คาดฝนชุกปลายกันยาฯนี้ เตรียมพร่องน้ำรับน้ำท่วม

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน ระบุว่า กรมอุตุนิยมวิทยา ได้แจ้งเตือนให้เตรียมรับมือช่วง 13-15 กันยายนนี้คาดว่าประเทศไทยจะมีพายุดีเปรสชั่น โดยลักษณะอากาศจะส่งผลให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกเพิ่มขึ้นถึงตกหนักและหนักมาก ขอให้ติดตามรายงานอากาศอย่างใกล้ชิด และเตรียมรับมือ ป้องกันน้ำท่วมฉับพลัน  น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และน้ำท่วมขังในที่ลุ่มต่ำด้วย

1-jpg

0..ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน  ประชุมวางแผนบริหารจัดการน้ำ
ในขณะที่ภาวะการเก็กกับน้ำสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 40,214 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 54 (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 16,394 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 32) เฉพาะในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ปริมาตรน้ำ 37,946 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 54 (ปริมาตรน้ำใช้การได้14,419 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 31) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2558 (35,472 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 50) มากกว่าปี2558 จำนวน 2,474 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 215.54 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายจำนวน 67.08 ล้าน ลบ.ม.สามารถรับน้ำได้อีก 32,768 ล้าน ลบ.ม.
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จากการตรวจสอบปริมาณน้ำใน เขื่อนแม่งัด มีปริมาณน้ำ 94.891 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 35.81 % ของความจุเก็บกัก เขื่อนแม่กวงฯ มีปริมาณน้ำ 46.579 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 17.71 % ของความจุเก็บกัก อ่างเก็บน้ำขนาดกลางในเขตจังหวัดเชียงใหม่ (12 อ่างฯ) มีปริมาณน้ำรวม 24.734 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 28.54 % ของความจุเก็บกัก อ่างเก็บน้ำขนาดกลางในเขตจังหวัดลำพูน (4 อ่างฯ) มีปริมาณน้ำรวม 8.980 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็น 25.58 % ของความจุเก็บกัก

6-jpg0..สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำปิงวันนี้ (10กันยานยน 2559)

5-jpg

0..เขื่อนภูมิพล..ต้องใช้มาตรการฝนหลวงช่วยเติมน้ำ..เพื่อรับมือแล้งหน้า
อย่างไรก็ตามจากภาวะฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องในระยะนี้และมีแนวโน้มจะตกชุกในปลายเดือนกันยายนนี้ ทำให้หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา หลายๆแห่ง เตรียมมาตรการพร่องน้ำ และเร่งระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำเอ่อล้นตลิ่ง ซึ่งบางแหล่งน้ำ ได้สร้างความตื่นตระหนก เพราะความไม่เข้าใจของชาวบ้าน เกษตรกรที่หวั่นปัญหาน้ำขาดแคลนไม่พอใช้ในการอุปโภค บริโภค

2-jpg

0…ลุ่มน้ำน่านใช้มาตรการพร่องน้ำ รับมือน้ำท่วมฝนชุกกันยายนนี้

4-jpg

0….เหตุการณ์น้ำท่วมที่น่าน..ที่ผ่านมา

3-jpg
ด้านนายชำนาญ ชูเที่ยง ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน กล่าวว่า ระดับนโยบายได้เน้นการบริหารจัดการแบบบูรณาการร่วมกัน ซึ่งจังหวัดน่าน ในพื้นที่ลุ่มน้ำยมนั้น เคยมีภาวะน้ำท่วมเกิดขึ้น จึงมีมาตรการพร่องน้ำ และระบายน้ำในแม่น้ำยมสายเก่า ,คลองเมม-คลองบางแก้ว และทุกประตูระบายน้ำ ที่ดูแลรับผิดชอบ ให้น้ำมีระดับต่ำกว่าระดับวิกฤต ไม่น้อยกว่า 2.เมตร เพื่อรับมืออุทกภัยที่อาจเกิดขึ้น
สำนักชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ เปิดเผยว่า การบริหารจัดการน้ำนั้นจังหวัดเน้นมาตรการแนวทางเดียวกัน ไม่ใช่ต่างพื้นที่ต่างหน่วยงานจัดการ ถ้าในเขตนครเชียงใหม่ จุดที่เสี่ยงน้ำท่วมขัง ก็มีเทศบาลนครเชียงใหม่ เข้ามาจัดการพื้นฐาน โดยสำนักชลประทานสนับสนุน อุปกรณ์ เครื่องสูบน้ำเตรียมพร้อม ร่วมกับใช้มาตรการพร่องน้ำ รองรับฝนที่คาดว่าจะตกหนักในช่วง 13-15 กันยายนนี้

ร่วมแสดงความคิดเห็น