คำแนะนำสำหรับกีฬา ที่เหมาะสมกับผู้ที่มีโรคประจำตัว

77
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เผยคนไทยใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ทั้งกระแสอาหารสุขภาพ -ออกกำลังกาย แต่ปัญหาคือ การออกกำลังกายจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง โดยเฉพาะคนมีโรคประจำตัว
เช่น โรคหัวใจ ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำแพทย์อย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงกีฬาใช้กำลังมาก เพราะเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนเสียชีวิตได้โรคเบาหวาน ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน เพราะอาจเกิดภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า หลีกเลี่ยงออกกำลังกายโดยใช้กล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีดอินซูลินอย่างน้อย 1 ชม.หลังฉีดการออกกำลังกายที่เหมาะสมคือ เดิน แกว่งแขน รำมวยจีน วิ่งเหยาะๆ เดินเร็ว ขี่จักรยาน
ว่ายนํ้าช้าๆ โรคความดันโลหิตสูง ออกกำลังกายแบบเคลื่อนที่จะทำให้ร่างกายได้ใช้ออกซิเจน เพื่อการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้นควรออกกำลังแบบแอโรบิค ทำต่อเนื่องอย่างน้อย 20 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ ถีบจักรยาน ว่ายนํ้า แอโรบิค โรคหอบหืด ควรพกยาพ่นขยายหลอดลมติดตัวตลอดและพ่นก่อนออกกำลัง 15 นาที วอร์มก่อน-หลังออกกำลังกาย ออกกำลังกายในเวลาที่เหมาะสม 15-30 นาที เมื่อหอบให้หยุดทันที
ทั้งนี้ กีฬาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ได้แก่ กีฬาที่ออกกำลังกายระยะสั้นๆ พักเป็นช่วงๆ ได้ เช่น เดินที่ไม่ช้า-เร็วเกินไป วิ่งระยะสั้นๆ ว่ายนํ้า จะช่วยปอดทำงานดีขึ้น โยคะ-แอโรบิคจะช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้ร่างกายผู้ป่วย
ผู้มีโรคประจำตัว จำเป็นต้องออกกำลังกาย ควบคู่กันไปด้วย แต่ลักษณะการใช้แรง ระยะเวลา และวิธี จะแตกต่างตามความเหมาะสมกับโรคที่เป็น การตรวจสุขภาพประจำจึงสำคัญ เพราะหากมีโรคประจำตัว แพทย์จะให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่ตัวผู้ป่วยเอง และหากมีความผิดปกติขณะออกกำลังกายควรหยุด และรีบปรึกษาแพทย์ทันที…แหล่งข่าวโดย สยามรัฐ

ร่วมแสดงความคิดเห็น