เที่ยวผ่านเลนส์…ล่องเรือแม่น้ำกก เรียนร้วิถีวัฒนธรรมไทลื้อแม่อาย โฮมสเตย์วังไผ่

สายน้ำกกไหลอ้อยอิง ผ่านโตรกหินผา ชุมชนเล็กๆ ที่ตั้งบ้านเรือนริมน้ำ ที่ยังคงเรื่องราวและวิถีวัฒนธรรมสั่งสมสืบทอดกันมา ให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสเรียนรู้ชุมชน โฮมสเตย์ไทลือบ้านวังไผ่

ชาวไทลื้อ ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่แคว้นสิบสองปันนา ทางตอนใต้ของประเทศจีน มีเมืองเชียงรุ่งเป็นเมืองหลวง ส่วนการอพยพครั้งสำคัญของชาวไทลื้อสู่ล้านนาเป็นการกวาดต้อนผู้คนจากสิบสองปันนา เมืองเชียงตุง เมืองยอง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 เพื่อช่วยฟื้นฟูบ้านเมืองในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง หรือ เรียกว่ายุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง”

บ้านไทลื้อบ้านวังไผ่ หมู่ที่ 8 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้อพยพมาจากดินแดนสิบสองปันนา ทางตอนใต้ของประเทศจีน โดยมีนายแสงเปาเจริญพร เข้ามาอาศัยอยู่พร้อมเครือญาติเป็นกลุ่มแรกเมื่อปี พ.ศ.2520 เริ่มแรกมีจำนวนครัวเรือนอยู่เพียง 4 ครัวเรือน

คำว่า วังไผ่ มาจากภาษาไทลื้อแม่น้ำกกที่ไหลผ่านหมู่บ้าน ไผ่  คือ ต้นไผ่ที่ล้อมรอบหมู่บ้าน สภาพแวดล้อมเต็มไปด้วยป่าไผ่ และแม่น้ำไหลผ่าน พอหลังจากนั้นได้มีผู้อพยพเข้ามามากขึ้นจึ่งได้ก่อตั้งหมู่บ้านขึ้น ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านวังไผ่” เมื่อปี พ.ศ.2527 โดยมี นายแสงเปา เจริญพร เป็นผู้นำชุมชนคนแรก

การเดินทางสู่บ้านวังไผ่ ร่วมย้อนอดีตการเดินทางโดยแต่ก่อนชุมชน ด้วยล่องเรือ จากท่าตอนไปตามสายน้ำกกสู่หมู่บ้าน  ตลอดสองฝากฝั่งจะได้สัมผัสธรรมชาติ เรือแล่นผ่านโตรกหินผาเกาะแก่งในสายน้ำระยะทางกว่า 15 กิโลเมตร ใช้เวลา 4 ชั่วโมง จะใช้เวลาช้านานนั้นขึ้นอยู่กับฤดูกาลของกระแสน้ำอีกด้วย เรือนำนักท่องเที่ยวเทียบท่าเข้าสู่หมู่บ้านท่าวังไผ่ คนเฒ่าคนแก่ของหมู่บ้านต้อนรับด้วยการผูกข้อมือให้ศีลให้พร เข้าบ้านพักโฮมสเตย์ในแต่ละหลัง

เส้นทางท่องเที่ยววิถีภูมิปัญญาของชุมชนไทลื้อ มาเรียนรู้กรรมวิธีการทำบุกของ นายดี วงศ์ใหญ่ มานานกว่า 10 ปี บุก ในภาษาอังกฤษ Konjac ชื่อวิทยาศาสตร์ Amorphallus spp.จัดเป็นไม้ล้มลุก มีสรรพคุณมากมายเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ช่วยแก้ไอ ละลายเสมหะและสำหับผู้ที่ลดความอ้วน ในกระบวนการแปรรูปบุกนั้นโดยเริ่ม ต้นที่ปอกเปลือกผลบุกล้างทำความสะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นๆนำลงต้มในกะทะต้องคอยพลิกกลับให้ทั่วบุกจนนั้นเปลือยแล้วทิ้งไว้จนบุกจับตัวเป็นก้อนนำแปรรูปต่อในประเภทต่างๆ อาทิ บุกผง  บุกก้อน และบุกเส้น โดยนำไปทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู อาทิ ยำบุก

มาชมงานหัตถกรรมทอผ้าซึ่งเป็นอันเป็นอัตลักษณ์ของชาวไทลื้อ ของ นางอุ๊ สามนวล ที่กำลังทอผ้ามุมระเบียงบ้านที่ได้เรียนรู้สืบทอดมาจากแม่เมื่อครั้งวัย 14-15 อันเป็นภูมิปัญญาที่ได้รับสั่งสมมาตั้งแต่ไทลื้อในดินแดนสิบสองปันนา ประเทศจีน  ในผืนผ้าแต่ละผืนยังประกอบไปด้วยลวดลายมากมายด้วยเทคนิค การทอ ขิด จก เกาะหรือล้วง  อย่างลายน้ำไหล ลายดอกไม้ ลายหงษ์ โดยมีสีหลัก 3 สี สีแดง สีเขียวและสีดำ สักครู่ก็นำผลงานผ้าทอผ้าซิ่นผืนสวยๆนำมาให้ชม แต่ละช่างงดงามเสียจริงๆ

เดินขึ้นเนินสูผงมาอีกนิดชม บ้านไทลื้อ บ้านของนางก๋องแสง วงศ์ใหญ่ เป็นบ้านชั้นเดียว ที่สร้างจากวัสดุไม้ไผ่ หลังคามุ้งด้วยหญ้าคายกใต้ถุนสูงใช้สำหรับเก็บสิ่งเครื่องใช้ไม้ส้อยต่างๆ นานา

ไพรคา การทำหญ้าคาสำหรับมุ้งหลังคาแม่หน่อ ขันคำ โดยเริ่มที่ต้องออกไปตัดหญ้าคามาจากในป่า โดยในเวลามัดที่ต้องคอยใช้น้ำพรมเพื่อหญ้านิ่มอ่อนตัวไม่หักง่ายในเวลาผูกมัดเป็นกำ ในราคาตับละ 7 บาท ในการมุ้งหลังคาบ้านใช้ได้นานประมาณ 3-4 ปี

ในยามค่ำคืนอากาศหนาวเย็นร่วมชมการแสดงทางวัฒนธรรม ชมการขับกล่อมบรรเลงด้วยบทเพลงพื้นเมือง การขับร้องซอขับขานบทเพลงพื้นบ้านอันไพเราะ การฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบ และนักท่องเที่ยวได้ร่วมสนุกสนานกับการรำวงที่สร้างความประทับใจในวัฒนธรรมการละเล่น

รอยยิ้มแย้ม การต้นรับด้วยมิตรไมตรี ความประทับใจในวิถี และวัฒนธรรมไทยลื้อบ้านวังไผ่ที่อยากเชิญชวนคุณผู้อ่านได้มาสัมผัส

โฮมสเตบ้านวังไผ่ ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ โทร.087-7066575 089-31807718 094-4938069

เรื่อง และ ภาพ : มั่นมาก

ร่วมแสดงความคิดเห็น