ตั้งศูนย์ช่วยผู้ประกอบการ SMEs มีปัญหาทั่วประเทศ

b-2
ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs เดินสายติวเข้มแนวทางการดำเนินงานให้แก่เครือข่ายที่จังหวัดเชียงใหม่ หวังเพิ่มประสิทธิภาพให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ SMEs ได้ดียิ่งขึ้น หลังเปิดตัวศูนย์ มานานกว่า 1 เดือน มีผู้ประกอบการ SMEs มากกว่า 1,700 ราย แห่ร้องขอความช่วยเหลือและช่วยแก้ปัญหาได้เแล้วกว่า 17 ราย ตั้งเป้ามีผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จาก 2.9 ล้านรายทั่วประเทศเข้าสู่ระบบการช่วยเหลือของศูนย์ช่วยเหลือฯ 50,000 ราย ภายในระยะเวลากรอบการทำ
งาน 1 ปี
ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs (SME Rescue Center) จัดสัมมนาแนวทางการดำเนินงานให้แก่เครือข่าย ในจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่ โดยนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs (SME Rescue Center) เปิดเผยว่า จากนโยบายภาครัฐที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ไทย โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ที่ประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจ จึงมีนโยบายให้กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความช่วยเหลือดูแลผู้ประกอบการ SMEs ที่ประสบปัญหาด้านต่างๆ เพื่อให้กลับมาเป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่มีความเข้มแข็งและก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการ SMEs 4.0 ที่มีความเข้าใจด้านเศรษฐกิจและการตลาด รวมถึงใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจและช่วยขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจของไทย
ดังนั้น จึงจัดตั้ง ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประกอบ SMEs (SME Rescue Center) เพื่อเป็นช่องทางรวบรวมปัญหาและแนวทางการฟื้นฟูผู้ประกอบการ โดยมีการบริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการจากหน่วยงานเครือข่าย เพื่อให้เกิดความคล่องตัวด้านการบริหารจัดการและบูรณาการแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งได้เปิดช่องทางให้ SMEs ร้องขอความช่วยเหลือกว่า 3,800 แห่งทั่วประเทศ และมีหน่วยคัดกรองวิเคราะห์ปัญหาและตรวจสอบข้อเท็จจริงของคำร้องที่ส่งผ่านหน่วยงานเครือข่ายต่างๆ ประมาณ 300 แห่งทั่วประเทศ เช่น สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กรมบังคับคดี ศูนย์ดำรงชัยธรรม ธนาคารเอสเอ็มอี ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทยและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เป็นต้น
ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs กล่าวว่า ทางศูนย์ฯ จะนำข้อมูลวิเคราะห์และจัดชั้นแบ่งกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs เพื่อจัดลำดับและแนวทางแก้ไขปัญหาพร้อมส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ประกอบการ โดยจัดแบ่งกลุ่มที่ประสบปัญหาออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1 เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพแต่มีปัญหาด้านการเงิน เช่น ขาดสภาพคล่องหรือมีมูลหนี้มาก ภาครัฐก็จะสนับสนุนเงินทุนจากกองทุนพลิกฟื้น SMEs และเข้ามาสนับสนุนด้านเงินลงทุนหรือติดต่อสถาบันการเงินเข้ามาเจรจาประนอมหนี้เพื่อให้ธุรกิจกลับมาดำเนินกิจการและเกิดการจ้างงานต่อ
กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่มีศักยภาพแต่มีปัญหาด้านการจัดการ และส่งเรื่องให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เข้ามาช่วยวางแผนบริหารจัดการทางด้านการตลาดเพื่อยกระดับความสามารถการแข็งขันให้ดีขึ้น และกลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ยังมีศักยภาพในการฟื้นฟูไม่มากจะมีหน่วยงานเข้าไปช่วยแนะนำการปรับโครงสร้างธุรกิจให้กลับมาดำเนินการได้ หรือหากจำเป็นต้องเลิกกิจการ จะช่วยพัฒนาผู้ประกอบการเหล่านี้ให้ไปสุ่ธุรกิจใหม่ที่มีโอกาสทางการตลาดที่ดีกว่า หรือเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในอนาคต
ล่าสุด เพื่อให้การขับเคลื่อนการทำงานของศูนย์ SMEs (SME Rescue Center) มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดสัมมนา มอบแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ฯ ใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกรุงเทพฯ วันที่ 9 ก.ย. จังหวัดสงขลา ที่ขอนแก่น วันที่ 9-20 ก.ย. จังหวัดเชียงใหม่ 22 ก.ย. และที่จังหวัดอุบลราชธานี 29-30 ก.ย. 59 ช่วยสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยร่วมของเครือข่ายของศูนย์ SMEs ในกระบวนการทำงานเพื่อเตรียมรองรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ได้ดียิ่งขึ้น
“การจัดสัมมนาชี้แจงแนวทางการทำงานให้แก่เครือข่ายครั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในการรับเรื่องราวปัญหาของแก่ผู้ประกอบการ SME เพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูช่วยเหลือแก้ไขให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ได้กลับมาเข้มแข็งได้อีกครั้ง ซึ่งหลังจากเปิดศูนย์ฯ พบว่า มีผู้ประกอบการ SMEs ทั่วประเทศ ได้ยื่นเรื่องร้องขอความช่วยเหลือมาแล้วกว่า 1,075 ราย คิดเป็นจำนวน 2,060 เรื่อง และสามารถช่วยพลิกฟื้นให้ SMEs กลุ่มนี้กลับมาเข้มแข็งได้แล้ว 37 ราย และอยู่ระหว่างการดำเนินการอีก 1,739 เรื่อง ซึ่งจะทยอยแก้ปัญหาให้แก่ SMEs เหล่านี้ต่อไป” นายสนธิรัตน์ กล่าวและว่า
โปรเจคนี้มีกรอบระยะเวลา 1 ปี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องอยู่ที่ผลการดำเนินงานด้วย เอสเอ็มอีมีปัญหามากอยู่แล้วศูนย์ช่วยเหลือฯจะต้องรับฟังทุกปัญหาแฃะหาทางช่วยเหลือ เช่น เรื่องการเงินก็หาสถาบันการเงินไปปรึกษาหรือถ้าไปไม่ได้ก็หาดองทุนฟื้นฟู หรือบุคคลที่ล้มละลายก็จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลและอุ้มเค้ามา เป็นต้น เราตั้งเป้าอย่างน้อยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จาก 2.9 ล้านรายทั่วประเทศเข้าสู่ระบบการช่วยเหลือของศูนย์ช่วยเหลือฯ 50,000 ราย

ร่วมแสดงความคิดเห็น