พะเยา จัดงาน “ตานตอด”

นายอำเภอดอกคำใต้ นำชาวบ้านดอกคำใต้ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา จัดงาน “ตานตอด”
เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2560 นายศักดิ์ชัย โชติมานนท์ นายอำเภอดอกคำใต้ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา พร้อมพระครูสุวิมลสารคุณ ดร.เจ้าคณะตำบลดอกคำใต้ พร้อมพระครูวิษิฐกิจจานุยุทธ เจ้าอาวาสวัดอนุมัติวงศ์ นายพิเชษฐ์ ศักดิ์สูง นายก อบต.ดอกคำใต้ นายธวัชชัย ทองประไฟ กำนัน และเจ้าหน้าที่ทั้งภาครัฐ-เอกชน ได้จัดงาน “ตานตอด” ของ ต.ดอกคำใต้ ขึ้น
คำว่า “ตาน” มาจากคำว่า ทาน หรือการให้ทาน ส่วนคำว่า “ตอด” หรือ “ต๊อด” เป็นภาษาถิ่นล้านนา หรือออกเสียงภาษากลางว่า ทอด คือการเอาของไปวางไว้ วางทอดไว้ ซึ่ง“ตานตอด” เป็นประเพณีที่งดงาม แสดงถึงความมีน้ำใจไมตรี ความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันในสังคมชนบท  ส่วนใหญ่จะทำกันในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังการเก็บเกี่ยว และผู้คนในชนบทจะมีเวลาว่างจากการทำไร่ไถนา 

การตานตอดนี้คนในชุมชนจะรวมตัวกัน เพื่อพิจารณาว่าคนในหมู่บ้าน หรือในชุมชนที่มีความขัดสน มีความยากไร้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง หรือไม่สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพได้  โดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ที่ไม่มี ลูกหลานคอยดูแล  หลังจากนั้นคนในชุมชนจะร่วมบริจาคทรัพย์ ข้าวของเครื่องใช้ เสื้อผ้า อาหาร ยารักษาโรคต่างๆ ตามแต่กำลังของแต่ละคนที่พอจะช่วยกันได้ เมื่อได้รับข้าวของเครื่องใช้แล้วก็กำหนดวันที่ จะทำการตานตอด  โดยจะเริ่มในเวลากลางคืนและเป็นเวลาที่ผู้คนเข้านอนกันแล้ว ชาวบ้านจะนัดชุมนุมกัน ที่วัดโดยไม่ให้ผู้จะรับการตานตอดรู้ล่วงหน้า เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วชาวบ้านก็จะช่วยกันนำสิ่งของเครื่องใช้ เหล่านั้น  ไปยังบ้านผู้ที่ชาวบ้านจะมอบให้ด้วยความสงบ

ทุกคนจะเดินตามกันไปอย่างเงียบๆ โดยมีผู้นำหมู่บ้านหรือผู้อาวุโสของชุมชนเป็นผู้นำขบวน  เมื่อไปถึงยังบ้านนั้นแล้วทุกคนจะนำข้าวของไปวางไว้ที่ หน้าบ้านอย่างเงียบๆ  จากนั้นทุกคนจะพากันไปแอบอยู่ตามพุ่มไม้บ้าง ตามแนวรั้วบ้านบ้างเพื่อไม่ให้เจ้าของบ้าน หรือผู้ที่รับทานเห็น  หลังจากนั้นก็จะทำการจุดประทัดแล้วโยนเข้าไปใต้ถุนบ้าน บ้าง  ก็เอาก้อนหินปาที่ข้างฝาบ้าน เพื่อให้ผู้เป็นเจ้าของบ้านนั้นตกใจตื่นเท่านั้นเอง ผู้เขียนเห็นแสงตะเกียงในบ้านผู้เฒ่าผู้แก่นั้นถูกจุดขึ้น  พร้อมกับเสียงตะโกนด่าของแม่เฒ่าคนหนึ่ง  และเปิดประตูบ้านออกมาดูพอเปิดประตูออกมาเท่านั้นเอง สิ่งที่เห็นคือข้าวของเครื่องใช้ และเครื่องดำรงชีพอีกมากมายกองอยู่

สิ้นสุดจากเสียงตะโกนด่าสิ่งที่พร่างพลู ออกมาคือรอยยิ้มของแม่เฒ่า กับน้ำตาแห่งความตื้นตันใจ  ผู้เขียนเองถึงแม้จะยังเล็กแต่ก็ยังจำความได้ดี  และมีน้ำตาซึมออกมาเช่นเดียวกับแม่เฒ่านั้น  เมื่อเหลือบไปมองคนรอบๆ ข้าง ความรู้สึกของทุกคนที่อยู่ที่นั่น ขณะนั้นก็ไม่ต่างไปจากผู้เขียนเท่าใดนัก  เสียงตะโกนด่าจากแม่เฒ่าเปลี่ยนเป็นคำว่า “สาตุ๊” ภาษากลางออกเสียงว่า “สาธุ”  พร้อมกับให้พรเป็นภาษาเหนือ  เมื่อพรของแม่เฒ่าจบลง ก็มีเสียงดังกระหึ่มออกมาท่ามกลางความมืดพร้อมๆ กันว่า สาตุ๊  สาตุ๊  สาตุ๊ 

คำว่า “ตาน” หรือ “ทาน” นี้หมายถึงการให้หรือการสละข้าวของอันเป็นของตน เพื่อเผื่อแผ่และเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ การให้ทานนั้นถือเป็นพื้นฐานของมวลมนุษยชาติ  โดยเฉพาะพุทธศาสนิกชน  เรารู้จักการให้ทานมาตั้งแต่เกิดโดยที่เราไม่รู้ตัว  เมื่อยามเยาว์เราได้รับการอบรมสั่งสอนให้รู้จักแบ่งปันอาหารและข้าวของต่างๆ ให้เพื่อนที่โรงเรียน  นั่นก็คือ การให้ทาน ครู-อาจารย์ ที่ให้การอบรมสั่งสอนลูกศิษย์   พระสงฆ์องค์เจ้าที่คอยเทศนาธรรมโปรดบุคคลทั่วไป ก็ถือเป็นการให้ทาน  ทานที่ว่าก็คือวิทยาทานหรือความรู้ต่างๆ  พ่อแม่ดูแลลูกให้เสื้อผ้าอาหาร บุตรเลี้ยงดูบุพการี เหล่านี้ก็คือการให้ทานทั้งสิ้น  ดังนั้นคำว่า “ตาน” หรือ “ทาน”.

ร่วมแสดงความคิดเห็น