(มีคลิป)จราจรเชียงใหม่ม ชี้แจงชาวบ้าน เส้นทางเดินถนนสายป่าแดด

จราจรเชียงใหม่ พร้อมผู้เกี่ยวข้อง ออกชี้แจงชาวบ้าน กรณีการดำเนินโครงการจัดระบบเส้นทางเดินรถใต้สะพานวงแหวน รอบ 2 (ถนนสายป่าแดด) หลังมีการติดประกาศแจ้ง และเตรียมทดลองใช้ 23 พ.ย.นี้ โดยเกิดเสียงวิจารณ์ในพื้นที่ และมีบางกลุ่มไม่เห็นด้วย เกรงอาจเกิดอันตรายเพิ่ม ย้ำขอทดลองใช้ก่อน 1 เดือน เพื่อรวบรวมข้อมูล หากพบปัญหาสามารถปรับเปลี่ยนได้เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ก่อนชงเรื่องเข้า อจร.จังหวัด ให้มีผลบังคับใช้อย่างยั่งยืนต่อไปs__1876022 s__1876025

เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 21 พ.ย.59 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณลานออกกำลังกายใต้สะพานวงแหวน รอบ 2 หมู่ที่ 7 ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พ.ต.ท.พชรพล วงศ์รจิต รอง ผกก.กลุ่มงานจราจร ตำรวจภูธร จว.เชียงใหม่ , พ.ต.ต.สุนทร อินใจคำ สว.กลุ่มงานจราจรฯ , นายรุ่งปรีชา ปันแก้ว นายกเทศมนตรีตำบลป่าแดด พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่จากกรมทางหลวงชนบท จ.เชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันจัดการประชุม ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินโครงการจัดระบบเส้นทางเดินรถใต้สะพานวงแหวน รอบ 2 (ถนนสายป่าแดด) หลังจากได้มีการประกาศจะดำเนินการมาแล้วก่อนหน้านี้ประมาณ 1 เดือน และจะเริ่มดำเนินโครงการในวันที่ 23 พ.ย.59 นี้เป็นต้นไป

เพื่อให้ประชาชน ชาวบ้านในพื้นที่ และผู้ใช้รถใช้ถนนสายดังกล่าวเกิดความเข้าใจตรงกัน โดยในการประชุมชี้แจงในครั้งนี้ ได้มีตัวแทนหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น ซึ่งใช้ระยะเวลาการประชุมกันนานกว่า 2 ชั่วโมง ซึ่งเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่าจะมีการทดลองดำเนินการโครงการดังกล่าวประมาณ 1 เดือน เพื่อหาข้อบกพร่อง ข้อดีและข้อเสียของการดำเนินโครงการ ก่อนจะมีการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายอีกครั้ง และดำ เนินการในขั้นตอนต่อไป

s__1876019 s__1876026 s__1876021
ทั้งนี้ทางด้าน พ.ต.ท.พชรพล วงศ์รจิต รอง ผกก.กลุ่มงานจราจรฯ เปิดเผยหลังการประชุมชี้แจงในครั้งนี้ว่า สำหรับโครงการทดลองจุดกลับรถใต้สะพานป่าแดดใต้ ได้มีการพูดคุยกันก่อนหน้านี้แล้ว เป็นเวลาประมาณเกือบ 2 เดือน และได้มีการประชาสัมพันธ์ โดยทางเทศบาลตำบลป่าแดด ได้มีการสอบถามความคิดเห็นกับทางชาวบ้านแล้ว โดยในวันนี้ที่ได้มีการจัดประชุมก็เนื่องจากในวันที่ 23 พ.ย.59 นี้ จะมีการทดลองใช้อย่างจริงจัง แล้วก็ได้มาชี้แจงรายละเอียดเป็นครั้งสุดท้าย ให้กับคนที่ยังสงสัยเกิดความเข้าใจ เนื่องจากยังมีบางรายที่ยังไม่เข้าใจในระบบการเดินรถที่ได้มีการปรับเปลี่ยนดังกล่าว

โดยในครั้งนี้ได้มีการชี้แจงว่า จะมีการทดลองระบบการเดินรถในแบบที่ได้มีการกำหนดไว้ และมีการทดลองใช้เป็นระยะเวลา 1 เดือน หากเกิดปัญหา หรือการแก้ไขไม่ดีขึ้น ก็จะมีการปรับเปลี่ยนไปทดลองแบบอื่น หรือหยุดการทดลอง เนื่องจากการจัดการจราจรนั้นหากไม่มีการทดลองแบบจริง ก็จะไม่เห็นผลว่ามีผลกระทบอย่างไรบ้าง เนื่องจากเวลาวางแผนกับการนำมาปรับใช้จริงนั้นอาจจะไม่เหมือนกัน หรืออาจจะมีผลกระทบกับบางคน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของการปรับเปลี่ยนการจราจร เนื่องจากการปรับเปลี่ยนจราจรนั้น คนเคยเดินทางสัญจรไปมาแล้วปรากฎว่าเมื่อมีการปรับเปลี่ยนเส้นทาง หรืออาจทำให้ต้องเดินทางไกลขึ้นก็จะทำให้เกิดความไม่สะดวก แต่ก็จะมีความปลอดภัยตามมา

s__1876018
แต่อย่างไรก็ตามจากการดำเนินการในจุดนี้อาจมีบางท่าน มองว่าไม่เกิดความปลอดภัยอยู่บ้าง แต่หลังจากการปรึกษาหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ก้ได้มีการวางแผนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยให้มากที่สุด ซึ่งแต่เดิมนั้น สะพานข้ามแยกป่าแดด บริเวณถนนสองข้าง หรือที่เรียกว่าถนนคู่ขนานนั้นเป็นแบบสวนทางกัน หรือระบบทูเวย์ โดยถนนสายนี้รวมทั้งสะพานจะเป็นลักษณะเดียวกัน แต่หากสังเกตุทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นสะพานลอย หรือจุดทางต่างระดับ รวมทั้งสะพานข้ามแบบไหนก็แล้วแต่ ด้านข้างจะเป็นระบบเดินรถแบบวันเวย์ทั้งสิ้น

ซึ่งปัจจุบันนี้สะพานป่าแดด ใช้ถนนเลียบลำน้ำปิงเป็นจุดกลับรถ แต่ไม่ได้ทำจุดกลับรถไว้ ทางผู้เกี่ยวข้องจึงมองว่าหากรถไม่มากถนนเลียบลำน้ำปิงสามารถเป็นจุดกลับรถได้ แต่ในปัจจุบันนี้ไม่สามรถทำได้แล้ว เนื่องจากมีปริมาณรถมากเกินไป และใช้เวลาในการเดินทางนานพอสมควร ยกตัวอย่าง จากสะพานป่าแดดเหนือขับรถมายังสะพานป่าแดดใต้ ต้องใช้เวลาประมาณ 40 นาที ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระยะทางแค่ 1-2 กิโลเมตร ใช้เวลาถึง 40 นาที ทำให้เกิดความเดือดร้อนสำหรับคนที่อยู่และใช้ถนนสายดังกล่าวในปัจจุบัน ซึ่งหากยังไม่มีการแก้ไขตรงจุดนี้ ปัญหาดังกล่าวก็จะยืดเยื้อและสงผลกระทบเพิ่มมากขึ้น และคนที่เดือดร้อนก็คือชาวบ้านในพื้นที่แห่งนี้ อย่างแต่ก่อนที่เคยขับรถสัญจรไปมาแบบสะดวก ก็จะต้องประสบกับปัญหาการจราจรหนาแน่นขึ้น

ดังนั้นโครงการนี้จึงต้องมีการดำเนินการ โดยการทดลองดูก่อน 1 เดือน เพื่อดูว่าเมื่อดำเนินการแล้ว ทำให้การสัญจรไปมาตรงจุดนี้ใช้เวลาน้อยลง และหากทำแล้วลดลงจริงความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจที่จะต้องดำเนินการต่อ แต่หากทำไปแล้วแต่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ที่ดีขึ้น และมีผลกระทบ ทางผู้ดำเนินการก็จะต้องเปลี่ยนแปลงการดำเนินการ หรือยุติการทดลองไป และช่วงการดำเนินการ 1 เดือนนี้ ก็จะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปศึกษาต่อไป

อย่างไรก็ตามหลังเสร็จสิ้นการประเมิน 1 เดือน หากพบว่าเป็นผลดี ก็จะมีการรวบรวมข้อมูล และความคิดเห็นทั้งหมดนำเสนอเข้าที่ประชุมของจังหวัดโดยมีท่าน ผวจ.เชียงใหม่ เป็นประธานเพื่อให้รับทราบว่าได้มีการดำเนินการเรื่องดังกล่าวและได้มีการทดลองแล้วและได้ผลดี พร้อมทั้งขอมติจาก อจร.จังหวัด เพื่อให้ทางผู้บังคับการฯ ออกเป็นคำสั่งเพื่อให้มีผลในการบังคับใช้ตลอดไป แต่หากสมมุติว่าการดำเนินการดังกล่าวมองแล้วว่า เกิดผลเสียก็สามารถยุติการทดลอง หรืออาจจะออกแบบใช้การทดลองแบบใหม่ รวมทั้งอาจจะมีการแก้ไขในบางจุดที่บกพร่อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด

ร่วมแสดงความคิดเห็น