ปลูกข้าวหอมมะลิอย่างไร…ในปัญหาน้ำน้อย อ.พร้าว

p-224 วันนี้เรามาเรียนรู้การปลูกข้าว ปัญหาน้ำน้อย ที่ไม่เพียงพอกับ สนง.เศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 (สศท.1) การผลิตข้าวหอมมะลิ 105 กับ ปัญหาปริมาณน้ำไม่เพียงพอในพื้นที่ส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 ดำเนินการศึกษาปริมาณการใช้น้ำของการผลิตข้าวหอมมะลิ 105 ในพื้นที่ส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาณการใช้น้ำ 1,927.14 ลูกบาศก์เมตรต่อตันผลผลิตหรือมีปริมาณการใช้น้ำ 995.24 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ เกษตรกรมีปัญหาน้ำไม่เพียงพอในช่วงระยะการเจริญเติบโตของข้าว

นายอนุสรณ์ พรชัย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 (สศท.1) เปิดเผยถึงผลการศึกษาปริมาณการใช้น้ำของการผลิตข้าวหอมมะลิ 105 ในพื้นที่ส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงปีเพาะปลูก 2558/59 ที่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงทำข้อมูลแบบสอบถามและปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับชาวเกษตรกร พร้อมดำเนินการสัมภาษณ์เกษตรกรทุกรายที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 87 ราย โดยวิธีการวิเคราะห์คำนวณผลรวมปริมาณการใช้น้ำทั้ง 3 ประเภท ประกอบด้วย (1) กรีนวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ (Green Water Footprint; WFgreen) หมายถึง ปริมาณน้ำที่อยู่ในรูปของความชื้นในดิน ได้แก่ น้ำฝน (2) บลูวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ (Blue Water Footprint; WFblue) หมายถึง ปริมาณน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติทั้งแหล่งน้ำผิวดินและแหล่งน้ำใต้ดินเช่น น้ำในแม่น้ำ งน้ำในอ่างเก็บกักน้ำ น้ำบาดาลที่ใช้ในการผลิตสินค้า (3) เกรย์วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ (Grey Water Footprint; WFgrey) หมายถึง ปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตสินค้า ซึ่งคำนวณจากปริมาณน้ำที่ใช้ในการจือจาง

p-226

มลพิษในน้ำให้อยู่ในค่ามาตรฐาน รวมทั้งการวิเคราะห์ฟุตพริ้นท์น้ำที่คำนึงถึงสภาวะความเครียดของน้ำเชิงพื้นที่ (Water Stress Index : WSI) ร่วมด้วยเพื่อสอดคล้องกับมาตรฐานสากลโดยวิธีการของ ISO 14046 ประเภทวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์จากการศึกษา พบว่า ปริมาณการใช้น้ำของข้าวหอมมะลิ 105 ในพื้นที่โครงการฯ เท่ากับ 1,972.14 ลูกบาศก์เมตรต่อตันผลผลิต สามารถแบ่งเป็นปริมาณน้ำฝนร้อยละ 57.31 ของปริมาณการใช้น้ำทั้งหมด และปริมาณน้ำชลประทานร้อยละ 42.67 ของปริมาณการใช้น้ำทั้งหมด

ซึ่งช่วงที่ข้าวต้องการน้ำคือระยะเจริญเติบโตของการปลูกข้าวตั้งแต่ปลูก แตกกอ และช่วงการเจริญสร้างเมล็ด ส่งผลให้เกษตรกรต้องจัดหาน้ำชลประทานมาใส่ในแปลงนาให้เพียงพอต่อความต้องการ แต่จากสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคเหนือมีปริมาณน้ำในเขื่อนอยู่ในเกณฑ์น้อย ทำให้การจัดสรรน้ำชลประทานสามารถสนับสนุนการได้เฉพาะการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศเท่านั้น ปริมาณน้ำจึงไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนการทำนา เกษตรกรจึงมีความจำเป็นต้องจัดหาน้ำ เพื่อให้มีน้ำเพียงพอกับความต้องการใช้น้ำของข้าว ส่งผลให้ต้นทุนการเพาะปลูกสูงขึ้นตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่ศึกษาส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก โดยไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อไว้ใช้สำรองช่วงฝนทิ้งช่วง เกษตรกรยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของปริมาณการใช้น้ำที่เหมาะสมในแต่ละช่วงการเจริญเติบโตของข้าว ขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิควิธีการที่ช่วยลดปริมาณการใช้น้ำในการเพาะปลูก และเกษตรกรตัดสินใจเพาะปลูกพืชโดยพิจารณาราคาสินค้าชนิดนั้นในปีที่ผ่านมา

p-331ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาส่งเสริม มาตรการด้านการส่งเสริมสนับสนุนความรู้ให้กับเกษตรกรเกี่ยวกับการตระหนักถึงปริมาณน้ำเพื่อการเกษตร และการปรับตัวกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การนำเทคโนโลยีการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง(แกล้งข้าว) การเพาะปลูกข้าวในถังพลาสติก หรือส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยที่มีตลาดรองรับ อาทิ การปลูกข้าวโพดหวาน การปลูกพืชผักปลอดภัย มาตรการด้านการเพิ่มปริมาณแหล่งน้ำต้นทุน การสนับสนุนเงินทุนปลอดดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยต่ำ ให้กับเกษตรกรในการจัดหาน้ำ มาตรการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี เช่น การสนับสนุนให้สหกรณ์การเกษตรให้มีมาตรฐานสินค้าที่ติดฉลากคาร์บอนฟุตพริ้น หรือฉลากวอเตอร์ฟุตพริ้น บนผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปสู่สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามกระแสความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต ท่านใดอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่านี้ก็สอบถามไปยังทางสนง.เศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 (สศท.1) ปากทางข้าห้วยตึงเฒ่า ตึกหลังคาสีแดง โทร 053-121 318-9 ในวันเวลาราชการ

ท.ลุงเกษตร

ร่วมแสดงความคิดเห็น