เสน่ห์เครื่องราง…”วัวธนูล้านนาโบราณ”

img_9358วัวธนูล้านนาตัวเล็กจิ๋วแต่เป็นเครื่องรางที่เข้มขลังนัก วัวธนูถือได้ว่าเป็นเครื่องรางของขลังที่มีความเกี่ยวข้องผูกพันธ์กับชาวล้านนามาโดยตลอดตั้งแต่สมัยโบราณเป็นเครื่องรางที่มีไว้บูชาตั้งแต่ไพร่ฟ้าสามัญชนตลอดจนถึงขุนนางจนถึงเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินก็ยังมีไว้ป้องกันตัวในยามศึกป้องกันคุณไสย์ภูติผีปีศาจเวลาออกเดินทางไปไหนต้องค้างอ้างแรมในป่า ต่างบ้านต่างเมืองก็จะสร้างวัวธนูนำพกติดตัวไปด้วยตลอดและนิยมมีไว้บูชาทั้งในบ้านที่พักอาศัยวัวธนูที่สร้างขึ้นจากครูบาอาจารย์ มีการสร้างขึ้นในหลายรูปแบบ

วัวธนูที่เกิดจากการ หล่อ ปั้น และสานขึ้นจากไม้ วัวธนูที่เป็นรูปลักษณ์ของวัวธนูชนิดที่ได้จากการหล่อ มักเป็นรูปหล่อจากโลหะอาถรรพ์ เช่นเศษบาตรพระที่แตกชำรุด ตะปูตอกโลงศพผีตายโหงเจ็ดป่าช้าหรือโลหะที่ถลุงจากทองขวานฟ้า โลหะที่อยู่บนบริเวณหลังคาโบสถ์ฟ้าผ่า ส่วนที่ได้จากการปั้นมักใช้ดิน ขี้ผึ้ง หรือ ครั่ง ซึ่งได้มาจากที่ต่าง ๆ กล่าวคือ ดินมักเป็นดินจากขี้เถ้าของศพคนตายวันเสาร์เผาวันอังคาร ดินจากป่าช้าเจ็ดแห่ง ดินที่พลีมาจากสี่มุมเมือง ดินจากจอมปลวกอารักษ์เมืองหรือดินโป่ง ถ้าเป็นขี้ผึ้งมักเป็นขี้ผึ้งจากเทียนที่จุดข้างโลงศพขณะมีพิธีชักผ้าบังสุกุล)ขี้ผึ้งจากรังของผึ้งที่รุมต่อยคนจนคนเสียชีวิตหรือขี้ผึ้งบริสุทธิ์ และหากเป็นครั่งก็มักเป็นครั่งจากไม้พุทรา

สำหรับวัวธนูที่มาจากการแกะ ส่วนใหญ่จะแกะจากเขาวัวตายฟ้าผ่า งาช้าง นอแรด และเขี้ยวหมูตันกระดูก ส่วนที่ได้จากการสานมักสานจากตอกไม้ไผ่หรือหวายเป็นรูปวัวมีเขาและขาพอเป็นรูปร่างวัวธนูที่เป็นรูปสัญลักษณ์ในส่วนของวัวธนูที่เป็นรูปสัญลักษณ์จะใช้ตอกไขว้เป็นรูปเขาวัวทั้งสองข้าง หรือไม่ก็ใช้หญ้าคาสดทำรูปอาถรรพณ์เป็นรูปเขาวัวสอดกับนิ้วมือข้างซ้าย โดยให้อยู่ระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือ วัวธนูลักษณะนี้มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า วัวธนูมือพิธีกรรมสำหรับวัวธนู กล่าวถึงพิธีกรรม หากเป็นวัวธนูที่สร้างขึ้นค่อนข้างถาวร ได้แก่ประเภทที่ได้จากการหล่อ ปั้น และแกะ ก็จะมีรายละเอียดที่ซับซ้อนแต่ถ้าเป็นวัวธนูที่สร้างขึ้นหยาบ ๆ คือสานหรือทำขึ้นเฉพาะกิจเป็นครั้งคราว ก็จะมีความซับซ้อนน้อยลงไปสำหรับวัวธนูที่ได้จากการหล่อ ปั้น และแกะ เมื่อสร้างเสร็จผู้ประกอบพิธีจะลงยันต์หัวใจธนู คือ ลงบนตัววัว แล้วเขียนหรือสลักรูปลูกธนูใต้ท้องวัวให้หัวลูกธนูพุ่งชี้ไปด้านหน้า จากนั้นบริกรรมคาถาหัวใจธนูคือ นะ ภา นุ เว เสกสำทับจำนวน 108 คาบ ตั้งเครื่องบัตรพลีหัวหมูบายศรีตามแต่กำลังศรัทธา ตั้งไว้ในที่ควรแล้วจัดหาหญ้าอ่อนผสมน้ำผึ้งบูชาเป็นประจำอย่าได้ขาด เมื่อถึงคราวใช้จึงเสกด้วยพระคาถาดังนี้โอม โคโณ มหาโคโณหน้าพื้นฟ้า หน้าแผ่นดินมาทางน้ำ กูจักกินมาทางดิน กูจักข้า (ฆ่า)มาทางฟ้า กูจักขวิดขวิด พ่อขวิด …..จิตดั่งสายไฟฟ้า ฟาดแม่ธรณีเจ้าอธิการเจ้าจำข้า มาไล่ผีผีอยู่พอผี ฅนอยู่พอฅนโอมสวาหะ เถ็ก …..โอม โคโณ มหาโคโณโอม เสโส มหาเสโสโอม สัตตะ สัตตะ สวาหะโอม เสเสยนา สวาหายฟังเนอ มึงเปนใหญ่กว่าช้างตัวอาจอ้าง ทังหลายปู่มังราย ตัวก่างัวก่าฅวายดาข้า (ฆ่า)ตัวก่าช้างก่าม้าดาชน ชน…อ้ายชน…ชนโอม โคโณ มหาโคโณ….สัปดาห์หน้ามาพบกับเครื่องรางล้ำค่าหายากอย่าลืมติดตามอ่านกันนะครับ

ตั้มเชียงใหม่
ล้านนาแกลอรี่

ร่วมแสดงความคิดเห็น