ยกระดับแรงงานไทย ก้าวสู่ประเทศไทย 4.0

อธิบดีกรมพัฒนาผีมือแรงงานขึ้นเหนือ ตรวจเยี่ยมการดำเนินโครงการอบรมการส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพแรงงานไทย ในสถานประกอบกิจการ มุ่งส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานในภาคอุตสาหกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ “ประเทศไทย 4.0”

เมื่อวันที่ผ่านมา นายธีรพล ขุนเมือง อธิบดีกรมพัฒนาผีมือแรงงาน (กพร.) เข้าตรวจเยี่ยมการดำเนินโครงการอบรมการส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพแรงงานไทย ในสถานประกอบกิจการ ณ บริษัท เอ็กซา ชีแลม จำกัด ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานในภาคอุตสาหกรรม เตรียมความพร้อมให้แก่แรงงาน โดยมี นาย อภิชัย เกียรติชัยกุล รองกรรมการผู้จัดการให้การต้อนรับ นางสาวรุจน์จิณี สุภวีรีย์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ กล่าวรายงานโครงการฯ ณ บริษัท เอ็กซาซิแลม จำกัด ต.สันพระเนตร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

นายธีรพล ขุนเมือง อธิบดีกรมพัฒนาผีมือแรงงาน (กพร.) เผยว่าโครงการอบรมการส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพแรงงานไทย ในสถานประกอบกิจการ ณ บริษัท เอ็กซา ชีแลม จำกัด ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานในภาคอุตสาหกรรม เตรียมความพร้อมให้แก่แรงงาน ในการก้าวยุคไทยแลนด์ 4.0“เอ็กซา ซีแลม” มีซื่อเสียงเป็นที่รู้จักในฐานะ”เจ้าพ่อโคลนนิ่งฟันปลอม” จากฝีมือชาวเชียงใหม่ ส่งออกทั่วโลก บริษัทฯประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตฟันปลอม และงานทันตกรรมจัดฟันชูความต่างด้วยความประณีต จากงานฝีมืออันเลื่องชื่อด้านงานพัฒนาทันตกรรมของชาวเชียงใหม่ ซึ่งเอ็กซา ซีแลม” ได้เข้าร่วมโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 กับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานเทคโนโลยีชั้นสูง ภาคเหนือตอนบน 1 เชียงใหม่ (สถาบันพัฒนาผีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่) เพื่อพัฒนาทักษะและยกระดับความรู้ของแรงงาน เพื่อให้ได้มาตรฐานฝีมือแรงงาน โดยเน้นความรู้ SIEM Workforce มุ่งเน้นการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประเทศ ไทย 4.0 และมีความประสงค์จะขอรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน ของผู้ประกอบอาชีพตาม มาตรา 26 “สาขาทันตกรรม”

นายธีรพล กล่าวต่อว่า ซึ่งในการจัด ทำมาตรฐานฯ นี้ จะเป็นประโยชน์ที่สถานประกอบกิจการ จะได้นำมาใช้คัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทักษะฝีมือและทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน วางแผนการพัฒนา เลื่อนตำแหน่งงาน กำหนดเงินเดือนที่เป็นธรรมต่อทุกคน ช่วยลดปัญหาความขัดแย้ง อีกทั้งเป็นการเพิ่มคุณภาพ ผลผลิตของสินค้า และการบริการ สร้างความเชื่อมั่นนั้นให้กับผู้บริโภค และที่สำคัญพนักงานเองก็จะได้ทราบระดับทักษะฝีมือ และข้อบกพร่องของตนเอง และรับค่าจ้างค่าตอบแทนที่เป็นธรรมอีกด้วย

ด้านนางสาวรุจน์จิณี สุภวีรีย์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรรงาน 19 เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ตามโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ ได้จัดสรรดำเนินงานตามโครงการ 3 แห่ง ประกอบด้วย 1.บริษัท อี.พี.เดคคอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 2.บริษัท ซี.พี.ดี.ชีทบอร์ด จำกัด และ 3.บริษัท เอ็กซา ซีแลม จำกัด โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาศักยภาพแรงงานด้าน STEM Workforce ไม่น้อยกว่า 250 คน ซึ่งกำหนดกรอบระยะเวลาแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2560

ร่วมแสดงความคิดเห็น