เชลซีกับแผน 3-4-3 ที่นำมาใช้กับทีม เป็นระบบที่นำทีม ไปสู่ชัยชนะ

เชลซีจะใช้รหัส 3-4-3 นำมาใช้การคืนชีพ ในความพ่ายแพ้อย่างยับเยินของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากจะนำไปสู่คำถามมากมายในรั้วโอลด์แทร็ฟฟอร์ดแล้วอีกประเด็นที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือการกลับสู่เส้นทางที่ถูกต้องของเชลซี ในยุคของอันโตนิโอ คอนเต้ ในเวลาอันสั้นจากที่เคยมีแต้มตามหลัง แมนเชสเตอร์ ซิตี้ จ่าฝูงถึง 8 คะแนนในชั่วขณะหนึ่ง นาทีนี้ สิงโตน้ำเงินครามŽ ลดช่องว่างดังกล่าวเหลือเพียงแค่ 1 เท่านั้น ในเวลาเพียงสามสัปดาห์

อดีตโค้ชทีมชาติอิตาลีตัดสินใจปรับแท็กติกเป็น 3-4-3 ในครึ่งหลังของเกมกับ อาร์เซนอล แม้ไม่อาจช่วยให้รอดพ้นความพ่ายแพ้ในวันนั้น แต่การกดดันอีกฝ่ายได้จนจบแมตช์ ก็กลายเป็นกุญแจไขสู่ทางออกที่ คอนเต้ กำลังค้นหา 3-4-3 มองผิวเผิน ฟุตบอลเป็นกีฬาที่เรียบง่าย ผู้เล่น 11 คน มีเป้าหมาย ในการทำประตูให้ได้มากกว่าฝ่ายตรงข้าม แต่ที่จริงแบบแผนและรูปแบบการเล่นมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องตลอดอายุของมัน ไม่ว่าจะ 3-5-2 ของการ์ลอส บิลาร์โดที่นำ อาร์เจนตินา คว้าแชมป์โลก 1986 จนถึง ฟอลส์ ไนน์ (False 9) ที่ เป๊ป กวาร์ดิโอลา นำมาใช้กับบาร์เซโลนา

การเล่นในระบบ 3-4-3 ไม่ใช่ของใหม่ เป็นรูปแบบการเล่นหลักของ  และ บาร์เซโลนา โรงเรียนลูกหนังชั้นนำของโลกมาเป็นเวลานาน แต่กลับไม่เป็นที่นิยมนักจนเมื่อเร็วๆนี้เอง ที่รูปแบบการเล่นนี้กลับมาแพร่หลายอีกครั้ง โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค ในบุนเดสลีกา ปาแลร์โม และ เจนัว ในเซเรีย อา ทีมชาติเบลเยี่ยมของ โรแบร์โต มาร์ติเนซ หรือแม้แต่ในพรีเมียร์ลีกที่นิยมการเล่นกองหลัง 4 คนมาช้านาน ก็เริ่มมีความเปลี่ยนแปลง ทั้ง แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ของ เป๊ป กวาร์ดิโอลา เวสต์แฮม ของ สลาเวน บิลิช รวมถึง เชลซี ของ อันโตนิโอ คอนเต้ =จุดเปลี่ยน กองหลัง 3 ตัว เป็นสิ่งที่ คอนเต้ ใช้มาตั้งแต่สมัยนำ ยูเวนตุส ประสบความสำเร็จแต่กับ เชลซี ในช่วงต้นฤดูกาล อดีตโค้ชทีมชาติอิตาลี เลือกใช้รูปแบบ 4-1-4-1 เพื่อให้ จอห์น เทอร์รี่ และแนวรับชุดหลักที่ร่วมงานกันมานานได้ทำหน้าที่ของตัวเอง โดยมี เอ็นโกโล กองเต สมาชิกใหม่จาก เลสเตอร์ ปักหลักอยู่ด้านหน้า แต่อาการบาดเจ็บของ เทอร์รี่ จนพลาดสองเกมสำคัญกับ ลิเวอร์พูล และ อาร์เซนอล และปัญหาในเกมรับกลายเป็นจุดพลิกผันให้คอนเต้ตัดสินใจเปลี่ยนแปลง

ในเกมที่ เอมิเรตส์ สเตเดียม คอนเต้ ถอด เชส ฟาเบรกาส ที่ไม่มีบทบาทออก ส่ง มาร์กอส อลอนโซ ลงไปเป็นวิงแบ็กซ้าย และปรับการเล่นเป็น 3-4-3 ผลลัพธ์ที่ได้เกินคาด เพราะ อลอนโซ ช่วยให้ เอแดน อาซาร์ มีอิสระในเกมรุกมากขึ้น ในการประสานงานร่วมกับ ดิเอโก กอสตา และ เปโดร ที่ถูกส่งมาสมทบ ขณะที่เกมรับซึ่งเป็นปัญหามาตลอด ก็แน่นขึ้น เมื่อ เอ็นโกโล ก็องเต ได้ เนมานยา มาติช มาช่วยแบ่งเบาภาระ ไม่ให้ต้องทำงานหนักเกินไป

ความแตกต่าง แม้จะมีปัจจัยและบริบทอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ตัวเลขสถิติก็สามารถใช้บ่งบอกได้ว่า การปรับหมากครั้งนี้ของ คอนเต ได้ผลหรือไม่ 6 นัดแรกในพรีเมียร์ลีก ที่ใช้รูปแบบ 4-1-4-1 เชลซี มีค่าเฉลี่ยทำประตูได้เพียง 1.67 ขณะที่ 3 นัดหลังสุด ในระบบ 3-4-3 สิงโตน้ำเงินครามยิงเฉลี่ยนัดละ 3 ประตู ส่วนโอกาสยิงประตูเพิ่มขึ้นจาก 16.67 ครั้ง ต่อนัด เป็น 17.3 ต่อนัดในเกมรับ เชลซี ลดโอกาสการยิงตรงกรอบของฝ่ายตรงข้าม จาก 2.83 ต่อนัด เหลือ 2.3 ต่อนัด และยังไม่เสียประตูเลย ขณะที่ 6 นัดแรก มีค่าเฉลี่ยเสียประตูอย่างน้อย 1.5 ลูก ต่อนัด ขณะที่สถิติในเกมกับ แมนฯ ยูไนเต็ด ก็แสดงให้เห็นว่าลูกทีมของ คอนเต้ เคลื่อนไหว และครอบคลุมพื้นที่ในสนามได้มากกว่า ด้วยระยะรวม 115.88 กม. มากกว่าฝั่ง ยูไนเต็ด ถึง 8.54 กม.

ผู้ได้รับผลกระทบนอกจาก ฮัลล์ ซิตี้, เลสเตอร์ และ แมนฯ ยูไนเต็ด ในฐานะผู้โชคร้ายการปรับรูปแบบมาเป็น 3-4-3 ของ คอนเต้ ก็อาจส่งผลกระทบ ต่อผู้เล่นในทีมด้วย มาร์กอส อลอนโซ อาจไม่เด่นในเกมรับ แต่รูปแบบการเล่นใหม่ เอื้อให้ไม่ต้องพะวงกับบทบาทนี้มากนัก เช่นเดียวกับ วิคเตอร์ โมเสส นักเตะผู้ถูกลืมในยุคก่อน แต่กลับมาแจ้งเกิดได้อีกครั้งในตำแหน่งวิงแบ็กขวาเช่นเดียวกับ อาซาร์ ที่ออกปากด้วยตัวเองว่า มีอิสระในการเล่นมากขึ้น =กลับกันเสือเฒ่าอย่าง บรานิสลาฟ อิวาโนวิช น่าจะเป็นผู้ได้รับเคราะห์กลุ่มแรก เมื่อ คอนเต้ มองว่าความคล่องตัวของเซซาร์ อัซปิลิกวยตา เหมาะกับการเล่นเซนเตอร์ฮาล์ฟฝั่งขวา และนั่นอาจรวมถึง จอห์น เทอร์รี่ กัปตันทีมผู้ร่วงโรยด้วย เชส ฟาเบรกาส ที่ไม่ถนัดเกมรับคงยากจะเป็นตัวจริง ตราบใดที่ คอนเต้ เห็นว่าคู่ของ ก็องเต-มาติชŽ เหมาะกว่าเช่นเดียวกับออสการ์ที่คงเป็นตัวเลือกลำดับท้ายๆในแนวรุก เพราะนอกจาก อาซาร์ ยังมีเปโดรและวิลเลียนที่น่าจะได้รับโอกาสก่อ แม้ในโลกของฟุตบอลทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว แต่ดูเหมือนตอนนี้ คอนเต้ จะหากุญแจไขทางไปต่อสำหรับตนกับเชลซีได้แล้ว เหมือนที่เจ้าตัวเคยว่าไว้ ระบบที่ผมชื่นชอบคือระบบที่นำทีมไปสู่ชัยชนะ

ร่วมแสดงความคิดเห็น