สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกายังมีอยู่ แนะติดตามอาการหญิงตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด

111ร้อยเอกภูรีวรรธน์ โชคเกิด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า สถานการณ์ไวรัสซิกาล่าสุดในวันที่ 26 ตุลาคม 2559 จังหวัดเชียงใหม่พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกาเพิ่มขึ้นอีก 1 ราย จากเดิมจำนวนทั้งหมด 16 รายการ จากตรวจหาซิกาในจังหวัดเชียงใหม่มีทั้งสิ้น 953 ราย มีผลเป็นบวก 17 ราย เป็นบุคคลทั่วไป 14 ราย หญิงตั้งครรภ์ 3 ราย ข้อมูลจากการเฝ้าระวังในหญิงตั้งครรภ์ 3 ราย ที่ติดเชื้อไวรัสซิกาอยู่ในความดูแลของสูตินรีแพทย์ อาการของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสซิกาทั้ง 3 ราย ขณะนี้คลอดแล้ว 1 ราย ไม่พบความผิดปกติ สำหรับผู้ป่วยที่พบรายล่าสุดตรวจพบเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2559 เป็นชาย อายุ 38 ปี ซึ่งพักอาศัยในพื้นที่ ตำบลป่าตัน อำเภอเมือง สำหรับอาการของผู้ป่วยที่พบติดเชื้อไวรัสซิกา ผู้ป่วยทั้ง 17 ราย ส่วนใหญ่ มีไข้ ตํ่าๆ ออกผื่น อาการดีขึ้น ภายใน 3 – 5 วัน รักษาแบบผู้ป่วยนอก ขณะนี้อาการเป็นปกติทุกราย

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินการดังนี้ 1.ด้านการควบคุมโรค กำหนดรัศมี 100 เมตรรอบบ้านผู้ป่วยเป็นพื้นที่เป้าหมายในการควบคุมโรค ดำเนินการพ่นสารเคมีกำจัดยุงในพื้นที่รอบบ้านผู้ป่วย การสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกนํ้ายุงลายในบ้านและบริเวณโดยรอบ การติดตามอาการผู้สัมผัสโรคเป็นเวลา 14 วัน แจกยาทากันยุง 2.ด้านการสอบสวนโรคและเฝ้าระวังโรค เฝ้าระวังการติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมายโดยการเก็บปัสสาวะส่งตรวจ การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในสถานพยาบาล แจ้งสถานพยาบาลทุกแห่งเข้มงวดกับการรายงานผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับโรคติดเชื้อไวรัสซิกา จัดทีมสูตินรีแพทย์และกุมารแพทย์เพื่อดูแลหากพบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อไวรัสซิกาจากการเฝ้าระวังและการวิเคราะห์ทางระบาดวิทยาของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าโรคไข้เลือดออก ซึ่งขณะนี้มีผู้ป่วยตั้งแต่ วันที่ 3 มกราคม – 26 ตุลาคม 2559 จำนวน 4,425 ราย เสียชีวิต จำนวน 5 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 25-34 ปี รองลงมาคืออายุ อายุ 15-24 ปี และอายุ 35-44 ปี ตามลําดับ โดยอำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อำเภอแม่แตง อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอแม่วาง อำเภอเมือง และอำเภอสันกำแพง ทั้งนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ขอความร่วมมือประชาชน ทุกบ้านร่วมกันกำจัดยุงลายตามมาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” ดังนี้

1.เก็บบ้านให้สะอาด โปร่งโล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่อาศัยเกาะพักของยุง

2.เก็บขยะ เศษภาชนะรอบๆ บ้านที่อาจมีนํ้าฝนตกลงมาตกค้างได้ โดยทำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้งไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

3.เก็บนํ้า สำรวจภาชนะใส่นํ้า ต้องปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันยุงลายไปวางไข่เพื่อป้องกัน 3 โรค คือโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เบอร์โทรศัพท์ 053-211048-50 ต่อ 111 นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวในที่สุด

ร่วมแสดงความคิดเห็น