เชียงใหม่ เร่งส่งเสริมจังหวัด สู่สังคมแห่งการเรียนรู้

1111

ที่โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นายกฤษณ์ ธนาวณิช รอง ผวจ.เชียงใหม่ เป็นประธานเปิดกิจกรรม open house โครงการเชียงใหม่ สู่สังคมแห่งการเรียนรู้ พร้อมกล่าวว่า ปัจจุบันประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงรอบด้าน ทั้งทางสังคม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจและเทคโนโลยี ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อระบบการศึกษา จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก และต้องปรับเปลี่ยนให้ทัน เพื่อให้เกิดความทันสมัยในองค์ความรู้ และกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่ง ยูเนสโก ได้สรุปทักษะสำคัญของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ ต้องรู้อ่าน รู้เขียน รู้คณิตคิดเป็น และรู้ด้าน ICT และที่สำคัญ ต้องมีความตระหนักรู้ทันสถานการณ์โลก เข้าใจในการปฏิบัติการเชิงธุรกิจ ทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี เป็นผู้มีสุขภาพดีและร่วมมือการดูแลสิ่งแวดล้อม

สำหรับเชียงใหม่ ได้รับนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในทุกระดับ ทุกประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสหลักของสังคม ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมคุณภาพ เพื่อพัฒนา จ.เชียงใหม่ ให้ก้าวหน้าสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้และหวังว่าโครงการเชียงใหม่สู่สังคมแห่งการเรียนรู้นี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นกลไกลในการพัฒนาและส่งเสริมให้ จ.เชียง ใหม่ ก้าวเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน สามารถสร้างให้เชียงใหม่เป็นสังคมที่มีการเรียนรู้ มีการศึกษา ฝึกฝนตัวเองอยู่ตลอด ก้าวทันโลกและเป็นสังคมที่มีความสุข

โดยทาง น.ส.วิราชินี คำชมภู หน.สำนักงาน จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า เป้าประสงค์ของการจัดกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ของ จ.เชียงใหม่ มีความยั่งยืน ตอบสนองต่อนโยบายของชาติและทิศทางการพัฒนาของจังหวัด เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาเชียงใหม่สู่สังคมแห่งการเรียนรู้ เตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเพื่อส่งเสริมให้เชียงใหม่ เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่มีทักษะครอบคลุมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้งนี้ การดำเนินของโครงการประกอบด้วยด้วยกิจกรรมหลากหลาย ทั้งศึกษารวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้ เกี่ยวกับสังคมการเรียนรู้การศึกษา เทียบเคียงกับกรณีตัวอย่างในต่างประเทศ ที่ประสบความสำเร็จในด้านการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์

2222

โดยการพัฒนาตัวแบบ (Module) แนวทางการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับ จ.เชียงใหม่ ใน 3 ทักษะได้แก่ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และทักษะชีวิตและอาชีพ โดยนำตัวแบบที่พัฒนาได้ มาปรับใช้กับองค์ความรู้ และกิจกรรมสัมมนาเชิงปฎิบัติการ (Learning by doing ) จำนวน 3 ครั้ง เป็นการทดลองใช้ต้นแบบกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ในระบบการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ในพื้นที่จ.เชียงใหม่ รวมทั้งกลุ่มประชาชนทั่วไป และการศึกษานอกระบบ นำไปสู่การถอดบทเรียนเพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนา และต้นแบบเชียงใหม่สู่สังคมแห่งการเรียนรู้

ร่วมแสดงความคิดเห็น