯ ที่ยังมีปัญหาอยู่ซึ่งขณะนี้มีน้ำอยู่ประมาณ 8% ที่สามารถใช้การได้ ซึ่งในขณะนี้โครงการดังกล่าวถึงจะได้มีการปิดโครงการวิจัยไปแล้ว แต่ก็ยังมีการขอความร่วมมือกับทางกองทัพอากาศในการช่วยเลริมเติมต่อตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. โดยจะย้ายฐานการปฏิบัติการไปอยู่ที่ จ.พิษณุโลก เพื่อจะเสริมเติมให้กับเขื่อนภูมิพลฯ โดยจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 30 ก.ย. แล้วหลังจากนั้นก็จะมีการประเมินผลอีกครั้งหนึ่งว่าจะปฏิบัติการอย่างไรต่อ

นอกจากนี้แล้วในส่วนของเขื่อนอื่นๆ ก็ยังพบว่ามีปัญหาอยู่เหมือนกัน อย่างเช่น เขื่อนลําตะคอง และ เขื่อนอุบลรัตน์ ที่ตอนนี้ระดับน้ำก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ส่วนภาคใต้ก็จะมีเขื่อนบางลาง ซึ่งในจำนวนเขื่อนต่างๆ ที่กล่าวมากรมฝนหลวงและกรมชลประทาน รวมทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้วางแผนเพื่อที่จะเสริมเติมให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น ส่วนในเรื่องของเขื่อนแม่งัด และเขื่อนแม่กวง ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ขณะนี้ยังไม่น่าเป็นห่วง เพียงแต่อยู่ที่การบริหารจัดการตามขั้นตอนต่อไป

ตรวจงาน (3)

ร่วมแสดงความคิดเห็น