กรมพัฒนาแรงงาน-เสริมศักยภาพคน…

%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%a1
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ 7 องค์กรภาครัฐ จัดโครงการ “Chevron Enjoy Science” โดยการเปิดฝึกอบรมเสริมศักยภาพทักษะแรงงานในสาขาวิชาวิชาออโตเมชั่นและแมคทรอนิกส์ชั้นสูง ขานรับนโยบายรัฐ ในการก้าวเข้าสู่ ประเทศไทย 4.0 ผลักดันอุตสาหกรรมของไทยก้าวเข้าไปสู่อีกระดับ โดยมุ่งเน้นด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมศักยภาพทางการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 9 ก.ย.ที่ห้องประชุมโรงแรมดิเอ็มเพรส อ.เมือง จ.เชียงใหม่ รศ.ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง ที่ปรึกษาอาวุโสโครงการ Chevron Enjoy Science (TVET) จากสถาบันคีนันแห่งเอเชีย พร้อมด้วย นายนัครินทร์ คฤหาสน์สุวรรณ นักวิชาการฯชำนาญการ สำนักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกันแถลงข่าวปิดการฝึกอบรมโครงการ “Chevron Enjoy Science” โดยทาง บริษัทเชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิตจำกัด และสถาบัน คีนันแห่งเอเชีย ร่วมกับ 7 องค์กรภาครัฐ เป็นโครงการระยะยาว 5 ปี ภายใต้งบประมาณรวมทั้งสิ้นกว่า 900 ล้านบาทที่สอดคล้องกับนโยบาย “รัฐร่วมเอกชน” ของรัฐบาล โดยมุ่งเน้นด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมศักยภาพทางการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ผ่านการพัฒนาการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ หรือ STEM รวมถึงการศึกษาสายเทคนิคและอาชีพหรืออาชีวศึกษา ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพกำลังคนในอุตสหกรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ อุสหกรรม ยานยนต์ พลังงาน และเกษตร เป็นต้น โครงการดังกล่าวนี้ เป็นความร่วมมือของเชฟรอนประเทศไทยกับหน่วยงานภาครัฐ การศึกษา สังคม และเอกชน ที่เกี่ยวข้อง โดยประมาณการว่าจะสามารถช่วยยกระดับการศึกษาด้าน STEM ให้โรงเรียนกว่า 600 แห่งทั่วประเทศ พัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนกว่า 10,000 คน และมีผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ทั้งสิ้นกว่า 500,000 คน ทั้งนักเรียน ครูอาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา เจ้าหน้าที่ของภาครัฐ รวมถึงบุคลากรในประเทศไทย ซึ่งโครงการนี้จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต โดยเพิ่มโอกาศทางด้านอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้แก่เยาวชนไทยอย่ายั่งยืน
โดยทาง ดร.สมเกียรติ จอมจันทร์ยอง ที่ปรึกษาอาวุโส สถาบันคีนันแห่งเอเซีย กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ดำเนินการในการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรหรือกำลังพลทางด้านสายอาชีพเนื่องจากประเทศไทยกำลังเข้าสู่ ประเทศไทย 4.0 ซึ่งต้องการให้อุตสาหกรรมของไทยก้าวเข้าไปสู่อีกระดับที่เป็นมูลค่าเพิ่มและมีลักษณะของความยั่งยืนของอุตสาหกรรม เนื่องจากปัจจุบันที่ผ่านมาประเทศไทยมักจะมุ่งเน้นในเรื่องของอุตสาหกรรมรับจ้างการผลิต ซึ่งต่อไปจะต้องมีการพัฒนาด้านความคิดสร้างสรรให้มากขึ้น โดยโครงการ “Chevron Enjoy Scienc” มีวัตถุประสงค์มุ่งยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศผ่านการพัฒนาศักยภาพแรงงานวิชาชีพที่มีทักษะฝีมือ และพื้นฐานด้านสะเต็ม (STEM) เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพแรงงานให้กับ 4 อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ พลังงานการเกษตร และไมโครอิเล็กทรอนิกส์
โครงการฯ เห็นทิศทางการพัฒนาประเทศตามนโยบาย ประเทศไทย 4.0 โดยเห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาทักษะแรงงานให้มีความรู้ขั้นสูง และพัฒนาศักยภาพฝีมือแรงงานโดยการนำความรู้ด้านสะเต็ม (STEM) ที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาสามารถต่อยอดแนวคิดด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ดังนั้น การจัดอบรมความรู้ในสาขาวิชาออโต้เมชั่นและแมคคาทรอนิกส์ชั้นสูงต้องการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพครูฝึกของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ระบบออโตเมชั่น การควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่โดยใช้ Wireless และการเขียนโปรแกรมควบคุมเครื่องจักร เป็นต้น เพื่อนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับแรงงานที่เข้าสู่อุตสาหกรรมให้มีทักษะความสามารถตามความต้องการของภาคเอกชน
นายนัครินทร์ คฤหาสน์สุวรรณ นักวิชาการฯ ชำนาญการ สำนักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก กล่าวว่า โครงการฝึกอบรมครั้งนี้เป็นการฝึกเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันฝีมือแรงงานฝห้เท่าเทียมกับนานาประเทศ และเพื่อมาพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศต่อไป โดยส่วนที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาทรัพยากรคือการพัฒนาครูฝึก ซึ่งทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเองก็เป็นส่วนหนึ่งในการเป็นตัวขับเคลื่อนภารกิจของประเทศไทยคือนโยบาย ประเทศไทย 4.0 ให้ลุล่วงจึงจำเป็นต้องพัฒนาครูฝึกให้รู้ทันเท่าเทคโนโลยี ที่จะเกิดกขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้นมาโดยร่วมกับทางสถาบันคีนัน ซึ่งหลักสูตรนี้จะเป็นการอบรมประมาณ 10 วัน จะเน้นในเรื่องของระบบออโตเมชั่น ยุคใหม่ ในภาพรวมทั้งหมด นับตั้งแต่ตัวอุปกรณ์ทำงาน จนกระทั่งตัวควบคุม
สำหรับหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรภาพรวมของระบบที่ใช้ในกลไกขับเคลื่อนของ อินดัสเทรียล 4.0 โดยให้เรียนภาพรวมทั้งหมด ตั้งแต่ การทำงานทั่วๆ ไป จนกระทั่งถึงการควบคุมระบบผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งหลักสูตรนี้ส่วนใหญ่ที่เข้าอบรมจะเป็นครูฝึกที่เคยฝึกอบรมให้กับแรงงานในสถานประกอบการอยู่แล้ว เมื่อผ่านการอบรมก็จะได้นำองค์ความรู้ที่ได้ไปขยายผลฝึกอบรมให้แรงงานต่อไป ดดยการนำไปประยุกต์ใช้ตามสถานประกอบการที่ฝึกอบรม และเนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยยังขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ เนื่องจากการที่จะมาเรียนหลักสูตรเหล่านี้ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจึงเปิดโอกาสให้แรงงานทั่วไปได้รับการอบรม โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับครูฝึก แล้วให้ครูฝึกไปประจำหน่วย จัดฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าวให้กับแรงงานทั้งในและนอกระบบ เมื่อผู้เข้ารับการอบรมผ่านหลักสูตรก็จะมีความสามารถในการที่จะนำศักยภาพไปพัฒนาสถานประกอบการ พัฒนากิจการของตัวเอง รวมทั้งพัฒนาเพื่อให้ประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนได้ตามประเทศไทย 4.0 ได้
ด้าน นายชำนาญ หีบพร ผจก.ฝ่ายการศึกษา Festo กล่าวว่า สำหรับโครงการ “Enjoy Science” ที่มองเห็นถึงศักยภาพของการพัฒนาบุคลากรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตในทางด้านวิศวกรรรม ด้านการศึกษา หรือแม้กระทั่งในสาขาอื่นๆ ซึ่งในโครงการฝึกอบรมครั้งนี้ได้มุ่งไปที่เรื่องของอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากอุตสาหกรรมในประเทศไทยนั้นมีอยู่หลากหลายประเภท ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้จะใช้เครื่องจักรที่เป็นอัตโนมัติทั้งสิ้น แต่วิศวกรรมที่เข้าไปควบคุมยังขาดความรู้หลายๆ ด้าน ซึ่งเครื่องจักรในอุตสาหกรรมทุกอย่างนั้นส่วนใหญ่จะมีหลักการและพื้นฐานที่คล้ายๆ กัน คือใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ และมีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกที่ยวข้อง ดังนั้นการอบรมจึงมุ่งไปในเรื่องของการพัฒนาคน โดยทำอย่างไรให้ผู้ผ่านการอบรมนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อ เข้าไปขยายผลต่อบุคลากรที่อยู่ในงานอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นในเรื่องของ อินดัสเทรียล 4.0 ซึ่งอุตสาหกรรม 4.0 นั้นมีอะไรที่ซับซ้อนกว่ามาก เนื่องจากสิ่งที่เราผ่านมานั้นเป็น อินดัสเทรียล 3.0 แต่ทั้งนี้ในปัจจุบันได้มั่งเน้นไปที่ อินดัสเทรียล 4.0 ซึ่งจะต้องมีพื้นฐานในส่วนของช่างแมคคาทรอนิกส์
ปัจจุบันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต หรือเครื่องจักรกลสมัยใหม่ จะต้องอาศัยความรู้ทั้งทางวิศวกรรมเครื่องกลวิศวกรรมอเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมระบบควบคุม วิศกรรมคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมการผลิต จึงจะสามารถออกแบบ สร้าง และบำรุงรักษาผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลสมัยใหม่ต่างๆได้ วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์จึงเป็นหลักสูตรวิศวกรรมสมัยใหม่ ที่มุ่งผลิตวิศวกรให้มีความรู้ความสามารถในการออกแบบ สร้าง และบำรุงรักษา ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลสมัยใหม่ เช่น หุ่นยนต์ เครื่องจักรที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ และการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบ วิเคราะห์และ ผลิต กระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสหกรรมที่มีการใช้ระบบออโตเมชั่นมากขึ้น ดั้งนั้นหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จึงต้องเร่งพัฒนาทักษะเเรงงาน ให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ พัฒนาประสิทธิภาพให้สูงขึ้นเพื่อตอบสมอง ความต้องการ ของภาคเอกชนและทิศทางอุตสหกรรมยานยนต์ในอนาคต

ร่วมแสดงความคิดเห็น