อุทยานหลวงราชพฤกษ์โอด!! รายจ่ายบานวอนรัฐช่วยจุนเจือ

b-2
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เผยผลประกอบการอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ยังขาดทุนรายรับไม่พอกับรายจ่ายทวอนรัฐช่วยเหลือด้านงบประมาณในการซ่อมบำรุงโครงสร้างเดิมและพัฒนาสวน เตรียมแผนรับมือนีกท่องเที่ยวหลั่งไหลมาในช่วงหน้าหนาวนี้หวังผลประกอบการเพิ่มขึ้น พร้อมเน้นกิจกรรมตลอดทั้งปีเพื่อเปิดอุทยานฯ เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักท่องเที่ยว

นางสาวรุจิรา ริมผดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เปิดเผยว่า อุทยานหลวงราชพฤกษ์อยู่ภายใต้การดูแลรับผิดชอบของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงที่ได้รับการโอนมาจากกรมวิชาการเกษตรในปี 2552 ดำเนินการมาแล้ว 7 ปี จนถึงปัจจุบัน พื้นที่ทั้งหมดของอุทยานหลวงราชพฤกษ์มีประมาณ 468 ไร่ มีส่วนที่เป็นโครงสร้างเดิมจากการจัดงานพืชสวนโลกก็ได้รับมาดำเนินการดูแลต่อ ในส่วนของสวนนานาชาติและสวนองค์กร ได้รับความร่วมมือจาก 8 หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนและให้ค่าดูแล 1.5 ล้านบาทต่อปีในการดูแลสวน โดยมีคอนเซ็ปท์การจัดงานในพื้นที่สวนเกี่ยวกับการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เช่น ของธนาคารแห่งประเทศไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย เป็นต้น และในพื้นที่อื่นๆ เป็นพื้นที่ที่ทางอุทยานฯ จัดสวนเองเป็นประจำ เช่น เส้นทางที่มุ่งตรงสู่หอคำหลวงเป็นจุดที่จัดดอกไม้ประจำ ส่วนใหญ่จุดนี้ต้องการให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ต่อมาเริ่มมีนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆได้เข้ามาร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับเด็กที่ทางอุทยานฯจัดขึ้นทุกปี โดยคณะครูเด็กนักเรียนมาเรียนรู้และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาสวนที่เป็นพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เช่น สวนเกษตรทฤษฎีใหม่, ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง, ล่าสุดมีแผนที่จะจำลองศูนย์ที่อยู่ตามภาคต่างๆมาอยู่ที่นี่ ทั้ง 6 ศูนย์ ซึ่งมี ศูนย์ห้วยทราย ศูนย์พิกุลทอง และอื่นๆ ก็จะเข้ามาจัดที่อุทยานฯ โดยจะเป็นแผน 3 ปี ในการทยอยสร้างทีละ 2 ศูนย์การเรียนรู้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

นางสาวรุจิรา กล่าวว่า ยอดที่ตั้งเป้าไว้จากการขายบัตรกับยอดที่คนเข้ามาชมนิทรรศการตรงตามเป้าที่กำหนดไว้ คือ ผู้เข้าชม 800,000 คน รายได้ 23 ล้านบาทซึ่งพยายามจะปรับรายได้ให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ปัญหาที่พบในขณะนี้คือโครงสร้างพื้นฐานของพืชสวนโลกเริ่มเสื่อมสภาพลงบางจุด จึงต้องของบประมาณมาบำรุงรักษาหรือรื้อถอน และปรับเป็นพื้นที่สีเขียวแทน เพราะเกรงว่าจะเกิดอันตรายจากโครงสร้างที่ใกล้พังที่ถูกสร้างมากึ่งชั่วคราวหรือกึ่งถาวรทำให้มีสภาพไม่คงทน เช่น หอคำหลวง ตอนนี้ต้องเริ่มปรับปรุง ล่าสุดจึงได้ให้ช่างเข้ามาปรับปรุงซึ่งเป็นงบของรัฐบาลเข้ามาช่วยปรับปรุง งบจะมีทั้งค่าจ้างงาน ค่าซ่อมบำรุง แต่รายได้ปัจจุบันประมาณ 45 ล้านบาท จึงต้องรองบประมาณของรัฐส่วนหนึ่งมาสมทบช่วยเหลือ โดยงบที่ได้จากหน่วยงานอื่นๆ จะเข้ามาช่วยสนับสนุนทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสวน เนื่องจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เป็นองค์การมหาชนภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงต้องของบประมาณจากรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันยังขาดทุนโดยพยายามขยับขึ้นมาให้เป็น 50 ล้านบาท

นางสาวรุจิรา กล่าวต่อว่า ในปีนี้ทางอุทยานฯได้เตรียมจัดแผนสำหรับบริการในช่วง High Season โดยจะจัดสวนดอกไม้ซึ่งจะเน้นให้มีไม้ยืนต้นมากขึ้น ส่วนไม้ดอก ไม้ประดับ ที่ทางอุทยานฯ สั่งมาจากบนดอยถือว่าเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรบนดอย ทางเกษตรกรโครงการหลวงได้ทำแผนจัดซื้อนำเอาไม้ดอก ไม้ประดับ จากบนดอยมาจัดในพื้นที่สวน และทางอุทยานฯ มีแปลงเป็นของทางอุทยานฯ ที่ไว้พัฒนาและเพาะเมล็ดพันธุ์ ซึ่งต้องใช้วิธีบริหารจัดการการตลาดโดยมีวิธีการดึงกลุ่มนักท่องเที่ยวเข้ามาร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่มีประจำทุกฤดูกาล เช่น เทศกาลฤดูร้อน มีนิทรรศการเกี่ยวกับ

ร่วมแสดงความคิดเห็น