พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต”ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้”

_dsc1773

“ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้” อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ก่อกำเนิดจากการที่ได้รับพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ที่พระราชประสงค์ที่จะให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ทดลอง ที่เหมาะสมกับพื้นที่ภาคเหนือ และเผยแพร่แก่ราษฎรให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตัวเองต่อไป โดยทำการศึกษาพัฒนาป่าไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ ใช้สอย ไม้ผล ไม้เชื้อเพลิง ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนคงความชุ่มชื้นเอาไว้เป็นประโยชน์อย่างที่ 4 และพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์เป็นหลักโดยต้นทางเป็นการศึกษาสภาพพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำลำธาร และปลายทางเป็นการศึกษาด้านการประมงตามอ่างเก็บน้ำต่างๆ ผสมกับการศึกษาด้านการเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์ และโคนม และด้านเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์แบบ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่จะเข้ามาศึกษากิจกรรมต่างๆในศูนย์ฯ แล้วนำไปใช้ปฏิบ้ติอย่างได้ผลต่อไป

dsc_0103ดังมีพระราชดำริว่า “ให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทำหน้าที่เสมือน…พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต…หรืออีกนัย หนึ่งเป็น…สรุปผลการพัฒนา…ที่ประชาชนจะเข้าไปเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้”

สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ก็เพื่อ 1 .เป็นศูนย์กลางแบบเบ็ดเสร็จที่มีการศึกษาทดลองและสาธิตในลักษณะสหวิทยาการเสมือนหนึ่งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต สำหรับราษฎรได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาเรียนรู้แล้วนำไปปฏิบัติได้

2. เพื่อศึกษา ทดลอง วิจัย และพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ด้านทรัพยากรน้ำ ป่าไม้ ดิน และระบบเกษตร รวมทั้งระบบนิเวศลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ และการจัดการลุ่มน้ำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม

3. เป็นศูนย์กลางข้อมูลการพัฒนา บูรณาการ และแลกเปลี่ยนข้อมูล บริการข้อมูลข่าวสารทั้งในด้านวิชาการ และเชิงปฏิบัติ เพื่อประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

4. ขยายผลการพัฒนาสู่ประชาชนในหมู่บ้านรอบบริเวณศูนย์ฯ และโครงการบริการการพัฒนาในระดับพื้นที่ ให้ดำรงชีวิตที่พออยู่พอกิน และสามารถพึ่งตนเองได้

และ 5. พัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พื้นที่ลุ่มน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ และสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมตามแนวพระราชดำริ

ภายในพื้นที่หลายพันไร่ของ ห้วยฮ่องไคร้ฯ ท่านจะได้พบกับวิถีการเกษตรตามแนวทางของพ่อมาก ไม่ว่าจะเป็น ในเรื่องของ “การพัฒนาแหล่งน้ำ” ที่ดำเนินการศึกษา ทดลอง วิจัย ทางด้านการพัฒนาแหล่งน้ำเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาลุ่มน้ำขนาดเล็ก การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของแบบฝายต้นน้ำลำธาร การศึกษาและพัฒนาแบบจำลองการฟื้นฟูพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ฯลฯ

“การพัฒนาป่าไม้” ดำเนินการศึกษา ทดลอง วิจัย ทางด้านการพัฒนาป่าไม้เกี่ยวกับ การศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางอุตุนิยมวิทยา-อุทกวิทยา การเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า การฟื้นฟูและพัฒนาป่าไม้การส่งเสริมและการควบคุมไฟป่าให้มีประสิทธิภาพ การศึกษาการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้าง องค์ประกอบและความหลากหลายของระบบนิเวศน์ลุ่มน้ำ

“การพัฒนาที่ดิน” ศึกษาการพัฒนาที่ดินเกี่ยวกับการศึกษาพัฒนาวิธีการและรูปแบบการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน การศึกษาและสาธิตการใช้หญ้าแฝก การขยายพันธุ์หญ้าแฝกการศึกษาการเปลี่ยนแปลงความอุดมสมบูรณ์ของดิน”การพัฒนาการปลูกพืช” ศึกษา ทดลอง วิจัย ทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกพันธุ์พืช และปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมศึกษาทดสอบการปลูกพืชสวน พืชไร่ ข้าว หม่อน พืชสมุนไพรและเห็ด เพื่อให้ได้รูปแบบการจัดการ ด้านการใช้ทรัพยากรดิน น้ำ และปุ๋ย ได้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่ตลอดจนเพิ่มผลผลิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นศูนย์กลางบริการวิชาการเพื่อพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้ และความมั่นคงรวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมสู่เกษตรกร

“การพัฒนาเกษตรกรรมแบบประณีต” ดำเนินการศึกษาทดลองวิจัย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานไว้ทางด้านการพัฒนาการเกษตรแบบประณีต เกี่ยวกับงานรวบรวมพันธุ์พืชงานศึกษาการใช้ประโยชน์จากพืช งานขยายพันธุ์พืช งานเกษตรกรรมพื้นบ้านงานหญ้าแฝกงานอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

dsc_3115

“การพัฒนาปศุสัตว์” ศึกษา วิจัย และทดสอบการเลี้ยงโคนม และสัตว์เศรษฐกิจ พัฒนาการจัดการทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ สาธิตผลการศึกษาเพื่อให้เกิดแนวคิดแก่เเกษตรกรในกระประกอบอาชีพด้านการเลี้ยงสัตว์ เพื่อเพิ่มรายได้และพัฒนาอาชีพการเกษตรแบบผสมผสาน

“การพัฒนาประมง” หารูปแบบการจัดการบริหารแหล่งน้ำและทรัพยากรประมงให้เกิดประโยชน์สูงสุดตลอดจนศึกษาวิจัยและทดสอบ เพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และสามารถนำผลงานการศึกษาขยายผลสู่เกษตรกร และเป็นแหล่งสาธิตแก่ผู้สนใจทั่วไปเข้าศึกษาและดูงาน

_dsc1791

และ “การพัฒนาอาชีพเพาะเลี้ยงกบ” เพื่อนำผลที่ได้จากงานศึกษาวิจัย มาพัฒนาวิธีการเพราะเลี้ยงกบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ต่างๆ เป็นเขตต้นน้ำลำธารของภาคเหนือและในพื้นที่ใกล้เคียง นำไปขยายผลสู่เกษตรกรเพื่อให้เป็นอาชีพเสริมรายได้ ร่วมกับการทำการเกษตรกรรมในลักษณะของเกษตรกรรมแบบผสมผสานและเกษตรกรรมในรูปแบบของทฤษฎีใหม่

ทั้งหมดนี้ของ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและประเทศชาติ ที่ “พ่อ” สร้างไว้ให้ สนใจเรียนรู้ อย่ารอช้า มาสัมผัสกันได้ แล้วท่านจะรู้ซึ่งถึงเรื่องราวของ ดิน น้ำ และป่า

ร่วมแสดงความคิดเห็น