เศรษฐกิจพอเพียง ตามรอยพ่อ โรงเรียนบ้านนาแหลม จ.แพร่

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวทางพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ที่พระราชทานมานานกว่า 70 ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาขั้นพื้นฐานที่ตั้งอยู่บนทางสายกลาง และความไม่ประมาทซึ่งคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนการใช้ความรู้และคุณธรรมเพื่อเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต ซึ่งต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” เป็นที่ตั้งซึ่งจะนำไปสู่ความสุขในชีวิตที่แท้จริง

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่ และการปฏิบัติของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีภูมิคุ้มกันในตัวเอง ที่มีต่อผลกระทบใดๆ อันเกิดการการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในซึ่งจะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง ในการดำเนินวิชาต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันยังต้องเสริมสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจของคนในชาติ ทุกระดับ ให้มีจิตสำนึกในคุณธรรม ความชื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอก

จากแนวทางดังกล่าว กลุ่มนักศึกษาสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ร่วมกับนักเรียนโรงเรียนบ้านนาแหลม ประชาชนและเยาวชน ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จึงได้จัดทำโครงการพลเมืองสานฝันแบ่งปันโอกาส ตามรอยพระยุคลบาทอย่างพอเพียง ขึ้นโดยยืดถือพระองค์ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติงาน โดยได้พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตร ณ โรงเรียนบ้านนาแหลม นำทฤษฎีการเกษตรมาปรับใช้ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนและประชาชนในพื้นที่ให้มีความรู้ ความเข้าใจในวิถีชีวิตที่ดี มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนทางการเกษตรของนักเรียนและคนในชุมชน เพื่อเป็นการบบริการแก่สังคมและเกิดความตระหนักและจิตสำนึกในอัตลักษณ์ของนักศึกษา สาขาการปกครองท้องถิ่น สำนักวิชาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เพื่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือของชุมชน เยาวชน และนักศึกษา เพื่อเป็นแบบอย่างในการทำความดี และบำเพ็ญประโยชน์ให้กับสังคม

โดยการดำเนินการ กลุ่มนักศึกษาได้ปรับปรุงแปลงเกษตร จำนวน 5 แปลง ดัดแปลงเรือนเพาะชำเก่า ให้เป็นบ่อสาธิตการเลี้ยงกบบ่อหมักปุ๋ยจากขยะอินทรีย์ บ่อสาธิตการเพาะเลี้ยงปลาดุก จำนวน 3 บ่อสาธิตการทำน้ำหมักอินทรีย์ชีวภาพเพื่อใช้ในการเกษตร เมื่อผลผลิตนี้เจริญเติบโตนักเรียนโรงเรียนบ้านนาแหลม ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีวัตถุดิบสำหรับทำอาหารกลางวัน นักเรียนและคนในชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรเพื่อนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันนักเรียนและชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของความพอเพียงระยะเวลาดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 21 มกราคม ถึง 28 เมษายน 2560

โรงเรียนบ้านนาแหลม ขอขอบคุณนักศึกษาที่เข้าไปดำเนินการเพื่อน้องๆ ซึ่งมี นายอานนท์ หีบคำ นายกองค์การบริหารนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นักศึกษาสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น สำนักวิชาบริหารรัฐกิจ นายศักดิ์นรินทร์ ภู่จันทร์ เทคโนโลยีประชาสัมพันธ์สโมสรนักศึกษาสำนักวิชาบริหารรัฐกิจ นักศึกษาสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น สำนักวิชาบริหารรัฐกิจนายวิทยา อินทาโย สันทนาการสโมสรนักศึกษาสำนักวิชาบริหารรัฐกิจ นักศึกษาสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น สำนักวิชาบริหารรัฐกิจ นายสิทธิพงษ์ นายกุม นักศึกษาสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น สำนักวิชาบริหารรัฐกิจนายณัฐนานนท์ ปูชัย นักศึกษาสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น สำนักวิชาบริหารรัฐกิจนายกฤษณพงศ์ เพชราช นักศึกษาสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น สำนักวิชาบริหารรัฐกิจ นายสุริยัน ขันแก้ว นักศึกษาสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น สำนักวิชาบริหารรัฐกิจนายธีระพัฒน์ คำมา นักศึกษาสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น สำนักวิชาบริหารรัฐกิจ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน

กิจกรรมที่กลุ่มนักศึกษา สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น สำนักวิชาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ได้ไปให้ความรู้ ด้านเกษตรพอเพียงครั้งนี้ นับว่าเป็นประโยชน์สำหรับเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านนาแหลมอย่างมากมาย ซึ่งน้องๆ นักเรียนก็พร้อมจะสานต่อโครงการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

สมฤทธิ์ ชัยพลังฤทธิ์ / รายงาน

ร่วมแสดงความคิดเห็น