ร่วมด้วยช่วยกันสร้าง “ฝายมีชีวิต” พื้นที่ตำบลแม่แรม

หลังจากที่ช่วงก่อนหน้านั้นเกิดเหตุฝนตกหนักและเกิดนํ้าป่าไหลหลากเป็นระยะ สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ทางการเกษตรและบ้านเรือนราษฎรในหลายพื้นที่ ขณะเดียวกันในช่วงฤดูแล้ง ก็ประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรงติดต่อกันมานานหลายปี จากภาวะความแห้งแล้งรุนแรง สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากแหล่งนํ้าตามธรรมชาติไม่มีนํ้าหล่อเลี้ยง โดยเฉพาะต้นนํ้าลำธาร ที่ขาดการดูดซับนํ้าเอาไว้ นํ้าที่มีอยู่ไหลลงมาที่ราบลุ่มจนหมดในเวลาอันรวดเร็ว ส่งผล ให้เกิดความแห้งแล้งและขาดแคลนนํ้าในวงกว้าง
จากปัญหา การให้ความสำคัญในเรื่องของแหล่งต้นนํ้าลำธาร การกักเก็บนํ้า หรือการชะลอนํ้าไม่ให้ไหลลงมาอย่างรวดเร็ว หลากหลายวิธีที่ถูกนำมาใช้ หรือดัดแปลงให้เหมาะกับสภาพภูมิประเทศ
“ฝายมีชีวิต” คืออีกหนึ่งนวัตกรรมที่อาศัยภูมิปัญญาดั่งเดิมในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลน การกักเก็บนํ้าไว้ใช้ในยามจำเป็น โดยอาศัยธรรมชาติเป็นตัวกำหนดในการคงอยู่ของนํ้าให้มีและไหลตลอดทั้งปี
ในการนี้ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ที่6 (นํ้าตกตาดหมอก) หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ที่3 (นํ้าตกแม่สา) เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าเชียงใหม่ ที่ 12 (ห้วยทราย) ได้สร้างฝายมีชีวิต ลำดับที่ 281 ของประเทศไทย ตัวที่ 2 ของจังหวัดเชียงใหม่ในท้องที่ห้วยแม่แรม บ้านปางไฮ หมู่ 4 ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ที่ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกันสรรค์สร้างจนสำเร็จ โดย นายภาษเดช หงส์ลดารมภ์ นายอำเภอแม่ริม เป็นประธาน พ.ต.อ.สุธี จำปา ผกก.สภ.แม่ริม นายสมชิด กันธะยา สมาชิกสภาจังหวัดเชียงใหม่ แม่ริม เขต 2 นายวิชัย ชัยวิทย์นนท์ นายกเทศมนตรีตำบลแม่แรม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 หมู่ 9 ชาวบ้านปางป่าคา ปางอีกา พนักงานบริษัทอีเกิ้ลแทรคและฟินิกช์ จำนวน 50 คน ร่วมมือกันสร้างฝายมีชีวิตนี้ขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแหล่งนํ้าดิบประปาภูเขาชาวบ้านปางอีกาและเพื่อเก็บกักนํ้าเพื่อรองรับฤดูไฟป่าและเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์นํ้าอีกด้วย ในการสร้างได้ใช้วัสดุธรรมชาติที่ไม่กระทบต่อระบบนิเวศ และใช้แรงงานจากจิตอาสาประชารัฐโดยจนสร้างเสร็จ บรรลุตามวัตถุประสงค์

ร่วมแสดงความคิดเห็น