เข้าตามตรอก ออกตามซอย มองเชียงใหม่..เปลี่ยนแปลง

“เชียงใหม่”เมืองศูนย์กลางภูมิภาค เมืองที่ถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองท่องเที่ยวติดมาตรฐานโลก และมีโอกาสด้านการค้า การลงทุน
แม้เศรษฐกิจของเมืองจะ สดใส
แต่”เชียงใหม่” ก็เป็นจังหวัดที่มีประชากรมีรายได้ต่ำสุดติดอันดับ 1ใน 10 ของประเทศ (อ้างอิงข้อมูลจากรายงานการวิเคราะห์การจัดสรรงบประมาณกลุ่มจังหวัดประจำปีงบประมาณ 2560 )
โดยมีรายได้เฉลี่ย 14,950 บาทต่อเดือน
ภาพทับซ้อนความเป็นไปด้านสังคมเฉพาะในเขตเมืองเชียงใหม่ จะเห็นความแตกต่างเด่นชัด ในสีสันความเป็นอยู่ของผู้คน ที่ต้องดิ้นรน แข่งขัน ให้อยู่รอดตามอัตราก้าวหน้าของเศรษฐกิจ -สังคมเมืองใหญ่

8-jpg
ยิ่งถ้าจำกัดพื้นที่ในเขตนครเชียงใหม่ เพียงออกจากถนนใหญ่ ลัดเลาะไปตามตรอก ซอก ซอยแบบผังเมืองเก่า
เราเริ่มจะเห็นภาพความเปลี่ยนแปลงของชุมชน
ด้วยการลงทุน สิ่งปลูกสร้าง ในรูปแบบ อาคาร ที่พัก ไม่จำกัดสภาพแวดล้อม ขอเพียงให้เป็นย่านคูเมืองชั้นใน
หนึ่งในทำเลทอง..ของจังหวัดเชียงใหม่

3-jpg
ปัจจุบันพระราชบัญบัญญัติการจัดสรรที่ดิน(ฉบับที่ 2 ) พศ.2558 มีผลบังคับใช้ หลังจากพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 5 ) พศ.2558 มีการแก้ไข ปรับปรุง ให้ทันยุคสมัย
และนำไปสู่การออกประกาศเทศบัญญัติเทศบาลนครเชียงใหม่ พศ.2557 ว่าด้วยเรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท
ในเขตตำบลศรีภูมิ ตำบลสุเทพ ตำบลช้างม่อย ตำบลพระสิงห์ ตำบลช้างคลานและตำบลหายยา เขตเทศบาลนครเชียงใหม่

4-jpg

0…ก่อสร้างอาคารที่พัก….ข้างวัดอีกแห่ง
รายละเอียดในประกาศฉบับนี้ มีการกำหนด “อาคารแบบล้านนาหรือแบบพื้นเมืองภาคเหนือ”…เพื่อส่งเสริมคุณค่าและบรรยากาศความเป็นเมืองเก่าของเมืองเชียงใหม่

17-jpg

0…สถาปัตยกรรม…สอดรับกับวิถีเมืองเชียงใหม่ในวันนี้

กำหนดบริเวณ 4 ส่วน เช่น บริเวณที่ 1 หมายความถึงบริเวณแนวกำแพงเมืองและคูเมือง พื้นที่ในระยะ 22 เมตร จากริมคูเมืองด้านในและด้านนอก โดยรอบทั้ง 4 ด้าน ห้ามมิให้ก่อสร้างอาคารอื่นใด เว้นแต่ว่า…..
พร้อมกับกำหนดระยะในการก่อสร้างว่าห้ามระยะใดบ้าง เช่น ในระยะ 6 เมตร จากโบราณสถาน ..จากรอบนอกเขตที่ดินของวัด..คริสตจักร เป็นต้น

18-jpg0…เทศบัญญัติเทศบาลนครเชียงใหม่ กำหนดพื้นที่ห้ามก่อสร้าง?
ข้อกำหนด..ระเบียบปฏิบัติ มีข้อยกเว้น..ตามที่ระบุในข้อ 11 ของเทศบัญญัตินี้ว่าฯ “อาคารที่ได้รับใบอนุญาต หรือรับใบแจ้งก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยอาคาร..ก่อนวันที่เทศบัญญัตินี้บังคับใช้
ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามเทศบัญญัติดังกล่าว ซึ่งลงนามเมื่อ 8 ธันวาคม 2557 โดย “นายทัศนัย บูรณุปกรณ์” นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
เมื่อรับรู้สาระตรงจุดนี้แล้ว คงคลายข้อกังขา ในข้อคำถามที่ว่า “ เหตุใด อาคารที่ดูแปลกแปร่ง ขัดสายตา ทำไมยังก่อสร้างอย่างเร่งรีบได้ ทั่วนคร….เชียงใหม่”

7-jpg0…ความเป็นไปในชุมชนเมือง…นครเชียงใหม่

16-jpg

15-jpg
ทั้งๆที่ มีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ พศ.2555 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ21 พฤษภาคม 2556 มีผลบังคับใช้….โดยระบุพื้นที่เป็นโซนสีเพื่อการพัฒนาในรูปแบบกิจการใดได้บ้างในเขตพื้นที่นั้นๆ
และปัจจุบันยังมีกฎกระทรวง กำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พศ.2559 ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อ 11 สิงหาคม 2559

14-jpg
จึงน่าจะเป็นที่มาของการปูพรม ตรวจสอบ การใช้อาคาร…ทั่วไทยในขณะนี้ ซึ่งเริ่มสร้างความวิตกกังวลกับหลายกิจการที่พลิกแพลงทางรอด
ในท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจ..แบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดัดแปลงอาคารพาณิชย์ เป็นโรงแรม ที่พัก หอพัก ?
ตามตรอก ซอก ซอย ในเขตนครเชียงใหม่

2-jpg
ที่ผ่านๆมา จะพบเห็นการก่อสร้าง อาคาร ที่พัก
บางแหล่ง แค่เดินเข้าไปได้ เฉพาะด้าน มีทางเข้าเฉพาะรถขนาดเล็ก ซึ่งไม่มีที่กลับรถต้องถอยออก และมีปัญหากระทบกระทั่งกับชุมชน หากมีการจอดรถในซอยที่คับแคบ
ตามระเบียบ การขออนุญาตก่อสร้างฯ…มีช่องว่าง เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการท่องเที่ยวหรือเพราะเหตุปัจจัยใด
ทั้งนี้จากการตรวจสอบ ภารกิจ หน้าที่ของ “ฝ่ายควบคุมอาคารฯ..สำนักการช่าง เทศบาลนครเชียงใหม่ “…. มีหน้าที่ควบคุม ดูแลและรับผิดชอบงานควบคุมอาคารและงานขออนุญาต
เช่น งานควบคุมการก่อสร้าง ดัดแปลงอาคารและรื้อถอนอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
งานตรวจสอบและรับรองผังบริเวณก่อสร้างอาคารที่ขออนุญาต
งานตรวจรับรองอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ งานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน งานตรวจสอบการขออนุญาต พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ, พ.ร.บ.การขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543
งานพัฒนาและปรับปรุงชุมชนแออัด งานตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเทศบาล เป็นต้น
ภายในพื้นที่ 40 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ดูแลรับผิดชอบของเทศบาลนครเชียงใหม่นั้น
โดยบริบทของการจัดวางผังเมือง องค์ประกอบที่เหมาะสม กับภูมิสังคม ให้คงความเป็นเมืองเก่าแก่ เมืองประวัติศาสตร์ เมืองท่องเที่ยวที่มีชีวิต อย่างแท้จริงนั้น
หากมองเมือง…เชียงใหม่ อย่างเข้าถึง เข้าใจ ความเป็นไปในความเปลี่ยนแปลง

5-jpg0…ความเป็นไปในชุมชนเมือง…นครเชียงใหม่

11-jpg

9-jpg

10-jpg

0…เลาะเลียบซอยด้านหลังไนท์บาซาร์ พบเห็นสิ่งปลูกสร้างทิ้งร้าง…ก่อนออกสู่ถนนท่าแพ..
การจัดวาง ผังเมืองเก่า ให้สอดประสานกับ ผังเมืองใหม่ ในอนาคต
คงเป็นไปได้แค่ การสร้าง(สิ่งปลูกสร้างใหม่ )…สิ่งใหม่ๆทับถมบนเมืองเก่า แล้วซุกซ่อน..วิถีชีวิตชุมชนแบบดั้งเดิมให้อยู่หลังกำแพงอาคาร..จนกลายเป็นชุมชนแออัด…(แน่นด้วยปัญหา)
จากนั้นกลไกสังคมแบบใหม่ๆที่มองมูลค่า ด้านการลงทุน บนทำเลทองของเมือง ก็จะดำเนินไป ตามแบบ..ไล่รื้อหรือทำให้ถิ่นที่อยู่..ไม่น่าอยู่ได้ต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น