ขนส่งเชียงใหม่ จัดสัมมนาทดสอบความสนใจของเอกชน การร่วมลงทุน โครงการสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค

กรมการขนส่งทางบก โดยขนส่ง จ.เชียงใหม่ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดประชุมสัมมนา การทดสอบความสนใจของภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการจ้างศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โครงการสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาคตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 โดยมีนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ รอง ผวจ.เชียงใหม่ เป็นประธานพิธีเปิด นายประวิทย์ ตั้งตรัสธรรม ผู้ตรวจราชการกรมการขนส่งทางบก นำขนส่ง จ.เชียงใหม่ ขนส่ง จ.ลำพูน ขนส่ง จ.ลำปาง ขนส่ง จ. ตาก ให้การต้อนรับ เมื่อวันอังคารที่ 9 พ.ค.2560 ณ ห้องลีลาวดี โรงแรมฟูราม่า เชียงใหม่นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ รอง ผวจ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณ กรมการขนส่งทางบก ที่เล็งเห็นถึงศักยภาพของจังหวัดในภาคเหนือ ไม่ว่าจะเป็น เชียงใหม่ เชียงราย ตาก พิษณุโลก และนครสวรรค์ จนนำมาสู่การจัดทำแผนการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าในจังหวัดของเรา นอกจากนี้ ยังได้เล็งเห็นถึงโอกาสของภาคเอกชนในท้องถิ่น ในการมีส่วนร่วมลงทุนในโครงการสำคัญของภาครัฐเช่นนี้ เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าในภาคเหนือ เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อจังหวัด และสามารถนำไปสู่การดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

การสัมมนาครั้งนี้จึงถือเป็นโอกาสอันดี ที่ผู้เข้าร่วมสัมมนา จะได้ให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อ กรมการขนส่งทางบก ในการนำไปประกอบการวางแผน และขับเคลื่อนโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าต่อไป ขอให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน ได้ให้ความเห็นในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประ เด็นเรื่อง โอกาส ความเป็นไปได้ และความสนใจในการร่วมลงทุน ในโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าร่วมกับกรมการขนส่งทางบก ตลอดจนสะท้อนข้อเท็จจริงเชิงพื้นที่ ให้กับคณะผู้ศึกษาได้รับทราบ เพื่อนำไปประกอบการศึกษา และนำไปสู่การกำหนดแนวทางการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้า ที่สามารถปฏิบัติได้จริงต่อไป

นายประวิทย์ ตั้งตรัสธรรม ผู้ตรวจราชการกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า กรมการขนส่งทางบกได้ดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม ในการเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งของประเทศ และนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจัดเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล โดยกรมการขนส่งทางบกได้เตรียมการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้า เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงโครงข่ายการขนส่งสินค้า และศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าทางถนน มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับกิจกรรมการขนส่ง รวมถึงบริการต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันกรมการขนส่งทางบก มีสถานีขนส่งสินค้าอยู่แล้ว 3 แห่ง ในเขต กทม.และปริมณฑล ทำหน้าที่หลักเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า ในเขต กทม.และปริมณฑล แต่ยังไม่มีสถานีขนส่งสินค้าเพื่อเป็นศูนย์เชื่อมต่อเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่ง และเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและกระจายสินค้าในส่วนภูมิภาค ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 25 58 กรมการขนส่งทางบกได้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ และรูปแบบบริหารจัดการสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค 17 แห่ง ทั่วประเทศ ในเมืองหลักและจังหวัดชายแดน

ได้แก่ จ.เชียงราย เชียงใหม่ ตาก พิษณุโลก นครสวรรค์ หนองคาย มุกดาหาร อุบลราชธานี ขอนแก่น นครราชสีมาปราจีนบุรี สระแก้ว ตราด กาญจนบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา และ นราธิวาส ทั้งนี้ ผลการศึกษาความเป็นไปได้ ระบุว่าการพัฒนาโครงการสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค ควรเป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐ-ภาคเอกชน โดยรัฐเป็นผู้เวนคืนที่ดิน ลงทุนสิ่งก่อสร้างภายในสถานีฯ และให้ภาคเอกชนเป็นผู้ได้รับสัมปทาน และบริหารจัดการสถานีฯ โดยดำเนินการตามมาตรา 25 พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556

กรมการขนส่งทางบก จึงจัดให้มีการประชุมสัมมนาการทดสอบความสนใจของภาคเอกชน (Market Sounding) ครั้งที่ 1 โครงการจ้างศึกษาและวิเคราะห์ การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โครงการสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค ที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อรับฟังข้อมูลและเสนอแนะข้อคิดเห็น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการให้ประสบความสาเร็จ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงดำเนินการรวบรวมข้อมูล จ้างศึกษา และวิเคราะห์ เพื่อจัดตั้งสถานีขนส่งสินค้าที่จะมีขึ้นอย่างแน่นอน โดยเน้นรูปแบบคล้ายคลึงกับการขนส่งผู้โดยสาร โดยกรมการขนส่งทางบก มีแผนที่จะดำเนินการก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้าในเมืองภูมิภาคทั้ง 17 แห่ง (ในส่วนของการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและก่อสร้าง) ให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.2566 ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการขนส่งทางบกของประเทศไทยในอนาคตได้เป็นอย่างดีนายชาญชัย กีฬาแปง ขนส่ง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค มีจุดเริ่มต้นมาจากแนว คิดในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าทางถนนภายในประเทศ โดยอาศัยหลักการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ระหว่าง ผู้ประกอบการขนส่งหลายราย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ลานจอดรถ คลังสินค้า และอาคารกระ จายสินค้า รวมถึงการรวบรวมสินค้าที่มีจุดหมายปลายทางเดียวกัน ช่วยให้ผู้ประกอบการขนส่งสามารถเพิ่มขนาดรถบรรทุกที่ใช้ในการขนส่งทางไกล และลดการขนส่งที่ไม่เต็มเที่ยว นำไปสู่ การลดต้นทุนการขนส่ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนนของไทย สอดคล้องกับ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12” และ “กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” ของรัฐบาล

จากการศึกษาในปี 2558 กรมการขนส่งทางบกได้คัดเลือกและกำหนดจังหวัด เพื่อเป็นที่ตั้งของสถานีขนส่งสินค้าทั้งสิ้น 17 จังหวัด ซึ่งประกอบด้วย “8 หัวเมืองขนาดใหญ่”ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ขอนแก่น นครราช สีมา อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สุราษฎร์ธานี และ “9 เมืองชายแดนที่สำคัญ”ได้แก่ เชียงราย ตาก หนองคาย มุกดา หาร สระแก้ว ตราด กาญจนบุรี สงขลา นราธิวาส โดยในภาคเหนือ ได้แก่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก ตาก และนครสวรรค์

นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบว่า สถานีขนส่งสินค้า เป็นหนึ่งในรูปแบบของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ที่มีความเหมาะสมใน “การให้เอกชนร่วมลงทุนกับรัฐ” เช่น ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งการลงทุนและบริหารกิจการของสถานีขนส่งสินค้า จะเป็นรูปแบบรัฐวิสาหกิจ หรือการให้เอกชนร่วมลงทุนภายใต้กรอบนโยบายการพัฒนาของรัฐทั้งสิ้น ในปี 2560 นี้ กรมการขนส่งทางบก ได้มอบหมายให้ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง เป็นผู้ศึกษาความเหมาะสมในการให้เอกชนร่วมลงทุน ในโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค ตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โดยในการศึกษาครั้งนี้ หนึ่งในกิจกรรมที่สำคัญยิ่ง ได้แก่ การจัดสัมมนาเพื่อ “ทดสอบความสนใจของภาคเอกชน ในการร่วมลงทุนในโครงการ สถานีขนส่งสินค้าในเมืองภูมิภาค” เช่นในวันนี้ การสัมมนาวันนี้ เพื่อนำเสนอแนวคิดและความก้าวหน้าของโครงการ และรับฟังความคิดเห็น ขอเสนอแนะจากนักลงทุนและผู้ประกอบการขนส่ง นำไปวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเด็น โอกาส ความเป็นไปได้ และ ความสนใจของภาคเอกชน ในการร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าว โดยมี ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการขนส่งสินค้า ในภาคเหนือ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจาก จ.เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก เชียงราย พิษณุโลก นครสวรรค์ เข้าร่วมประชุมจำนวน 80 คน ผลการสัมมนาในวันนี้ จะนำไปประกอบการศึกษาและกำหนดแนวทางการลงทุนของสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค ที่มีความน่าสนใจ และสามารถปฏิบัติได้จริงต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น