ดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพไทย ขยายตัวสู่โมเดลที่หลากหลาย

b-1

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์เรื่อง ดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพไทย ขยายตัวสู่โมเดลที่หลากหลาย…แนะร่วมทุนกับบริษัทขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มโอกาสสู่ความสำเร็จ

  • จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ธุรกิจดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพไทยที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในกลุ่มผู้ประกอบการในปัจจุบัน 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภค (Lifestyle) 2) ธุรกิจให้บริการธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ (FinTech) และ 3) ธุรกิจให้บริการซอฟต์แวร์ด้านการบริหารจัดการองค์กรทางออนไลน์ (Enterprise) โดยมีสัดส่วนราวร้อยละ 32.0 ร้อยละ 22.7 และร้อยละ 16.0 ของจำนวนธุรกิจดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพไทยทั้งหมด ตามลำดับ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังมองว่า โมเดลธุรกิจทั้ง 3 กลุ่มดังกล่าว น่าจะได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคหรือผู้ใช้งานมากที่สุดในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การที่ธุรกิจดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพในไทยมีการเติบโตเพิ่มขึ้น และขยายไปสู่ธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้นนั้น น่าจะมาจากปัจจัยผลักดันหลักอยู่ 3 ประการ คือ ผู้ประกอบการรายใหม่มีการพัฒนาโมเดลธุรกิจดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคไทยยุคดิจิทัลให้ดีขึ้น การร่วมสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนธุรกิจดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพโดยภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อสร้างโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ ที่มีความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมมากขึ้น
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า หากธุรกิจดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพซึ่งมีจุดเด่นทางด้านการมีไอเดียที่แปลกใหม่และสร้างสรรค์ สามารถร่วมทุนหรือร่วมมือทางธุรกิจกับกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ที่ประกอบธุรกิจดั้งเดิม (Traditional Business) ก็น่าจะทำให้ธุรกิจดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากขึ้น เนื่องจากบริษัทขนาดใหญ่ดังกล่าวมักมีความพร้อมทางด้านเงินทุน บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารงาน หรือแม้แต่ความพร้อมด้านฐานข้อมูลลูกค้าและคู่ค้าทางธุรกิจเป็นจำนวนมาก ซึ่งน่าจะมีส่วนสำคัญให้สามารถต่อยอดไอเดียใหม่ๆ ของธุรกิจดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพเพื่อนำไปสู่การจัดจำหน่ายสินค้าและบริการในเชิงพาณิชย์ได้เร็วขึ้น

777 666

ธุรกิจ“ดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพ (Digital Tech-Startup)” เป็นธุรกิจที่มีการใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในการดำเนินธุรกิจบนแพลตฟอร์มต่างๆ ในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นโมบายแอพพลิเคชั่น หรือเว็บไซต์ เป็นต้น โดยแพลตฟอร์มออนไลน์ดังกล่าว จะต้องมีการเพิ่มฟีเจอร์ที่อำนวยความสะดวกและสามารถตอบสนองความต้องการใช้งานในชีวิตประจำวันให้แก่ผู้บริโภคได้ รวมถึงมีการเพิ่มสินค้าและบริการให้มีความหลากหลาย เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคมาใช้งานในวงกว้างมากขึ้น รวมทั้งสามารถต่อยอดหรือขยายไปยังลูกค้าในพื้นที่อื่น ไม่ว่าจะเป็นการขยายจากในประเทศไปสู่ต่างประเทศ หรือแม้แต่การขยายจากหัวเมืองใหญ่ไปตามพื้นที่ต่างจังหวัดอื่นๆ (Scalable) นอกจากนี้ โมเดลธุรกิจดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพนั้น จะต้องได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริโภคมีการซื้อสินค้าหรือใช้บริการซ้ำในระยะเวลาอันสั้น (Repeatable)

ในปัจจุบัน ธุรกิจดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพได้กลายเป็นกลุ่มธุรกิจที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีไอเดียสร้างสรรค์และแปลกใหม่ เนื่องจากใช้ต้นทุนสำหรับการดำเนินธุรกิจในช่วงเริ่มต้นไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับการดำเนินธุรกิจในรูปแบบเดิม อีกทั้ง การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการประกอบธุรกิจบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในรูปแบบตามที่กล่าวมาข้างต้น มีส่วนสำคัญที่ทำให้ผลประกอบการทางธุรกิจมีโอกาสเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีส่วนเสริมให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ เอื้อให้กลุ่มผู้บริโภคมีการซื้อสินค้าหรือใช้บริการซ้ำ และสามารถเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้ในวงกว้างมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

จากปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว ทำให้ธุรกิจดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพเป็นธุรกิจที่น่าจับตามองของกลุ่มนักลงทุน ทั้งที่อยู่ในรูปแบบบุคคล กองทุน หรือแม้แต่บริษัทขนาดใหญ่ที่มองเห็นโอกาสการเติบโตในกลุ่มธุรกิจเหล่านั้น โดยนอกเหนือจากความพร้อมทางด้านเงินทุนแล้ว กลุ่มนักลงทุนต่างๆ ดังกล่าว โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่มักมีความพร้อมในด้านทรัพยากรบุคคลที่มีประสบการณ์ในด้านการบริหารจัดการธุรกิจ รวมถึงมีความได้เปรียบในด้านการใช้ฐานข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่เดิม เพื่อนำมาต่อยอดและวิเคราะห์ถึงความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกลุ่มนักลงทุนที่มีความพร้อมในด้านต่างๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น น่าจะสามารถแชร์ประสบการณ์หรือทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดแนวทางความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพและกลุ่มนักลงทุนที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของที่ปรึกษา การร่วมทุน หรือการแชร์ข้อมูล เป็นต้น

555

การเร่งพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค การสร้าง Ecosystem ที่เหมาะสม และการใช้ข้อมูล Big Data…หนุนดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพไทยขยายสู่โมเดลธุรกิจที่หลากหลายขึ้น

สำหรับธุรกิจดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพในประเทศไทยในปัจจุบันก็ได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านจำนวนธุรกิจ รวมไปถึงรูปแบบการทำธุรกิจที่มีการขยายไปยังธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น จากแต่เดิมที่มีแต่การซื้อขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ธุรกิจดิจิทัลเทคสตาร์ทอัพไทยที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในกลุ่มผู้ประกอบการ 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภค (Lifestyle) อาทิ การท่องเที่ยว การค้นหางาน การให้บริการจองร้านอาหารหรือที่จอดรถ เป็นต้น ซึ่งจะขยายตัวไปพร้อมกับการปรับ

222 111444 333

ร่วมแสดงความคิดเห็น