เสน่ห์เครื่องราง…”เครื่องรางของขลัง”

img_2414

หากจะพูดถึงเรื่อง เครื่องรางของขลัง เป็นเรื่องที่ลึกลับและกว้างขวาง ซึ่งในตำราพิชัยสงคราม กล่าวว่า เครื่องรางของขลัง ที่นักรบสมัยโบราณจะมีติดตัวเป็นมงคล ซึ่งมีด้วยกันหลายชนิดและมีความเชื่อต่อ เครื่องรางของขลังนั้นๆครูบาอาจารย์ได้สรรค์สร้างขึ้นมีไว้พกบูชาติดตัวป้องกันอันตรายต่างๆ อีกทั้งคงกระพันชาตรียิงฟันไม่เข้าเสน่หาเมตตามหานิยมค้าขายมีมาตั้งแต่สมัยโบราณจากรุ่นสู่รุ่นมีการสืบทอดสรรพตำราต่างๆ ตกทอดกันมาเนิ่นนาน ถ้าจะแบ่งออกไปตามประเภทง่ายๆในการเข้าใจ

  1. เครื่องรางที่มาจากตามธรรมชาติเป็นของวิเศษ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่มีการสรรค์สร้าง ซึ่งถือว่ามีดีในตัวและมีเทวดารักษา ได้แก่ เหล็กไหล คดต่างๆ เขากวางคุด เขี้ยวหมูตัน เขี้ยวเสือกลวง เถาวัลย์ฯลฯ

2. เครื่องรางของดีที่มนุษย์ สร้างขึ้น เช่น แร่ธาตุต่างๆที่หล่อหลอมตามสูตร การเล่นแร่แปรธาตุ อันได้แก่ เมฆสิทธิ์ เมฆพัด เหล็กละลายตัว สัมฤทธิ์ นวโลหะ สัตตะโลหะ ปัญจโลหะ เป็นต้น ทั้งนี้คลุมไปถึง เครื่องรางลักษณะต่างๆ ที่ได้รับการสร้างขึ้นมาเพื่อคุ้มกันภัยอันตราย

การแบ่งตามการใช้ดังต่อไปนี้

  1. เครื่องคาด อันได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้คาดศีรษะ คาดเอว คาดแขน ฯลฯ

2. เครื่องสวม อันได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้สวมคอ สวมศีรษะ สวมแขน สวมนิ้ว ฯลฯ

3. เครื่องฝัง อันได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้ฝังลงไปในเนื้อหนังของคน เช่น เข็มทอง ตะกรุดทอง ตะกรุดสาลิกา (ใส่ลูกตา) และการฝังเหล็กไหล หรือ ฝังโลหะมงคลต่างๆ ลงไปในเนื้อจะรวมอยู่ในพวกนี้ทั้งสิ้น

4. เครื่องอม อันได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้อมในปาก อาทิเช่น ลูกอม ตะกรุดลูกอม สำหรับในข้อนี้ไม่รวมถึง การอมเครื่องรางชนิดต่างๆ ที่มีขนาดเล็กไว้ในปากเพราะไม่เข้าชุด การแบ่งตามวัสดุ ดังนี้ โลหะ ผง ดิน วัสดุอย่างอื่น อาทิ กระดาษสา ชันโรง ดินขุย เขี้ยวสัตว์ เขาสัตว์ งาสัตว์ เล็บสัตว์ หนังสัตว์ ผงพราย ผ้าตราสัง ผ้าห่อศพ ผ้าผูกคอตาย ผ้าทอทั่วๆไป

การแบ่งตามรูปแบบลักษณะดังนี้

  1. ผู้ชาย อันได้แก่ รักยม กุมารทอง ฤาษี พ่อเฒ่า ชูชก หุ่นพยนต์ และสิ่งที่เป็นรูปของเพศชายต่างๆ
  2. ผู้หญิง อันได้แก่ แม่นางกวัก แม่พระโพสพ แม่ซื้อ พระแม่ธรณี และสิ่งที่เป็นรูปของผู้หญิงต่างๆ
  3. สัตว์ในที่นี้ หมายถึง พระโพธิสัตว์ อาทิ เสือ ช้าง วัว เต่า จระเข้ งู เป็นต้น การแบ่งตามระดับชั้น ดังนี้

1) เครื่องรางชั้นสูง อันได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้บนส่วนสูงของร่างกาย ซึ่งนับตั้งแต่ศีรษะลงมาถึงบั้นเอว สำเร็จด้วย พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

2) เครื่องรางชั้นต่ำ อันได้แก่ เครื่องราง ที่เป็นของต่ำ อาทิ ปลัดขิก อีเป๋อหรือแม่เป๋อ ไอ้งั่ง หรือพ่องั่งเป็นมนต์ดำไม่ได้สำเร็จด้วยของสูง 3.เครื่องรางที่ใช้แขวน อันได้แก่ ตะกรุด สร้อย ผ้ายันต์ ธงรูปแบบต่างๆ มีดหมอ สัปดาห์หน้าอย่าลืมติดตามอ่านกันนะครับ

โดย…ตั้มเชียงใหม่

www.pralanna.com/lannagallery

ร่วมแสดงความคิดเห็น