น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ จากความทรงจำ”ป่าไม้-วิริยะ”

1-jpgแม้จะเกษียณอายุราชการจากข้าราชการกรมป่าไม้-กรมอุทยานฯ ในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักบริหารที่ 16 จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในอดีตก็คือ ป่าไม้เขต..มานานหลายปี

แต่เมื่อใดที่ “วิริยะ ช่วยบำรุง”หวนรำลึกถึงครั้งที่มีโอกาสถวายงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คราใด

สิงห์ป่าไม้ที่ก้าวเดินบนเส้นทางรับราชการและมากด้วยสายสัมพันธ์ทุกวงการ จนชื่อชั้นได้รับการยอมรับว่า หากไม่ได้มาโลดแล่นในสายการเมืองระยะหนึ่ง ตำแหน่งใหญ่ๆ ในกรมฯก็ไม่พลาด เพราะเพื่อนพ้องน้องพี่ ในวันนี้ ทั้งในกรมอุทยานฯ-กรมป่าไม้….ล้วนแล้วแต่ไม่ธรรมดา

2-jpg

“พี่เกิดมาไม่เสียชาติเกิดแล้วในชาตินี้ และจะขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป ” อดีต ผอ.วิริยะ กล่าวด้วยเสียงหนักแน่น ในเช้าวันที่ทีมข่าวมีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษที่บ้านพัก ย่านสันผักหวาน เชียงใหม่

“หลังจากพี่ไปทำงานที่แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน..ระยะหนึ่ง ซึ่งที่นั่นก็มีโอกาสได้เข้าเฝ้า รับเสด็จฯจำได้ว่า ปี 2523เสด็จฯบ้านต่อแพ พระองค์ท่านมีรับสั่งว่า เธอรู้จักไม้ 3 ตุ่มมั๊ย

ผมตอบพระองค์ไปว่า ข้าพระพุทธเจ้า ไม่ทราบพะยะคะ…จากนั้นทรงมีรับสั่งต่อว่า ให้พวกเธอไปดูที่บ้านป่าแป๋ ห้วยรากไม้ของไม้3 ตุ่มจะยึดริมห้วยดี ก็คือไม้ตุ้มเต๋น…..”

จะเป็นไม้ที่ยึดริมลำห้วยไม่ให้พังทลายได้( ชื่อสามัญ-กระดังงาป่า-บางถิ่นก็เรียกลำพูป่า-โก๊ะ ซังกะ-ลำแพน : )

พระองค์ทรงลุ่มลึกรอบรู้แผ่นดินขนาดนั้น จนพวกเราที่ร่วมสนองงานในคณะทำงานในพื้นที่ตั้งปณิธานว่า จะต้องศึกษา หาความรู้ยิ่งๆขึ้น5-jpg

ต่อมามีคำสั่งย้ายไปกรุงเทพ แล้วโชคชะตา วาสนาพาไป ให้มาเชียงใหม่ โดยอธิบดีฯมอบหมายให้มาสำรวจพื้นที่สันกำแพง ในจุดที่พระองค์จะจัดตั้งหมู่บ้านแผนใหม่ขึ้นมา ก็คือโครงการแม่ออน บ้านแม่หว้า

พระองค์ทรงมีการบ้าน ให้พวกเราคิดและนำไปพิจารณาตามความรู้ที่มี ตรงนั้นเดิมสมัยก่อนราวๆปี 23 ก็เป็นพื้นที่ต้องทำงานมวลชนควบคู่ไปด้วย

และให้มาสำรวจพื้นที่ห้วยฮ่องไคร้ ประมาณวันที่ 3-4-5 ธันวาคม 2525 ตอนนั้นพระบาทสมเด็จพระปริมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีรับสั่งที่ต่อผู้เข้าเฝ้าฯที่ดุสิตาลัย ความตอนหนึ่งว่าตอนนี้ฉันกำลังให้เจ้าหน้าที่ไปสำรวจที่ห้วยฮ่องไคร้ เชียงใหม่

จะตั้งเป็นที่ปล่อยโคพระราชทาน ตอนนั้นยังไม่เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯเลย

4-jpg
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯพื้นที่ศูนย์ฯห้วยฮ่องไคร้ เชียงใหม่ ซึ่ง “วิริยะ ช่วยบำรุง”ตัวแทนป่าไม้ สมัยนั้น และต่อมา ทำหน้าที่ ผอ.ศูนย์ฯมีโอกาสรับเสด็จฯถวายงาน

ผมเป็นตัวแทนฝ่ายป่าไม้ พี่มนู โอมาคุปต์ ฝ่ายพัฒนาที่ดิน ท่านวิภา กุลพงษ์ สมัยท่านเป็นผอ.ชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ เดินสำรวจกัน แล้วได้ข้อสรุปถวายรายงานผ่าน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขา กปร.สมัยนั้นที่ตั้งเป็นปีแรกพอดี

ถวายรายงานพระองค์ไปว่า ไม่น่าจะทำอะไรได้ เพราะพื้นที่แห้งแล้งเหลือเกิน

ซึ่งเป็นที่มาของรับสั่งที่ดร.สุเมธ นำมาบอกพวกเราว่า” ฉันจะทำ…..ให้ได้” หลักวิชาการที่ร่ำเรียนมาและสภาพที่เห็นพื้นที่เหนือจากระดับน้ำทะเลนั้น ถ้าตามสภาพธรรมชาติ ที่อุดมสมบูรณ์แล้ว ต้องเป็นป่าเบญจพรรณ

แต่สภาพที่เห็น ปรากฎในการสำรวจคือ ทั้งไฟไหม้ ทำให้ตรงนี้เป็นป่าเต็ง รัง ที่ร่ำๆจะแห้งแล้ง ราวกับทะเลทราย ตรงนี้เคยเป็นที่สัมปทานไม้ฟืนรถไฟ สายเชียงใหม่-ลำาง-กรุงเทพ..มาก่อน

จากกระแสรับสั่ง…ที่พระองค์ตั้งพระราชหฤทัยว่าจะพลิกพื้นที่ซึ่งเกือบจะเป็นทะเลทรายทำประโยชน์อะไรแทบไม่ได้แล้วให้อุดมสมบูรณ์ฟื้นฟูธรรมชาติกลับคืนมา

“ยิ่งใหญ่เหลือเกิน…ในความเป็นปราชญ์ศาสตร์ศิลป์ รวมทั้งพระปรีชาญานของพระองค์ท่าน ในหลักการทรงงาน ทรงให้มีการพัฒนาคน ”

3-jpg

ที่ห้วยฮ่องไคร้..จะมีบอร์ดบริหาร 3 ชุด มีองคมนตรี ซึ่งสมัยนั้น คือ…มจ.จักรพันธ์ เพ็ญศิริ จักรพันธ์ แล้วปลัดกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้องมาร่วมทำงาน บอร์ดชุดนี้ประธานองคมนตรีเป็นประธาน โดยมีกปร.เป็นเลขาฯบอร์ดชุด 2 คือบอร์ดวางแผนแม่บท มี กปร.เป็นประธาน กรมชลประทานเป็นเลขาฯ

ชุดที่ 3 คือชุดทำงานในพื้นที่ มีชลประทานเป็นประธาน มีพัฒนาที่ดิน มีป่าไม้ สรุปคือ ดิน-น้ำ-ป่า เป็นชุดเวิร์คกิ้งทำงานหลักๆในพื้นที่ มีปศุสัตว์ มีส่งเสริมเกษตร ประมง วิชาการเกษตร ปกครอง-อำเภอ คณะทำงานต่างๆมาร่วมทีม…พระองค์ให้ คนมาร่วมมือกันทำงาน

วิริยะ ช่วยบำรุง"อดีต ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
วิริยะ ช่วยบำรุง…อดีต ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16

ตั้งแต่ 11 กุมภาพันธ์ 2526 จนถึงวันนี้ ซึ่งปีแรกพระองค์ไม่ได้เสด็จฯ มาเสด็จในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ปี 2527
พวกเราทำงาน ทำแปลงเพาะตามสูตรตามความรู้ที่เรียนมา พระองค์เห็นแล้วรับสั่งว่า ทำอะไร จะปลูกอะไร ต้องคิดถึงประชาชนของฉันด้วย ต้องปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

ไม้ใช้งาน ไม้เศรษฐกิจ ไม้ใช้สอย ไม้ฟื้น ไม้ทำเครื่องเกษตร ไม้กินได้คือไม้ผล

วิธีปลูกต้องแตกต่างกัน ปลูกตามแหล่งลำธารต้นน้ำ ปลูกไม้ซับน้ำ ปลูกรองรับชลประทาน ซึ่งลงลึกถึงฝายชะลอความชุ่มชื้น เพื่อกักกันเก็บกั้นน้ำในสายธารน้ำ ทางน้ำไหล ปลูกให้ได้รับประโยชน์พัฒนาที่ดินด้วย

มากมายหลากเรื่องราวของหนึ่งในตำนาน….ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้..อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ….ยังมีให้ติดตามต่อตอนหน้า…ครับ7-jpg

ดิ๊ก ชาวไทย..รายงาน

ร่วมแสดงความคิดเห็น