เห็ดหลินจือ สรรพคุณ 108 ม.แม่โจ้ทำได้

dsc_0225

ตามความเชื่อและที่เป็นจริงของสพพคุณของ เห็ดหลินจือเป็นเห็ดสมุนไพรที่ชาวจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวันใช้รับประทานบำรุงสุขภาพมาช้านาน จัดเป็นเห็ดที่เจริญเติบโต ได้ดีในธรรมชาติ โดยเจริญเติบโตตามโคนต้นไม้ในเขตอบอุ่นและเขตร้อน เห็ดหลินจือมีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ เห็ดกระด้าง เห็ดหิ้วขอ เห็ดแม่เบี้ยงูเห่า เห็ดจวักงูเห่า เห็ดมะพร้าว (อานนท์, 2544) เห็ดนางกวัก เห็ดหัวงู เห็ดเก้าอี้ลิงเห็ดชะแล็ก, เห็ดสวรรค์พันปี เห็ดหมื่นปี เห็ดหิมะ เห็ดต้นไม้แห่งชีวิต เห็ดอมตะ เห็ดเทพเจ้าเห็ดศักดิ์สิทธิ์ เห็ดน าโชค (สาธิต, 2538) เป็นสมุนไพรที่หายากรู้จักกันมานาน เมื่อสองพันสองร้อยปี ในสมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้ ประเทศจีนในสมัยนี้เรียกเห็ดนี้ว่าเห็ดเก้ากิ่งเนื่องจากเห็ดหลินจือมีราคาแพง
เมื่อเทียบกับผลผลิตเกษตรชนิดอื่น ราคาน้ าหนักแห้งกิโลกรัมละ 1,500-3,000 บาท จึงมีผู้มีนิยมเพาะเห็ดชนิดนี้เป็นรายได้กันอย่างกว้างขวาง ทั่วทุกภาคของประเทศ ทั้งภาคเอกชนและโครงการพระราชด าริโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ส่งเสริมการเพาะเห็ดหลินจือในโครงการส่งเสริมอาชีพแก่ราษฎรชาวเขาบ้านแขลีซอ อ.ไชยปราการตั้งแต่ปีพ.ศ 2539 องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยให้ความสนใจศึกษา ทั้งสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ คณะแพทย์ศาสตร์ต่าง ๆ และทางองค์การเภสัชกรรม ได้ผลิตเป็นยาเม็ด

dsc_0229

32สำเร็จรูปเพื่อสะดวกในการบริโภค
ศูนย์ความร่วมมือทางการแพทย์ไทย-จีน กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุขได้ให้การสนับสนุนในการประสานงานให้มีพัฒนาการทางวิชาการของเห็ดหลินจือ ตามหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ส่งเสริมศึกษาวิจัยอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ การ
สนับสนุนการใช้สมุนไพรเพื่อส่งเสริมและทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน เป็นการช่วยลดดุลการนำเข้ายาจากต่างประเทศ
ตลอดระยะเวลา 30 ปี ที่ผ่านมา มีนักวิชาการหลายประเทศได้ทำการวิจัยเห็ดหลินจืออย่างกว้างขวาง มีเอกสารวิชาการที่เผยแพร่ออกมาจำนวนมาก
และความเชื่อถือที่มีต่อเห็ด จึงมีชื่อหลากหลายไปตามแต่ละท้องถิ่น
33ชนิดของเห็ดหลินจือที่นิยมเพาะปลูกปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงเห็ดหลินจือหลายชนิดแต่ที่นิยมเพาะและได้ผลดีมี 6 ชนิด จำแนกตามสีของหมวกดอก รสชด และสรรพคุณทางยาได้แก่
1. เห็ดหลินจือสีดำ มีชื่อจีน “เฮยจือ เอ๋าจือ” ชนิดนี้รสชาติเค็ม สรรพคุณบำรุงไตและทางเดินปัสสาวะ
2. เห็ดหลินจือสีขาว ชื่อจีน “ไป๋จือ วีจือ” รสชาติเผ็ด สรรพคุณบำรุงไต ปอด สมองและบำรุงประสาท
3. เห็ดหลินจือสีเขียว ชื่อจีน “ซิงจือ หลงจือ” รสชาติเปรี้ยว สรรพคุณบำรุงตับสายตา สมองและประสาท
4. เห็ดหลินจือสีม่วง มีชื่อจีนว่า “จือจือ มู่จือ” รสชาติหวานอุ่น ๆ สรรพคุณบำรุงกระดูก ประสาท และรักษาโรคริดสีดวงทวาร
5. เห็ดหลินจือสีเหลือง มีชื่อจีนว่า “หวงจือ จินจือ” รสชาติหวาน บำรุงม้าม สมองประสาทและช่วยเพิ่มความสดชื่น
6. เห็ดหลินจือสีแดง มีชื่อจีนว่า “ซือจือ กันจือ” มีรสชาติขม สรรพคุณบำรุงหัวใจปอด สมองและประสาทสารให้สรรพคุณทางยาของเห็ดหลินจือ
การที่เห็ดหลินจือมีสรรพคุณในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างกว้างขวาง ทำให้เป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมาก มีการนำเห็ดชนิดนี้มาศึกษาวิจัยในด้านต่าง ๆ ที่มีในเห็ดหลินจือพบว่า มีสาระสำคัญอยู่หลายกลุ่มที่ทำให้เห็ดหลินจือมีคุณค่าต่อการรักษาโรคต่าง ๆ ได้แก่. สารสเตอรอยด์. กลุ่มสารไตรเทอร์ปินอยด์ชนิดขม. สารนิวคลีโอไทด์. . สารเจอร์มาเนียม. กลุ่มสารคาร์โบไฮเดรตเช่น ganodarans หรือสารโพลีแซคคาไรด์ (polysaccharides)มีอยู่หลายชนิดที่มีความสำคัญต่อการรักษาโรค เช่น สารเบต้าดีกลูแคน (beta-D-glucan) ช่วยยับยั้งการเจริญของมะเร็ง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเมล็ดเลือดขาว ในการก าจัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกายทำให้ระบบคุ้มกันของร่างการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้สารเคมีและรังสีรักษาโรคมะเร็งในผู้ป่วย ช่วยลดการอักเสบ สารกาโนเดอร์แลนด์(ganoderans) ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (เบาหวาน)
ถ้าพูดไปแล้วยาวมาก เอาเป็นว่าสรรพคุณของเห็ดหลินจือมี108 ก็แล้วกัน

กลุ่มงานชีววิทยาประยุกต์ กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการวิจัยเพาะเลี้ยงเห็ดหลินจือและประสบความส าเร็จเป็นอย่างดี ผลการวิจัยพบว่า สายพันธุ์ จี 2 ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี และสามารถเพาะเลี้ยงได้
ตลอดปี
1. การเตรียมวัสดุเพาะเห็ด โดยใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราเพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนเหมาะสำหรับใช้เป็นวัสดุเพาะมากที่สุด 100 กิโลกรัม ผสมร าละเอียด 5-8 กิโลกรัม ยิปซั่ม 1 กิโลกรัมดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม คลุกเคล้าส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน จากนั้นเพิ่มความชื้นในวัสดุเพาะโดยการเติมน้ำสะอาดลงไปให้มีความชื้นประมาณ 65-70 เปอร์เซ็นต์

2. การบรรจุวัสดุเพาะลงในถุงพลาสติก จะใช้ถุงพลาสติกขนาด 6.5×12.5 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 800-1,000 กรัมต่อถุง อัดถุงให้แน่น รวบปากถุง สวมคอขวดพลาสติกลงไป และดึงปากพับลงรัดด้วยยางรัด ปิดด้วยจุกส าลี หรือครอบด้วยจุกพลาสติกส าเร็จ

3. นึ่งฆ่าเชื้อถุงพลาสติกในหม้อนึ่งด้วยความร้อน 98-100 องศาเซลเซียส อาจใช้ถังน้ำมัน 200 ลิตร สามารถบรรจุก้อนเห็ดได้ ประมาณ 96-100 ก้อน จับเวลาเมื่อมีไอน้ำพุ่งออกมาจากถังใช้เวลานึ่ง 2-3 ชั่วโมง หรือถังนึ่งแบบลูกทุ่งประกอบเองด้วยเหล็กแผ่นสามารถบรรจุก้อนเชื้อได้ประมาณ 500-2,000 ถุง จะใช้เวลาในการนึ่ง 3-5 ชั่วโมง เมื่อนึ่งเสร็จแล้วจะนำก้อนเชื้อเข้าโรงปลูกเชื้อ

4. การปลูกเชื้อเห็ดลงในก้อนอาหาร นำหัวเชื้อในเมล็ดธัญพืชที่เส้นใยเดินเต็มขวดมาเคาะหรือแคะด้วยเหล็กให้เชื้อเห็ดแตกร่วน เปิดปากถุงที่มีจุกสำลีหรือจุกพลาสติกออก กรอกหัวเชื้อลงในถุงประมาณ 20-30 เมล็ด หัวเชื้อ 1 ขวดสามารถปลูกเชื้อลงในถุงก้อนเห็ดได้ 30-50ถุง จากนั้นเปลี่ยนจุกส าลีหรือจุกพลาสติกปิดด้วยกระดาษรัดด้วยยางรัด

5. นำก้อนเชื้อเห็ดเข้าโรงบ่ม ที่ไม่มีความชื้น วางตามแนวตั้งหรือแนวนอน เพื่อให้เส้นใยเจริญภายในก้อนเชื้อใช้เวลา 20-30 วัน จึงขนย้ายเข้าโรงเรือนเปิดดอกต่อไป

6. เมื่อบ่มเส้นใยเห็ดที่เจริญเต็มถุงแล้ว จะนำเข้าโรงเรือนเปิดดอก โดยวางเรียงก้อนเชื้อเห็ดบนแผงเอียงตามแนวนอน สูงจากพื้นขึ้นไป 15 ก้อน ความยาวของแผงทุก ๆ 1 เมตรสามารถวางก้อนเชื้อเห็ดได้ประมาณ 150 ก้อน โรงเรือนเปิดดอกเห็ดขนาด 5×10 เมตร วางก้อน
เห็ดได้ประมาณ 5,500 ก้อน จากนั้นให้ดึงกระดาษที่ปิดปากถุงออกเพื่อรอให้ดอกเห็ดออกจากปากถุงต่อไป

dsc_0205

36การดูแลรักษา
1. เมื่อดึงกระดาษออกจากปากถุงแล้ว จะมีดอกเห็ดเล็ก ๆ สีขาวโผล่ออกมาในระยะแรกจะมีการสเปรย์น้ าเป็นละอองฝอยเพื่อเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็นเห็ดจะมีการพัฒนาขยายขนาดของดอก และเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลบริเวณตรงกลางดอกเห็ด
2. เมื่อดอกเห็ดมีอายุ 15 วันขึ้นไป จะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลจากกลางดอกมาจนถึงขอบดอกเห็ด ระยะนี้จะงดให้น้ าที่เป็นละอองฝอยเปลี่ยนมารดน้ำที่พื้นโรงเรือนให้ชื้นหมาด ดอกเห็ดจะมีการปล่อยสปอร์สีน้ าตาลแดงออกมาจากใต้หมวกเห็ด และอาจจะตกบนดอกเห็ดด้วยและจะเคลือบสะสมบนดอกหนาขึ้นเรื่อย ๆ
3. การเก็บสปอร์เห็ด เมื่อมีสปอร์เกาะติดบนดอกเห็ดในปริมาณมากแล้ว จะใช้แปรงปัดหรือใช้เครื่องดูดฝุ่นเฉพาะกิจ ดูดเก็บสปอร์ก็ได้ โดยปกติจะเก็บสปอร์ได้ 2 รอบ ในกรณีจะใช้ประโยชน์จากสปอร์ต้องทำให้สปอร์นั้นแตกเสียก่อนโดยใช้เครื่องมือกะเทาะสปอร์
4. ดอกเห็ดจะมีการขยายตัวเต็มที่มีความกว้าง ประมาณ 9 เซนติเมตร ตั้งแต่เริ่มออกดอกจนสามารถเก็บเกี่ยวได้ใช้เวลา 35-45 วัน สังเกตว่าบริเวณขอบหมวกเห็ด เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ทั้งดอกก็สามารถเก็บเกี่ยวได้

การเก็บเกี่ยวผลผลิตและการทำแห้ง
1. เมื่อดอกเห็ดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ทั้งดอกเป็นช่วงที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวดึงดอกเห็ดออกจากถุงก้อนเชื้อโดยการจับและหมุนดึงออกทั้งหมดดอกเห็ดชุดแรกจะมีน้ำหนักเฉลี่ย 35 กรัม และได้น้ าหนักสดรวมประมาณ 40-100 กรัมต่อถุง
2. ตัดส่วนที่เป็นก้านเห็ดออกทิ้ง และนำดอกเห็ดไปล้างในน้ำสะอาดทิ้งสะเด็ดน้ำ หั่นดอกเห็ดเป็นชิ้นบาง ๆ มีความหนา 2-3 มิลลิตเมตร หั่นตามขวางของดอก
3. เมื่อหั่นดอกเห็ดเสร็จแล้วจะนำไปลดความชื้นทันที ถ้าทิ้งดอกเห็ดไว้ จะมีคราบสีขาวเกิดขึ้นบนเห็ดได้ โดยการนำไปตากแดดแล้วน าเข้าตู้อบ โดยจะเริ่มอบดอกเห็ดที่อุณหภูมิ 45องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง เพิ่มอุณหภูมิเป็น 55 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 3 ชั่วโมง และสุดท้ายอบที่อุณหภูมิ 67-70 องศาเซลเซียส อีก 3 ชั่วโมง ในช่วงอุณหภูมินี้จะท าให้เห็ดมีกลิ่นหอมขึ้นเนื่องจากน้ำมันในเนื้อเยื่อเห็ดมีการแตกตัว น้ำหนักเห็ดสด 3.7 กิโลกรัม จะได้เห็ดแห้ง 1กิโลกรัม
4. เมื่ออบดอกเห็ดได้ที่แล้ว จะนำไปบรรจุในกล่องพลาสติกหรือถุงพลาสติกหรือบรรจุภัณฑ์อื่นเก็บไว้บริโภคหรือจำหน่ายต่อไป
38
ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิตและการทำแห้ง

ส่วนการนำมาบริโภคนั้นก็มีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็น
1. การต้ม โดยการนำเห็ดแห้ง 5 กรัม ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ดื่มบำรุงร่างกายหรืออายุวัฒนะหรือถ้าต้องการแบบเข้มข้นก็ใช้ดอกเห็ดแห้ง 10 กรัม ต้มกับน้ำ 2 ลิตร เคี่ยวให้น้ำเหลือครึ่งลิตร ใช้ดื่มสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว
2. การดองเหล้า เหมาะส าหรับคนที่ชอบดื่มเหล้าประจำ เพราะสรรพคุณทางยาในเห็ดหลินจือสามารถบำรุงตับและร่างกายได้ โดยใช้เห็ดแห้ง 20-30 กรัม ดองเหล้าขาว 1 ขวด ดองทิ้งไว้ 15-20 วัน ดื่มวันละไม่เกิน 50 มิลลิลิตร
40
3. การนำเห็ดไปบดหรือบรรจุแคปซูล วิธีการนี้จะได้สรรพคุณน้อยที่สุด เนื่องจากสารออกฤทธิ์ในเห็ดหลินจือ จะต้องใช้ความร้อนช่วยในการสกัด ดังนั้นการนำเห็ดมาบดแล้วรับประทานร่างการจึงไม่ได้รับสารอาหารที่อยู่ในเห็ดหรือได้รับน้อยมาก เพราะร่างการคนเรา
อุณหภูมิเพียงแค่ 37 องศาเซลเซียสเท่านั้น
สปอร์เห็ดหลินจือ…
การบรรจุในแคปซูล การนำสปอร์ของเห็ดหลินจือมาทำให้แตกตัวด้วยการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อทำให้เปลือกแข็งที่ห่อหุ้มสปอร์ไว้แตกออก ซึ่งเป็นกรรมวิธีใหม่ในการสกัดสปอร์ของเห็ดหลินจือทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารที่อยู่ภายในสปอร์ได้เต็มที่ ซึ่งหากเป็นสปอร์ที่ยังไม่ได้แตกตัวร่างกายเราก็จะไม่สามารถดูดซึมสารอาหารหรือดูดซึมได้น้อยมากการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือ
เนื่องจากเห็ดหลินจือมีสรรพคุณในการรักษาอาการเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ ได้หลายชนิดและให้ผลในการรักษาอยู่ในระดับดีพอควร ดังนั้นจึงได้รับความสนใจกันมากและมีการนำมาวางขายอยู่ในท้องตลาดทั่วไป ทั้งในรูปของดอกเห็ดแห้ง ดอกฝานเป็นชิ้นบางๆ สปอร์ หรือสารสกัดจากเห็ดที่ทำเป็นผงบรรจุแคปซูล หรืออัดเป็นเม็ด และเห็ดที่อยู่ในรูปแบบอื่น เช่น เครื่องดื่มจากน้ำเห็ดหลินจือผู้บริโภคควรสังเกตอย่างรอบคอบเมื่อจะซื้อผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้เห็ดที่มีคุณภาพ สะอาดและปลอดภัย ดังนี้

เวลาซื้อควรสังเกตสีของเนื้อเห็ดต้องสม่ำเสมอ ไม่มีกลิ่นอับชื้น ชิ้นเห็ดไม่มีรูของมอดแมลงกิน หรือมีเชื้อราขึ้น ชิ้นเห็ดไม่ควรผุกร่อนง่าย เมื่อชิมจะมีรสขม และควรบรรจุในภาชนะที่สะอาด แคปซูลเห็ดที่บรรจุภายในแคปซูล ควรเป็นสารสกัดของเห็ดหรือสปอร์เห็ด ไม่ควรซื้อแคปซูลที่บรรจุเห็ดดิบที่น ามาบดเป็นผงละเอียด เพราะเมื่อรับประทานร่างกายจะไม่ได้รับประโยชน์อะไร
นอกจากกาก เพราะร่างกายไม่สามารถสกัดสารออกฤทธิ์จากเนื้อเห็ดได้ และควรเลือกซื้อจากผู้จำหน่ายหรือร้านค้าที่เชื่อถือได้
เห็ดในรูปอื่น ๆได้แก่ น้ำเห็ดหลินจือกระป๋อง และ ชาชงสำเร็จรูป ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากระบุส่วนประกอบ แหล่งผลิตชัดเจน และวันที่หมดอายุผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือ

นี่ก็เป็นข้อมูลที่ทางอ.ปรีชา รัตนัง นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ สาขาพืชผักมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้ข้อมูลมา และได้บอกว่า การบริโภคเห็ดหลินจือ ใช้น้อยเป็นยาบำรุงกำลัง ใช้ปานกลางเมื่อเจ็บป่วย ใช้มากเมื่อป่วยหนัก ใครที่เคยกิน เคยดื่มน้ำเห็ดหลินจือมาแล้วก็จะทราบคุณประโยชน์ของเห็ดนี้ดี และตอนนี้ทางอ.ปรีชา กำลังผลิตสปอร์เห็ดหลินจือ ออกมาในรูปแบบแคปซูน ที่มีตัวสปอร์เห็ด 99.99 เปอร์เซ็น ออกมาอยู่ เชื่อว่าอีกไม่นานเกินรอ สปอร์เห็ดหลินจือ จากม.แม่โจ้ต้องดังและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคแน่นอน
ซึ่งตอนนี้ทางอ.ปรีชา เองก็ได้เปิดรับสอนและเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา และหน่วยงาน-องค์กร-ประชาชนทั่วไป ที่สนใจจะมาเรียนรู้ต่อยอดของสาขานี้ ทุกวันนี้ก็มีคนมาเรียนกันเยอะขึ้นแล้ว พร้อมกับการดูงานของกลุ่มนักศึกษา กลุ่มประชาชนทั่วไปและต่างชาติ ที่มีเข้ามาดูงานแทบทุกวัน ใครสนใจก็มาสมัครได้เลยที่สาขาพืชผัก มหาลัยแม่โจ้ เราพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้ทุกคนปีหนึ่งจะรับแค่ 150 คนเท่านั้น โทรมาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 053-837 670

ท.การเกษตร

ร่วมแสดงความคิดเห็น