นานาสาระน่ารู้…อาการวัยทอง

อาการวัยทองมักเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป อาการที่เกิดขึ้นกับสภาพร่างกายนี้จะมีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน อีกทั้งแต่ละคนจะมีอาการที่เผชิญไม่เหมือนกัน หากอย่างไรก็ตามแล้ว คุณสามารถตรวจสอบหรือพิจารณาว่าตนเองเข้าสู่ภาวะวัยทองแล้วหรือไม่ โดยพิจารณาได้จากอาการดังต่อไปนี้

ร้อนวูบวามตามร่างกาย เป็นอาการแรกเริ่มสำหรับผู้หญิงวัยทองทั่วไป ส่วนมากจะเกิดขึ้นเพียงแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ภายใน 1-5 นาทีเท่านั้นแล้วจะหายไปเอง แต่ก็ก่อให้เกิด ความหงุดหงิดน่ารำคาญไม่น้อยเช่นกันปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะ เกิดการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ ทางเดินปัสสาวะมีปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับสตรีที่หมดประจำเดือนไปแล้ว นอกจากนี้ ยังพบการอักเสบภายในช่องคลอดอีกด้วย

ปัญหาด้านการมีเพศสัมพันธ์ จะรู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์เนื่องจากนํ้าหล่อเลี้ยงลดน้อยลงหรือช่องคลอดแห้งและบอบบางลงนั่นเอง อีกทั้งยังประสบปัญหาการตอบสนองและความต้องการทางเพศที่เสื่อมประสิทธิภาพตํ่าลงด้วยไปด้วย อารมณ์แปรปรวน มีปัญหาทางด้านสภาวะอารมณ์ที่มักหงุดหงิดและแปรปรวนง่าย ประสิทธิภาพของการควบคุมอารมณ์เป็นไปไม่ดีและจะมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตตามมาได้

ประจำเดือนมาผิดปกติ จะพบว่าประจำเดือนเริ่มมาผิดปกติ บางครั้งอาจจะมีมามากหรือน้อยแตกต่างกันไปและพบได้ในช่วงที่ใกล้จะหมดประจำเดือน

ระบบความจำเสื่อมประสิทธิภาพ ระบบการทำงานของสมองเสื่อมลง ทำให้ความจำเสื่อมง่าย มีอาการหลงๆ ลืมๆ เป็นประจำ และยังเกิดอาการความจำสั้นได้ด้วย

เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงตามมา ผู้ที่เข้าสู่วัยทองเป็นช่วงวัยที่มีโอกาสในการเกิดโรคต่างๆ ตามมาหลายโรค ซึ่งล้วนโรคร้ายแรงด้วยกันทั้งนั้น เช่น โรคหัวใจ กระดูกพรุน หลอดเลือด อัลไซเมอร์และโรคมะเร็งเต้านม เป็นต้น

สำหรับการรักษานั้น เนื่องจากในปัจจุบันมีสารที่ได้จากธรรมชาติหลายชนิดที่พิจารณาให้นำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการในวัยทองได้ โดยเป็นสารสกัดที่ได้จากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นสารสำคัญในกลุ่ม Isoflavones มีประสิทธิภาพเพื่อการบรรเทาอาการวัยทองได้หลายอาการ นอกจากนี้ ยังมีผลต่อการช่วยป้องกันโรคหัวใจ เสริมสร้างหลอดเลือดและบำรุงกระดูกให้แข็งแรง อีกทั้งยังมีผลช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลในกระแสเลือดได้ด้วย อย่างไรก็ตาม การจะนำสารดังกล่าวมาใช้บรรเทาอาการนั้น ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

วิธีรับมือเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการวัยทอง
– หลีกเลี่ยงจากสถานที่ที่มีอากาศร้อน โดยให้ไปอยู่ในที่ที่มีอากาศเย็นถ่ายเทสบายเพื่อให้เกิดความสดชื่น
– ห้องนอน ควรเป็นห้องนอนที่อากาศเย็น ไม่ร้อนอบอ้าวหรือควรปรับอุณหภูมิอากาศให้เย็นสบายขณะนอน
– เมื่อรู้สึกร้อน แนะนำให้ดื่มนํ้าเย็นจะช่วยให้รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลายได้
– การรับประทานอาหาร ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารรสเผ็ดร้อน เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้รู้สึกร้อนและหงุดหงิดง่ายขึ้น
– หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มสุราและไม่ควรสูบบุหรี่
– พยายามทำใจให้สบาย ผ่อนคลาย ไม่เครียด และถ้าหากเกิดความเครียด ควรทำใจปล่อยวาง หายใจเข้า-ออกยาวๆ ลึกๆ ช้าๆ
– หากรู้สึกหนาวให้สวมเสื้อผ้าหนาๆ เพื่อสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกายหลายชั้น แต่หากร้อนก็ถอดออกทีละชิ้นจนรู้สึกสบายตัว
– ผู้ป่วยบางท่านแพทย์จะแนะนำให้ทานวิตามินอีซึ่งจะช่วยลดอาการดังกล่าวได้ร้อยละ 40 clonidine และยาช่วยลดอาการซึมเศร้าในกลุ่ม SSRI เช่น Prozac Zoloft รวมถึงอาหารประเภทถั่วเหลืองเพราะสามารถช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบตามตัวได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น