จังหวัดลำพูน ส่งเสริมให้เยาวชน มีจิตสำนึก รักสามัคคี


จังหวัดลำพูน จัดโครงการปลูกฝังสำนึกรักสามัคคี และเสริมสร้างความปรองดอง ประจำปี 2560 โดยมีเยาวชนนักศึกษา และ อาจารย์วิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีลำพูน ร่วมโครงกา รจำนวน 153 คน

วันนี้ ( 20 มกราคม 2560 ) ที่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน ต.ทาสบเส้า อ.แม่ทา จัดโครงการปลูกฝังสำนึกรักสามัคคี และเสริมสร้างความปรองดอง ประจำปี 2560 โดยมี นายวีระชัย ภู่เพียงใจ ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ พร้อมทั้งนำผู้ร่วมงานประกอบพิธี แสดงความอาลัยถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

โดยมีนักศึกษา , อาจารย์ จากวิทยาลัยฯ เข้าร่วม โครงการฯ จำนวน 163 คน จากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ได้ให้โอวาทแก่เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ เกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ ซึ่งวิทยาลัยฯได้มุ่งส่งเสริมให้ความรู้แก่นักศึกษา ในการทำเกษตรแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม มีอาชีพสร้างรายได้ให้ครอบครัว

จากนั้นนายมนัส อ่ำทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดฯได้บรรยายความรู้ทางวิชาการให้แก่เยาวชน ในหัวข้อวิชา “การปูพื้นฐานความสำคัญของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หลักการอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง ” และ พระมหาเอนก จันทโชโต วัดหน่องหล่ม ต.ศรีบัวบาน อ.เมืองลำพูน ได้บรรยายเกี่ยวกับการส่งเสริมให้เยาวชนนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาปฏิบัติในการเรียน

ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำ “โครงการปลูกฝังสำนึกรักสามัคคี และเสริมสร้างความปรองดอง ประจำปี 2560” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมาย เพื่อมุ่งเน้นการปลูกฝัง และเสริมสร้างแนวคิด ให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ ให้ได้ศึกษาเรียนรู้ เกี่ยวกับหลักการทรงงานและแนวทางพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ในหลักการมีส่วนร่วม ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เพื่อให้เด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ สามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคม และชุมชนในพื้นที่ของตนเอง ปลูกฝังสำนึกความจงรักภักดีต่อสถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ให้ยั่งยืนอยู่ในจิตใจ ควบคู่ไปกับการตระหนักถึงประโยชน์สุข ของส่วนรวมมากกว่าส่วนตน

ในส่วนของจังหวัดลำพูน ได้จัดทำแผนปฏิบัติงาน และจัดกระบวนการเรียนรู้ภายใต้หลัก “ 3 ร่วม 3 สร้าง ” คือ 1. “ ร่วมกันพูดคุย ” แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อ “สร้างสามัคคี” 2. “ร่วมกันคิด ” ระดมสมองเพื่อ “ สร้างพลัง ” ปลูกฝังและเสริมสร้างกระบวนการคิด และเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาสังคม ให้มีความปรองดองสมาน ฉันท์ และ 3. “ ร่วมกันทำ ” เพื่อ “ สร้างสังคมปรองดอง ” และความสงบสุข ในสังคมอย่างยั่งยืน .

ร่วมแสดงความคิดเห็น