มช.เดินหน้ายุทธศาสตร์เชิงรุก ผุดแนวคิดเมืองอัจฉริยะ-พลังงานสะอาด

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผ่านการคัดเลือกในการประกวด โครงการพัฒนาผังแม่บทระดับประเทศ ตามเกณฑ์ ตัวชี้วัดสถาบันอาคารเขียว และสำนักงานนโยบายและแผน กระทรวงพลังงาน รอบที่ 1 และรอบที่ 2 เข้าสู่รอบ ที่ 3 (รอบสุดท้าย) เพื่อคัดเลือกเหลือ 7 ทีม เพื่อเป็นองค์กรต้นแบบ และรับรางวัล 10,000,000 ล้านบาท สนับสนุนการพัฒนาแผนต่อเนื่อง

ดร.เอกชัย มหาเอก รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกายภาพสิ่งแวดล้อมการออกแบบ และภูมิสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และรองประธานคณะทำงานโครงการ CMU: Smart City- Clean Energy ได้ให้ข้อมูลโครงการดังกล่าวว่า ในช่วง 4 ปี ของแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยคณะผู้บริหาร ที่รับผิดชอบดำเนินการพัฒนาด้านกายภาพ และสิ่งแวดล้อมด้วยยุทธศาสตร์ " Sustainable Green and Clean " อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งผลของการดำเนินการ เริ่มเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น ในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา โดยในปี 2559 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ระดมทีมและมันสมองของนักคิด นักปฏิบัติจากส่วนงานต่างๆ เป็น Team CMU เพื่อปรับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากายภาพ และสิ่งแวดล้อมเข้าสู่แผนที่ 12 (พ.ศ.2560-2564)

ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายความเป็นเลิศตามยุทธศาสตร์เชิงรุก 3 ด้านหลัก คือ สภาพแวดล้อมและพลังงาน, อาหารและสุขภาพ, นวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์ (Environment & Energy, Food & Health, Creative & Innovative Lanna)ผสมผสานแนวคิดและเทคโนโลยี ของความเป็นมหาวิทยาลัยดิจิตอล (Digital University)

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินการระดมสมองของทีมพัฒนาแผนแม่บท ผังแม่บทและปรับแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ให้เป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมาย ระยะเวลาการนำปฏิบัติซึ่งวางเป้าหมาย และดำเนินการอย่างชัดเจน และได้เสนอแผนเข้าแข่งขัน เพื่อรับการสนับสนุนจากสถาบันอาคารเขียวแห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมนโยบายและแผน กระทรวงพลังงาน

ด้านงบประมาณการจัดทำแผน และการเชิดชูเกียรติเป็นองค์กรตัวอย่างภายใต้ชื่อโครงการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: (เมือง) มหาวิทยาลัยอัจฉริยะพลังงานสะอาด (CMU: Smart City-Clean Energy) ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่เข้มข้น 8 ด้าน ประกอบด้วย พลังงานอัจฉริยะ การสัญจรอัจฉริยะ ชุมชนอัจฉริยะ สภาพแวดล้อมอัจฉริยะ เศรษฐกิจอัจฉริยะ อาคารอัจฉริยะการบริหารจัดการอัจฉริยะ และนวัตกรรมอัจฉริยะ (Smart Energy, Smart Mobility, Smart Community, Smart Environment, Smart Economy, Smart Building , Smart Governance ,Smart Innovation)

การจัดทำผังแม่บทดังกล่าว นอกจากจะใช้ในการประกวดแล้ว ยังเป็นโครงการที่สนับสนุนแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 12 ของยุทธศาสตร์เชิงรุกด้านนวัตกรรมสิ่งแวดล้อม และพลังงานที่มุ่งเน้นการเป็นผู้นำด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีแนวคิดหลัก คือ การลดการปลดปล่อยล่องลอยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ รักษาสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืน ใช้การบริหารจัดการแบบอัจฉริยะ และที่สำคัญต้องคำนึงถึงชุมชนเมืองมหาวิทยาลัยและชุมชนรอบข้างด้วย

สำหรับความคืบหน้าของการประกวด โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะโครงการ CMU: Smart City-Clean Energy กำลังเข้าสู่การคัดเลือกในรอบที่ 3 ซึ่งเป็นการตัดสินรอบสุดท้าย เพื่อเฟ้นหา 7 โครงการต้นแบบใหม่แห่งเมืองอัจฉริยะให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย โดยมีกติกาที่เข้มข้นและตัดสินด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิระดับนานาชาติกว่า 20 ท่าน โดยมีกระบวนการคัดเลือกและนำเสนอ 3 รอบ
– รอบที่ 1 เมื่อเดือนมกราคม 2560
ทีมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 36 ทีม ให้เข้านำเสนอ ผลงานOral Presentation
-รอบที่ 2 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2560
ทีมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการคัดเลือก เป็น 1 ใน 16 ทีม ได้รับประกาศนียบัตร และงบประมาณ 500,000 บาท สนับสนุนการดำเนินการจัดทำแผนแม่บทขั้นพัฒนา
– รอบที่ 3 มีกำหนดการส่งงาน ประมาณปลายเดือนมีนาคม 2560
จะเป็นการคัดเลือกให้เหลือ 7 โครงการ เพื่อลุ้นเป็นองค์กรต้นแบบของ Smart City-Clean Energy และจะได้รับงบประมาณ 10,000,000 บาท เพื่อพัฒนาแผนต่อเนื่อง

ดร.เอกชัย มหาเอก ได้ฝากข้อคิดทิ้งท้ายไว้ว่า สิ่งสำคัญเหนือรางวัล คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะมีแผนแม่บทและผังแม่บทที่ตอบโจทย์ตามยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฉบับที่ 12 อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อรองรับความเป็นสังคมอุดมปัญญา มีความสุข และยั่งยืนให้กับชุมชนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อย่างมีประสิทธิภาพ

ร่วมแสดงความคิดเห็น