เกษตรแนะนำใช้ เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ควบคุมโรคพืช

นายสมพล  แสนคำ เกษตรจังหวัดชม.
นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดชม.

เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นศัตรู (ปฏิปักษ์) ต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดโดยวิธีการเบียดเบียน หรือเป็นปรสิต และแข่งขันหรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรคต้องการ นอกจากนี้เชื้อราไตรโคเดอร์มายังสามารถผลิตปฏิชีวนสาร และสารพิษ ตลอดจนน้ำย่อยหรือเอนไซม์สำหรับช่วยละลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคพืช คุณสมบัติพิเศษของเชื้อราไตรโคเดอร์มาคือ สามารถช่วยละลายแร่ธาตุให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและชักนำให้ต้นพืช มีความต้านทานต่อเชื้อโรคพืชทั้งเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรค

นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ได้ส่งเสริมและแนะนำเกษตรกรให้ผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเพื่อใช้สำหรับควบคุมโรคพืชหลายชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ไตรโคเดอร์ม่า ช่วยลดกิจกรรมของ เชื้อราสาเหตุของโรคพืช ,ช่วยลดปริมาณเชื้อราสาเหตุของโรคพืช และเพิ่มการเจริญเติบโตของพืชp-221

เชื้อราสาเหตุโรคพืชที่เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าสามารถควบคุมได้
1. เชื้อราไฟทอปธอร่า ที่เป็นสาเหตุของ โรครากเน่า – โคนเน่า ของไม้ผล ไม้ยืนต้น
2. เชื้อราฟิวซาเรียม ที่เป็นสาเหตุของโรคเหี่ยวของพืชไร่ ไม้ผล พืชผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ
3. เชื้อราสเคลอโรเทียม ที่เป็นสาเหตุของโรคโคนเน่า โรคเหี่ยวของผักหลายชนิด
4. เชื้อราพิเทียม ที่เป็นสาเหตุของโรคเมล็ดเน่า โรครากเน่าโคนเน่าของผักหลายชนิด
5. เชื้อราไรช็อคโทเนีย ที่เป็นสาเหตุของโรคเน่าระดับดิน ไม้ผล ไม้ยืนต้น
การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสดพร้อมใช้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
1. หม้อหุงข้าวไฟฟ้าอัตโนมัติ 2. ถ้วยตวง หรือแก้วน้ำ 3. ทัพพีตักข้าว 4. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8 x 12 นิ้ว
5. หัวเชื้อไตรโคเดอร์ม่าชนิดผงหรือในเมล็ดข้าวฟ่าง 6. ยางวง 7. เข็มหมุด8. ข้าวสาร

p-225

วิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าสด
1. หุงปลายข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าอัตโนมัติ โดยใช้ข้าว 3 ส่วน + น้ำ 2 ส่วน (ถ้าข้าวนิ่มเกินไปให้ใช้ข้าว 2 ส่วน+น้ำ 1 ส่วน) ให้ใช้ทัพพีซุยข้าวในหม้อที่สุกแล้วให้ทั่ว
2. ตักปลายสุกแล้ว ขณะ ข้าวยังร้อน เพื่อช่วยทำลายจุลินทรีย์จากอากาศที่อาจปนเปื้อนในถุงข้าว
3. ตักปลายข้าวสุกประมาณ 2 ทัพพีครึ่ง ใส่ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8×12 นิ้ว หรือประมาณ 2 ขีดครึ่ง (250 กรัม) ต่อถุง
4. เกลี่ยข้าวให้แบนราบ รีดอากาศออกจากถุง ให้ถุงพลาสติกแนบกับข้าว เพื่อลดการเกิดหยดน้ำรอให้ข้าวอุ่นหรือถุงเกือบเย็น จึงนำไปใส่หัวเชื้อ
5. ใส่เชื้อลงในถุงข้าวในบริเวณที่ลมสงบ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศ ใส่หัวเชื้อเพียงเล็กน้อยประมาณ 2–3 เหยาะ (1-1.5 กรัม) ต่อถุง
6. รัดยางตรงปากถุงให้แน่น (ไม่ต้องพับปากถุง) ก่อนเขย่าหรือบีบข้าวเบา ๆ เพื่อให้หัวเชื้อกระจายทั่ว รวบถุงให้บริเวณปากถุงพอง ก่อนใช้เข็มแทงรอบ ๆ ปากถุงที่รัดยางไว้ไม่น้อยกว่า 30 รู
7. เกลี่ยข้าวในถุงให้แผ่กระจายแบนราบ เพื่อไม่ให้พลาสติกแนบติดกับข้าว และเพื่อให้มีอากาศเข้าไปในถุงข้าวเพียงพอ
8. บ่มเชื้อเป็นเวลา 2 วัน ในห้องที่ร่มและเย็น เมื่อครบ2 วัน ขยำข้าวที่มีเส้นใยของเชื้อเจริญอยู่ให้แตก แล้ววางถุงไว้เหมือนเดิม แล้วบ่มในสภาพเดิมต่ออีก 4 – 5 วัน
9. เชื้อสดที่ผลิตได้ควรนำไปใช้ทันที หรือเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาไม่เกิน 1 เดือน การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมโรคพืชการคลุกเมล็ด อัตราการใช้ ไตรโคเดอร์ม่า 10 กรัม หรือ 1 ช้อนแกงต่อเมล็ด 1 กิโลกรัมการรองก้นหลุม อัตราการใช้ – ต้นเล็ก 30 – 60 กรัม ต่อ – ต้นใหญ่ 150 – 300 กรัม ต่อหลุม
โดยการโรยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ลงในหลุมแล้วคลุกเคล้าเชื้อราสดกับดินในหลุมการผสมวัสดุปลูก ใช้สำหรับเพาะกล้าในกระบะเพาะเมล็ด หรือถุงเพาะชำ อัตราการใช้ – เชื้อสด 1 ส่วน ผสมกับวัสดุปลูก 4 ส่วนการหว่านลงดิน มีส่วนผสม ดังนี้
เชื้อสด 1 กิโลกรัม ต่อ รำละเอียด 4 กิโลกรัม ต่อปุ๋ยหมัก 40 กิโลกรัม ผสมคลุกเคล้ากันให้ทั่ว

อัตราการใช้
– นำส่วนผสมที่ได้หว่านรอบโคนต้นในอัตรา 30 – 60 กรัมต่อต้น
– นำส่วนผสมที่ได้หว่านบริเวณใต้ทรงพุ่มในอัตรา 150 – 300 กรัมต่อตารางเมตร
การฉีดพ่น โดยฉีดพ่นบริเวณรากหรือฉีดส่วนบน ของพืช

อัตราการใช้
– เชื้อสด 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร กรณีฉีดพ่นลงดินหรือบริเวณรากของพืช
– เชื้อสด 2 กิโลกรัม ต่อน้ำ 240 ลิตร กรณีฉีดพ่นส่วนบนของต้นพืช
การใช้ไปกับระบบน้ำ โดยใช้เชื้อสด 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร แล้วปล่อยไปตามระบบน้ำ

การทาแผล บริเวณลำต้นไม้ผลที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย
อัตราการใช้ เชื้อสด 1 กิโลกรัม ผสมกับฝุ่นแดง (ชนิดเดียวกับที่ใช้ทาหน้ายาง) ผสมน้ำ 2 ลิตร ถากบริเวณแผลที่เป็นโรคออก แล้วนำเชื้อราที่ผสมแล้วทาทีบริเวณแผลโดยใช้แปรงทาสี

p-223

ข้อควรระวัง
* ไม่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมโรคในบริเวณดินแฉะ
* ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในกลุ่มเบนโนมิล และคาร์เบนดาซิม ในช่วง 7 วัน ก่อนหรือหลังการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

หากเกษตรกรท่านใดมีข้อสงสัยต้องการ ปรึกษาและขอคำแนะนำติดต่อได้ที่ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.)และสำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่านหรือ กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ โทร.053 112 478-9 ต่อ 15 หรือ โทรสาร. 053 112481

[email protected]
ท.ลุงเกษตร

ร่วมแสดงความคิดเห็น