รวมใจคลายหนาวให้น้องบนดอยสูง ปี 21 ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาบ้านขุนขานน้อย

สายลมหนาวพัดมาอีกครั้ง บนดอยสูงอันห่างไกลไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงโรงเรียนอาคารหลังเล็ก ของ
เด็กๆ ยังต้องนั่งเรียนกันกลางแดดอุ่นๆ ที่ช่วยคลายหนาวลงได้บ้าง กลุ่มผู้ใหญ่ใจดีจากกรุงเทพฯ ลำปางและเชียงใหม่ ร่วมคลายหนาวให้น้องโดยนำสิ่งของที่ยังขาดแคลนมามอบให้
ห้างหุ้นส่วน จำกัด ลำปางซิตี้ออยส์ Chawalit auto & body service, EAGLE TRACK Zipline,PHOENIX Adventure Park, ROCKCAMP, TOP MEDIA2U ได้ร่วมกิจกรรมโครงการ “รวมใจคลายหนาวให้น้องบนดอยสูง” เป็นครั้งที่ 21 ประจำปี 2559 ที่ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง”
(ศศช.) บ้านขุนขานน้อย อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

โดยรถ W4 ทั้ง 10 คัน นำเครื่องใช้อุปกรณ์การเรียนเสื้อผ้าชุดกีฬา แผลงโซล่าเซล ขนม พันธุ์ไม้ เดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ระยะทาง 90 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางสาย 107 ตัวอำเภอเมืองเชียงใหม่-แม่ริม
ไปถึงอำเภอสะเมิงเส้นทางสาย 121 ระยะทาง 52 กิโลเมตร จากที่ว่าการอำเภอสะเมิงมายังบ้านขุนขาน
น้อยอีก 38 กิโลเมตร เส้นทางข้ามขุนเขาถนนคอนกรีต และดินลูกรัง มาที่ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทย
ภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (ศศธ.) บ้านขุนขานน้อย
ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (ศศช.) บ้านขุนขานน้อย อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์ป่าและพันธุ์พืชปางขุม สูงจากระดับนํ้าทะเลที่ 1,106 เมตร
เปิดสอนตั้งแต่ชั้น ประถมศึกษาปี่ที่ 1 ถึง 6 มีนักเรียนจำนวน 24 คน มีคุณครู 2 คน นายโพธิ์ วงศรี
และนายธรรมศักดิ์ ธรรมมัง
ตามเล่าของคนเฒ่าคนแก่และผู้นำชุมชนเล่าว่า ผู้ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานคนแรกคือ “นายแกรชิ” เป็นชาวปาเกอะญอพื้นเพเดิมอยู่ที่อำเภอจอมทอง มีลูกชายหญิง 6 คน เมื่อผู้เป็นภรรยาเสียชีวิตลงได้พาลูกๆ อพยพย้ายมาตั้ง
บ้านเรือนที่บ้านขุนขานน้อย เนื่องจากนายแกรชิ มีที่นาอยู่ ห้วยขุนขานน้อย และ
มีพื้นที่กว้างสามารถเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ได้ประมาณ 80 ไร่ ในช่วงแรกมีบ้านของนายแกรชิอยู่เพียงหลังเดียว ต่อมาลูกๆ ได้เติบโตมีครอบครัวทำให้ชุมชนแห่งนี้เพิ่มขยายกลายเป็นหมู่บ้านขุนขานน้อย มาจนถึงปัจจุบัน

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่น ได้ขน
อาวุธยุทธ์โธปกรณ์จำนวนมากมายจากประเทศพม่ามายังอำเภอฝาง และลำเลียงต่อไปยังอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยใช้เส้นทางผ่านชุมชนแห่งนี้ ทหารญี่ปุ่นได้เกณฑ์ชาวบ้านแถบนี้ที่เป็นผู้ชายไปช่วย
ขนอาวุธยุทธ์โธปกรณ์เหล่านั้น ในตอนนั้น ยังไม่มีการตั้งชื่อหมู่บ้าน เพื่อให้ง่ายต่อการติดต่อสื่อสารทหาร
ญี่ปุ่น จึงหาวิธีการตั้งชื่อหมู่บ้านขึ้นมา ซึ่งที่ตั้งชื่อของชุมชนนี้อยู่ใกล้ลำห้วยที่เป็นสาขาต้นนํ้าขุนขาน
ทหารญี่ปุ่นจึงเรียกชุมชนแห่งนี้ว่า “ขุนขานน้อย” และ กลายมาเป็นชื่อของชุมชนที่เรียกขานกันมาจนถึง
ปัจจุบัน
คํ่านี้ในห้องเรียนและลานหน้าโรงเรียน เป็นที่กางเต็นท์นอนในคืนนี้สำหรับคณะ ลมหนาวและดวงดาวพราวแสงระยับบนท้องฟ้าในกลางคืน เช้าวันใหม่ลมหนาวสายหมอกจางๆ มาต้อนรับ เด็กๆชาวบ้านขุนขานน้อยและขุนขานหลวง ทยอยมารวมตัวที่ลานหน้าโรงเรียน ทางคณะพร้อมชาวบ้านร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี แล้ว นายมีชัย เขตปราการไทย ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวต้อนรับขอบคุณคณะ สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ผ้าห่ม ชุดกีฬา โซล่าเซลพร้อมแบตเตอร์รี่ กล้าต้นไม้ เมล็ดพันธุ์พืช ฯลฯ
มอบให้ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (ศศช.) บ้านขุนขานน้อย ชาวบ้านขุนขานน้อย และบ้านขุนขานหลวง มีข้าวและฟักทองลูกโตสิ่งเล็กๆ น้อยๆ แทนคำว่าขอบคุณจากชาวบ้านที่มอบให้ เสร็จสิ้นแล้วคณะร่วมเดินทางกลับ
ความสุข…ความอิ่มเอม…ของการให้ ปีที่ 21 เป็นกำลังใจให้คณะที่ยังคงมุ่งมั่นดำเนินต่อไป

ติดต่อ : ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (ศศช.) บ้านขุนขานน้อย ม.5
ต.ยั้งเมิน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ (50250) โทร.053-487425 (สนง.กศน)

ร่วมแสดงความคิดเห็น