ความหมายของ “ปอย”เมืองยอง

img_0853

คำว่า “ปอย” เป็นภาษาพม่า ในเมืองพึ่งใช้คำนี้ ในภายหลัง เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ต้องใช้และทำให้คำว่า “มหรสพ” หายไป ตอนเมื่อพม่าเข้ามามีอิทธิพลในการปกครองเมืองในช่วงหลัง และยังมีหลายๆ คำที่เป็นภาษาพม่า เช่น คำว่า “สล่า” หรือช่างต่างๆ แม้กระทั่งในล้านนาเองก็ยังได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมของพม่าก็เรียก “ปอย”เหมือนกัน

ในเมืองยองจะเรียกประเพณีหรือพิธีกรรมต่างๆ แตกต่างกันไป เหมือนเช่นกับล้านนา หรือในบรรดาคนไตทั้งหลาย เช่น ล้านนา สิบสองปันนา เชียงตุง แต่ละเมืองก็จะมีวิธีการความเชื่อที่แตกต่างกันไป แต่ในเมืองยองจะมีหลายรูปแบบ คือ ตานธรรม ตานออกพรรษา เข้าพรรษา ตานมหาปาง จะเรียกคำนำหน้าว่า “ตาน” แต่เดิมในเมืองยองจะไม่มีคำว่าปอย จะเรียกว่า “มหรสพ” หรือการเฉลิมฉลองต่างๆ ที่เกี่ยวกับส่วนรวม จะมีทั้งการแสดงการละเล่นต่างๆ ภายในงาน

คำว่า “ปอย” เป็นภาษาพม่า ในเมืองพึ่งใช้คำนี้ ในภายหลัง เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ต้องใช้และทำให้คำว่า “มหรสพ” หายไป ตอนเมื่อพม่าเข้ามามีอิทธิพลในการปกครองเมืองในช่วงหลัง และยังมีหลายๆ คำที่เป็นภาษาพม่า เช่น คำว่า “สล่า” หรือช่างต่างๆ แม้ กระทั้งในล้านนาเองก็ยังได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมของพม่าก็เรียก “ปอย” เหมือนกัน

img_0774 ในรูปแบบและความหมายของคำว่าปอยในเมืองยอง ในเมืองจะเรียกปอยก็ต่อเมื่องานเหล่านั้นเป็นงานหน้าหมู่ คือมีการเตรียมการกันเป็นเดือน หรือมากกว่า และมีการละเล่นต่างๆ ภายในงาน มีการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบการเล่าสืบต่อๆ กันไป ถ้าเป็นปอย “บอกไฟ” หรือปอยบั้งไฟ พวก “เก๊าบ่าว” หรือกลุ่มหนุ่มสาวก็จะมีการเตรียมการฝึกฟ้อน มีทั้งฟ้อนรำวง ฟ้อนดาบฟ้อนเจิง พระหรือปราชญ์ในหมู่บ้านก็จะช่วยกันแต่ง “กำฟ้อนบอกไฟ” หรือเพลงฟ้อนบั้งไฟและให้ “อ่อนญิง อ่อนจาย” หรือหนุ่มสาวฝึกร้องกันจนคล่อง ในการฝึกก็จะมีเด็กๆ ทั้ง “อะน้อย” หรือเด็กน้อยทั้งหญิงและชายมาร่วมฝึกซ้อมร้องด้วย เดือนทั้งเดือนในหมู่บ้านจะได้ยินเสียงคน “ว่ากำฟ้อนบอกไฟ” หรือร้องเพลงฟ้อนบั้งไฟกันทั่วหมู่บ้านอย่างสนุกสนาน ทั้งพระและชาวบ้านก็จะเริ่ม “กุ๋มถ่านบอกไฟ” หรือเผาถ่านบั้งไฟ และพร้อมเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือเพื่อทำบั้งไฟกัน บั้งไฟก็จะมีทั้งบั้งไฟหมื่นถึงบั้งไฟแสน และจะทำเป็น “เครือ” หรือเป็นชุดๆ หนึ่งก็จะมีตั้งแต่ 3 บอกขึ้นไป ส่วนหัววัดศรัทธา “ต่างบ้านต่างจอง” หรือหัววัดบ้านอื่นเมืองอื่นที่ถึงกันก็จะเตรียมบั้งไฟของตนเองเข้าร่วมปอย แต่ในปอยนี้จะไม่มีการแข่งขันเพื่อชิงเอารางวัลกัน แต่ทุกคนนำมาเพื่ออวดอ้างความมีฝีมือและจุดเพื่อเป็นพุทธบูชาหรือตามความเชื่อมากกว่ารางวัล ก่อนถึงวันปอยประมาณ 2 อาทิตย์กลุ่มหนุ่มสาวๆ หรือแม่ค้าก็จะมาจองพื้นที่เพื่อ “แป๋งตูบปอย” หรือทำประรำขายของ จะมีทั้งกลุ่มหนุ่มสาวจากในบ้านและต่างบ้านมาจับจองและไม่ต้องมีการเสียค่าเช่าพื้นใดๆ ทั้งสิ้นใครอยากได้ตรงไหนก็จับจองเอาตามสะดวก เมื่อทุกอย่างพร้อมและถึงเวลาก็จะมีการแห่บั้งไฟไปพักไว้จุด “ผามเปียงในปอย” หรือประรำในปอยที่เตรียมไว้บั้งไฟจะมีหลาย “เครือ” หรือหลายชุดมีเป็นร้อยๆ ชุด แต่จะจุดให้ครบตามวันปอยคือจะมีปอย 5-10 วัน เมื่อทาง “เก๊าโกปะกะ” หรือเจ้าหน้าที่ทางศาสนา ประกาศออก “เผือนเผือ” หรือเครื่องเสียงฮอน ให้เจ้าของหรือสล่าบั้งไฟทราบว่าตกเป็นคิวที่จะต้องจุดตามลำดับ เจ้าของบั้งไฟก็จะมากันเป็นกลุ่มเพื่อช่วยกันนำบั้งไฟขึ้น “ก้าง” หรือฐานจุด ก่อนจุดบั้งไฟก็จะ “ว่ากำบอกไฟ” หรือร้องเพลงบั้งไฟนำหน้าพร้อมกับฟ้อน มีการตีคล้องตีกลองนำหน้าขบวนบั้งไฟ เมื่อนำขึ้นฐานจุดแล้วก็จะมีการร้องเพลงฟ้อนบั้งไฟ ฟ้อนดาบฟ้อนเจิงกันจนอิ่มก่อนถึงจะจุดบั้งไฟ เมื่อจุดบั้งไฟแล้วไม่ว่าบั้งไฟจะแตกหรือจะขึ้นก็จะต้องไปนำเอาตัวบั้งไฟกลับมาแล้วให้สล่าหรือเจ้าของบั้งไฟขึ้นขี่แล้วแห่รอบงานปอยพร้อมร้องเพลงฟ้อนบั้งไฟไปด้วยอย่างสนุกสนานพร้อม “ตกซู” หรือให้กำลังใจแก่เจ้าของบั้งไฟ ส่วนการตานหรือทำบุญก็จะไปตานวันสุดท้ายของงานพร้อมกัน ในระหว่างปอยครูบาก็จะคอยต้อนรับคณะศรัทธาและหัววัดต่างๆ ภายในวิหาร ไม่ว่าจะเป็นการปอยกุฏิ วิหาร หรืออย่างอื่นที่เป็นการก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัด

สาเหตุที่ยกปอย “บอกไฟ” หรือปอยบั้งไฟขึ้นมาก็เพราะเป็นความนิยมของสังคมคนยองในเมืองยองปัจจุบัน แต่ในสมัยก่อนก็จะมีปอยหลายอย่าง เช่น ปอยแข่งเรือ ปอยวังหงส์ ปอยธาตุ หรือปอยไหว้พระธาตุ เป็นต้น

img_0976

ร่วมแสดงความคิดเห็น