เกษตรที่ยั่งยืนและทำได้ดีของชาวกะเหรี่ยง

p-111p-112ตามไปเกษตรในอำเภออมก๋อย ของจังหวัดเชียงใหม่ของพี่น้องชาวกะเหรี่ยง ที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงหรือปกาเกอญอ เส้นทางคมนาคมทุกหมู่บ้านทุกตำบลเป็นถนนลูกรังลัดเลาะไปตามไหล่เขาสูงชัน การเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบาก ช่วงฤดูฝนต้องใช้วิธีเดินหรือรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ สภาพความเป็นอยู่ยากจนแร้นแค้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของความเป็นอยู่ชาวไทยภูเขา

หลายพื้นที่ ทรงมีพระราชดำริเข้าไปช่วยเหลือหลากหลายโครงการ เพื่อให้ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งด้านสุขอนามัย โภชนาการ พลังงาน รวมถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ได้น้อมนำพระราชดำริ ฯ ในการเสริมสร้างด้านโภชนาการ ดำเนินงานโครงการสร้างอาหารโปรตีนจากสัตว์น้ำแก่ชาวไทยภูเขาและอนุรักษ์ปลาไทยพื้นเมือง เพื่อให้เกษตรกรชาวไทยภูเขาได้มีความรู้ สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ใช้วัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น ลดต้นทุนการผลิต และขยายผลไปสู่เกษตรกรรายอื่นจนถึงเยาวชนในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อให้ได้สัตว์น้ำเป็นอาหารโปรตีน ส่วนที่เหลือจากการบริโภคจึงจำหน่ายภายในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง อันจะเป็นการสร้างฐานะความเป็นอยู่ของตนเองและชุมชนให้ดีขึ้น
ผศ.ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ คณะเทคโนโลยีการประมง ฯ เล่าให้ฟังว่า ในปี 2537 ได้เริ่มเข้าไปสำรวจพื้นที่ในตำบลต่าง ๆ ของอำเภออมก๋อย โดยเฉพาะเลือกพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลและเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร คณะทำงาน ฯ ได้เลือกหมู่บ้านปิตุคี หมู่ที่ 11 ตำบลยางเปียง ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำห้วยปิตุคี มีน้ำไหลตลอดทั้งปีเป็นหมู่บ้านนำร่องหรือหมู่บ้านต้นแบบ ระยะแรกจัดประชุมชาวบ้านเพื่อชี้แจงโครงการ ฯ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากการสื่อสารที่ชาวไทยภูเขาใช้ภาษากะเหรี่ยงต้องอาศัยล่ามแปล

p-119จึงเปลี่ยนวิธีการเป็นการสื่อสารเป็นแบบตัวต่อตัว บุคคลที่พอจะสามารถสื่อสารได้แม้จะพูดภาษาไทยได้ไม่ชัดเจนมากนักคือ นายโตเล อภิบาลกุญชร เป็นเกษตรกรประเภทหัวไวใจสู้ และเป็นผู้นำอย่างไม่เป็นทางการของหมู่บ้าน เมื่อสื่อสารกันจนเป็นที่เข้าใจแล้วว่าเราจะทำอะไรในหมู่บ้าน เขาเองจะต้องทำอะไรบ้าง จึงเริ่มต้นการปฏิบัติงาน เริ่มสร้างบ่อดินเพื่อเลี้ยงปลานิล ปลาไน ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลายี่สก เลี้ยงแบบรวมกันจำนวน 1 บ่อ เนื่องจากเป็นปลาประเภทกินพืชเป็นอาหาร เศษพืชผักจากแปลงเกษตรหรือเหลือใช้ก็นำมาเป็นอาหารได้

ไม่ต้องหาซื้ออาหารเม็ดสำเร็จรูปมาใช้เลี้ยง เพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนการเลี้ยง เมื่อปลาโตขึ้นส่วนหนึ่งนำไปทำเป็นอาหารและขายในหมู่บ้าน ปลาอีกส่วนหนึ่งที่ตัวโตพร้อมจะเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ก็เก็บไว้ทำพันธุ์ จากนั้นได้ฝึกปฏิบัติให้นายโตเล ผสมพันธุ์ปลาด้วยตนเอง เริ่มสร้างบ่อเพาะพันธุ์ปลาด้วยซีเมนต์บล๊อกพร้อมสนับสนุนอุปกรณ์ระยะแรก บ่ออนุบาลลูกปลา ใช้เวลา 2 ปี นายโตเลก็สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ปลาได้เอง นายโตเลจึงขยายบ่อปลาได้อีก 3 บ่อ ชาวบ้านในหมู่บ้านเห็นว่าการเพาะและเลี้ยงปลาแบบนี้ สามารถทำกันเองได้ทุกขั้นตอน

p-117จึงเกิดเป็นกลุ่มประมงอาสา สมาชิกเริ่มขุดบ่อปลาเพิ่มขึ้น เริ่มเรียนรู้การผสมพันธุ์ขยายพันธุ์ ไม่ต้องสั่งซื้อลูกปลามาจากพื้นราบที่อยู่ไกลและมีโอกาสตายมาก จนถึงขณะนี้เกษตรกรชาวไทยภูเขาบ้านปิตุคี 35 ครัวเรือน มีบ่อเลี้ยงปลา 25 บ่อ ในเมื่อทุกคนสามารถเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ปลาได้แล้ว กลุ่มประมงอาสาจึงมีจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์พันธุ์ปลาพื้นเมือง ตั้งเป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ ร่วมกันตั้งข้อบังคับเครือข่ายลุ่มน้ำแม่หาด เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2556 ห้ามทุกคนในหมู่บ้านจับปลาธรรมชาติในลำห้วยปิตุคี ลำห้วยแม่หาด ลำห้วยสาขาอื่น ๆ ที่เป็นแหล่งต้นน้ำ โดยกำหนดเขตตลอดลำน้ำแม่หาดตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำแม่หาดและน้ำห้วยแม่อมเลาะ ตั้งกฎระเบียบไว้ว่า หากมีการกั้นน้ำหรือขวางทางน้ำ ปรับ 500 บาท หากมีการระเบิดปลา เบื่อปลา ใช้ประทัด หย่อนแก๊ส ใช้ไฟช๊อตปลา ครั้งละ 1,000 บาทต่อคนต่อครั้ง หากมีการกระทำความผิดมากกว่า 1 วิธี จะต้องเพิ่มอัตราการปรับตามความเป็นจริง

คณะเทคโนโลยีการประมง ฯ จึงมอบหมายให้นายรตพล วัฒนศิริเสรีกุล นักศึกษาระดับปริญญาโทด้านการประมง เป็นผู้ให้คำแนะนำและขยายผลไปยังหมู่บ้านและตำบลอื่น ในปี 2557 สามารถเผยแพร่ความรู้ควบคู่การปฏิบัติ ขยายบ่อเลี้ยงปลาและบ่อขยายพันธุ์ปลาในเขตอำเภออมก๋อย 47 หมู่บ้าน ประมาณ 500 บ่อ นอกจากโครงการสร้างความมั่นคงด้านอาหารโปรตีนจากสัตว์น้ำแล้ว ในด้านพลังงานที่ใช้ในหมู่บ้าน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

p-118ได้จัดทำโครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับศูนย์การเรียนรู้ชุมชน บ้านปิตุคี จำนวน 1 ชุด สำหรับระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ประจำบ้าน มีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ขนาดเล็กประจำทุกบ้าน โดยการสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี จัดส่งเจ้าหน้าที่คอยดูแลรักษา อำนวยความสะดวกเป็นประจำทุกตำบล ๆ ละ 1 คน สำหรับโครงการความมั่นคงด้านอาหาร ฯ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปี 2558 จะได้ขยายพื้นที่ไปดำเนินการแก่ชาวไทยภูเขาที่อำเภอกัลยาณิวัฒนา อำเภอแม่แจ่ม และอำเภอเชียงดาว

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะให้หมู่บ้านปิตุคี เป็นหมู่บ้านนำร่องด้านการเกษตรทุก ๆ ด้าน ร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างต่อเนื่อง นักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมง ฯ จึงได้รวมกลุ่มจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาให้แก่เยาวชนบ้านปิตุคีได้มีโอกาสเรียนต่อ ด้วยวิธีการจัดหาเงินกองทุนจากการออกร้านนิทรรศการ รับบริจาคจากบุคคลภายนอก ศิษย์เก่า ฯลฯ จัดตั้งเป็นกองทุนใช้ชื่อว่า “กองทุนอภินันท์ อภินันทนาการ” ทำการคัดเลือกเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน มุ่งหวังในการดูแลอนาคตของหมู่บ้าน ตั้งใจเรียน มีความสนใจในวิชาชีพแขนงต่าง ๆp-113

p-115

เช่น การประมง พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ ช่างยนต์ และศาสตร์แขนงต่าง ๆ ที่มีความสำคัญกับชุมชน ได้มีโอกาสในการเรียนหนังสือ ส่งเข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน ปัจจุบันมีเด็กในอุปการะภายใต้กองทุน ฯ จำนวน 8 คน โดยทางกองทุนได้ช่วยเหลือการติดต่อประสานงาน ดูแลค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ระหว่างการศึกษา เช่น ค่าเทอม ค่าครองชีพบางส่วน และหาช่องทางในการศึกษาระดับที่สูงขึ้น โดยกองทุนจะส่งเสียจนกระทั่งจบระดับมัธยมตอนต้น แล้วส่งเรียนต่อในระดับประโยควิชาชีพหรือประโยควิชาชีพชั้นสูงในวิทยาลัยเกษตรกรรมหรือวิทยาลัยการอาชีพต่อไป เมื่อเยาวชนรุ่นนี้เรียนจบกลับมาพัฒนาบ้านเกิด มีรายได้บางส่วนส่งคืนให้แก่กองทุน ฯ เพื่อมอบให้แก่เยาวชนรุ่นต่อๆ ไปอย่างไม่มีสิ้นสุด

สภาพหมู่บ้านปิตุคี อยู่ในเขตหมู่ 11 ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรเป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงสะกอร์ สภาพพื้นที่ของหมู่บ้านเป็นป่าดงดิบ มีพื้นที่ราบเล็กน้อยสำหรับสร้างบ้าน ล้อมรอบด้วยภูขาสูง มีสภาพอากาศเย็นชื้นตลอดทั้งปี คำว่า ปิ๊ตุ๊ หมายถึงพื้นที่สร้างบ้านหลังเล็ก ๆ ทำจากไม้ไผ่ คำว่า คี หมายถึงต้นน้ำ รวมความหมายแล้ว ชาวบ้านชอบสร้างบ้านไม้ไผ่ริมน้ำ บ้านปิตุคี ได้รับรางวัลชมเชย โครงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำขุนแม่หาด สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2553 และมีกระแสรับสั่งกับนายโตเล อภิบาลกุญชร ความว่า “…..อย่างเราอายุมากแล้ว ไม่ต้องทำอะไร ให้ทำเศรษฐกิจพอเพียง มีข้าวเต็มหลอง ปลาเต็มบ่อ มีหมู มีไก่ มีผักกิน แค่นี้ก็พอแล้ว” เขาจึงยึดหลักนี้มาโดยตลอด จนทุกวันนี้มีปลา มีไก่ มีหมูเยอะพร้อมที่จำหน่ายได้ทุกวันp-114
ท.ลุงเกษตร

[email protected]

ร่วมแสดงความคิดเห็น