ITSC มช.จัด ประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิง ปี 2560

สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัด การประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิง ปี 2560 การเรียนรู้แนวใหม่ กับ เครื่องมือการเรียนรู้ที่อาศัยสื่อสังคมเป็นฐาน ” 12 thNational e-Learning Seminar and Workshop 2017 InnovativeLearningwith Social Media – Based Learning Tools”วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2560 เวลา 08.30 น. – 16.00 น. ณ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รองศาสตราจารย์ ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ( ITSC) กล่าวว่า ปัจจุบันสื่อสังคม (โซเชียลมีเดีย)หรือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งร่วมสร้าง แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั้น ได้กลายเป็นช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมาก กอปรกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราได้ก้าวสู่ยุคที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วและความเสถียรในการใช้งานทำได้ไม่ยากนัก ทำให้สื่อสังคม(โซเชียลมีเดีย)นั้นได้รับความนิยมจนกลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตผู้คนจำนวนมาก

ในด้านของการศึกษาเรียนรู้นั้น ผู้เรียนยุคนี้ ถือเป็นเยาวชนที่เติบโตมาพร้อมกับความคุ้นชินในการใช้ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อสังคม จึงทำให้ผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษานั้น หันมาให้ความสนใจกับสื่อสังคม (Social Media)โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำ สื่อสังคม มาประยุกต์ใช้ในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในขณะนี้ได้เกิดความพยายามต่างๆ ขึ้นแล้ว

โดยเราจะเห็นผู้สอนหลายท่านได้นำสื่อสังคมมาใช้ในการพัฒนาการสอน เช่น การใช้ เฟสบุ๊ค ไลน์ ฯลฯ เพื่อการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การใช้ระบบบริหารจัดการเรียนรู้ที่อาศัยสื่อสังคมเป็นฐาน (Social Media LMS)เพื่อการบริหารจัดการการเรียนรู้ การใช้สื่อสังคมในรูปแอพลิเคชัน/โปรแกรมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างสรรค์เนื้อหาด้วยตนเอง (self-generatingcontent) และ การสร้างสื่ออินโฟกราฟิคเพื่อการเรียนรู้ (InfographicforLearning) เพื่อการนำเสนอบนสื่อสังคม เป็นต้น ซึ่งความพยายามเหล่านี้ ถือ เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่สำคัญและควรค่าแก่การทำความเข้าใจนอกจากนี้ กรอบแนวคิด/ทฤษฎี/หลักการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แนวใหม่ด้วยเครื่องมือการเรียนรู้ที่อาศัยสื่อสังคมเป็นฐาน (innovativelearningwith social-media basedlearningtools) นั้น ยังมีอยู่ค่อนข้างจำกัด วงการศึกษายังต้องการคำตอบอีกมาก เกี่ยวกับ วิธีการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการทางปัญญา (Cognitiveprocesses) เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยอาศัยสื่อสังคม รวมทั้งคำตอบเกี่ยวกับ ขั้นตอน/กระบวนการใด ที่ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ของตนผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ หรือ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยอาศัยสื่อสังคม (โซเชียลมีเดีย) อย่างมีประสิทธิภาพ

ITSC เล็งเห็นถึงความสำคัญดังที่กล่าวมาจึงได้ดำเนินการจัดการประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิงขึ้น (National e-Learning Seminar and Workshop ครั้งที่ 12 ภายใต้ชื่อว่า Innovative Learning with Social Media1-Based Learning Tools หรือการเรียนรู้แนวใหม่กับเครื่องมือการเรียนรู้ที่อาศัยสื่อสังคมเป็นฐานเพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ ด้านการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพโดยใช้เครื่องมือสื่อสังคมที่ประสบความสำเร็จ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศและในประเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้สอน บุคลากรทางการศึกษาที่สนใจ โดยคาดหวังว่าจะสามารถใช้เป็นแนวทางและนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง รวมทั้งจะเป็นการยกระดับการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อไป

ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริหาร ครู อาจารย์ นักเทคโนโลยีการศึกษา และนักออกแบบสื่อมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เครื่องมือสื่อสังคมรวมถึงแนวคิดและทักษะด้าน ICT ที่ครอบคลุมการเรียนรู้แนวใหม่ ทฤษฎี หลักการ กรอบแนวคิดและรูปแบบวิธีการสอนที่อาศัยสื่อสังคมเป็นฐาน เพื่อยกระดับและพัฒนาศักยภาพของตนเองต่อไปและ เพื่อให้ผู้บริหาร ครู อาจารย์ นักเทคโนโลยีการศึกษา และนักออกแบบสื่อได้ร่วมปฏิบัติจริงในการพัฒนาทักษะด้าน เครื่องมือสื่อสังคม และ InfoGraphicforLearningต่างๆ โดยสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับ ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย ผู้บริหาร คณาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีความสนใจด้านการใช้ IT /e-Learning ในการจัดการเรียนการสอน อาจารย์ ครูผู้สอน นักการศึกษาจากสถาบันการศึกษา/เขตพื้นที่ ในระดับโรงเรียน นักเทคโนโลยีทางการศึกษา/ นักออกแบบสื่อการสอน ประมาณ 250 คน ผู้ที่สนใจ สามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ http://itsc.cmu.ac.th/elearningday2017 ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2560 ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 053-943811

ร่วมแสดงความคิดเห็น