สกู๊ปหน้า 1… ถ่ายทอดความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม-พลังงาน ในงานวันวิชาการ มช. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

1111 ถ่ายทอดความรู้งานวิจัยและนวัตกรรมด้าน Environment and Energy งานวันวิชาการ 1 ใน 3 กลุ่มยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงรุกของมหาวิทยาลัย ในงานวันวิชาการ ครั้งที่ 11 “วิถีวิจัย: กินดีอยู่ดี วิถีล้านนาไทย ใส่ใจสุขภาพ พลังงานสะอาด รักษ์สิ่งแวดล้อม” พร้อมเปิดเวทีเสวนาหาทางออก ชุมชนคนต้นแบบ แม่แจ่มโมเดลพลัส คนอยู่ได้ ป่าอยู่รอด ปลอดหมอกควัน และเสวนาการสร้างองค์กรสีเขียวด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน วันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2559 ณ สำนักบริการวิชาการ มช.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดงานวันวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 11 “วิถีวิจัย: กินดีอยู่ดี วิถีล้านนาไทย ใส่ใจสุขภาพ พลังงานสะอาด รักษ์สิ่งแวดล้อม” วันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2559 ณ สำนักบริการวิชาการ มช. ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการวิจัย เผยแพร่นวัตกรรม สู่การนำไปใช้ประโยชน์ เน้นนำเสนอ 3 กลุ่มยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงรุก ได้แก่ Environment and Energy, Creative and Innovative Lanna และ Food and Health

การถ่ายทอดองค์วามรู้ด้านสิ่งแวดล้อม Environment and Energy หรือด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ในงานวันวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 11 นี้ จะมีการเสวนาที่น่าสนใจทั้ง 2 วัน ได้แก่ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 เวลา 13.30-15.30 น. จะมีเวทีเสวนาหาทางออก ชุมชนคนต้นแบบ แม่แจ่มโมเดลพลัส คนอยู่ได้ ป่าอยู่รอด ปลอดหมอกควัน ซึ่งมีผู้ร่วมเสวนาจากหลายภาคส่วน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ นพ.อำนาจ อยู่สุข รองอธิการบดีฝ่ายบริการ พัฒนาสังคม ศิลปวัฒนธรรม และกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณทศพล เผื่อนอุดม นายอำเภอแม่แจ่ม คุณสมเกียรติ มีธรรม มูลนิธิฮักเมืองแจ่ม คุณไพรัชต์ โตวิวัฒน์ หัวหน้าคณะทำงานแก้ไขปัญหาฝุ่นควันเชียงใหม่ของ 6 องค์กรภาคเอกชน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำหรับวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09.00-12.00 น. จะมีการเสวนาหลัก เรื่อง “การสร้างองค์กรสีเขียวด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน” (Green Organization by Renewable Energy and Energy Conservation Technology) โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเวลา 09.00 – 10.00 น. จะเป็นการเสวนาย่อย เรื่องเทคโนโลยีและการคำนวณศักยภาพเบื้องต้นการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์เหลือใช้ นำไปสู่การขายคาร์บอนเครดิตในอนาคต โดย คุณชุมนัดถ์ มณีศิริ วิศวกรอาวุโส สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งจะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบคัดแยกและผลิตพลังงานจากขยะและน้ำเสียของเสียชุมชน และผลประโยชน์ด้านต่างๆ และการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก หลังจากนั้น เวลา 10.15-12.00 น. เป็นการเสวนาย่อย เรื่อง เทคโนโลยีและการคำนวณศักยภาพระบบผลิตไฟฟ้า จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) การใช้ระบบตรวจติดตาม (Smart Monitoring) เพื่อควบคุมการใช้พลังงานภายในองค์กร โดยคุณกฤษณ์ ลิขิตอนุรักษ์ วิศวกรไฟฟ้า สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งจะมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณเบื้องต้นสำหรับการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น ติดตั้งบนหลังคา ติดตั้งโรงจอดรถ ระบบชาร์จแบตเตอรี่ ระบบปรับอากาศ รวมถึงระบบการทำงานของระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (Easy Smart Meter) และประโยชน์ที่ได้รับจากการทราบการเคลื่อนไหวของพลังงานในระบบด้วย

2222

“วิถีวิจัย: กินดีอยู่ดี วิถีล้านนาไทย ใส่ใจสุขภาพ พลังงานสะอาด รักษ์สิ่งแวดล้อม” คณะ หน่วยงาน ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยร่วมนำเสนอผลงานและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ในหลากหลายประเด็น ได้แก่ การแก้ไขปัญหาหมอกควันและทางออกในการลดผลกระทบสารเคมีทางการเกษตรโดยชุมชนมีส่วนร่วม โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ โครงข่ายอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองละเอียด (PM10) โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ การลดการเผาซังข้าวโพดในที่โล่งด้วยการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่ง (Corn Pellet) โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินและการออกแบบห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตรเพื่อลดการเกิดหมอกควัน แผนกิจกรรมประเทศไทยไร้หมอกควัน โดยโครงการประเทศไทยไร้หมอกควัน ศักยภาพของการประหยัดพลังงานสำหรับบ้านจัดสรร จังหวัดเชียงใหม่ โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ Smart home และการฟื้นฟูป่า โดยคณะวิทยาศาสตร์ การเผยแพร่องค์ความรู้ด้านพลังงานจากมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน การพัฒนาการผลิตและการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ การเพิ่มประสิทธิภาพโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ โดยเทคนิคการระบายความร้อน สมาร์ทโฮม โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์

นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการโครงการวิจัยเด่นและโปสเตอร์งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การประกาศผลการคัดเลือก และการมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีให้แก่ ผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยยอดเยี่ยม นักวิจัยดีเด่นและนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่น ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2559 อีกทั้งมีกิจกรรม Workshop Start up และการบ่มเพาะธุรกิจ โดยอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STeP) หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (TLO) และหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI)

ในส่วนกลุ่มยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงรุก Creative and Innovative Lanna และ Food and Health จะได้นำมาเสนอในข่าวรอบสัปดาห์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในฉบับต่อไป ขอเชิญคณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และบุคลากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักเรียน นักศึกษา เครือข่ายนักวิชาการจากสถาบันต่างๆ ผู้บริหารระดับท้องถิ่น เกษตรกร โดยเฉพาะพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยเข้าไปมีส่วนร่วม อาทิ พร้าว อมก๋อย แม่แจ่ม ศรีบัวบาน อุโมงค์ (ลำพูน) และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมงานวันวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 11 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ด้วยการลงทะเบียนได้ที่ http://rac.oop.cmu.ac.th/academicday2016

ร่วมแสดงความคิดเห็น