คุมเข้มนมโรงเรียน ล้างผูกขาด-นมเน่า

ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์สุวรรณ ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯมีนโยบายให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมเร่งดำเนินการพัฒนาการบริหารจัดการนมโรงเรียนทั้งระบบ ในภาคเรียนที่ 1/2560 เพื่อให้นักเรียนได้ดื่มนมมีคุณภาพ โปร่งใส เป็นธรรมกับผู้ประการ มีการพัฒนาหลักเกณฑ์แนวทางปฏิบัติ

0..ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์สุวรรณ ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)
โดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ฯ และมาตรการในการขับเคลื่อน 4 ด้าน ประกอบด้วย
ลำดับแรกคือการกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนม เกณฑ์ขั้นพื้นฐานสำหรับการขึ้นทะเบียนรับรองเป็นฟาร์มที่ได้มาตรฐานเกณฑ์การประเมิน อาทิเช่น โรงเรือนได้มาตรฐาน คุณภาพนมเบื้องต้นมีคุณภาพดี มีสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์ม ขณะนี้มีฟาร์มทั้งหมด 13,903 ฟาร์ม ที่ผ่านเกณฑ์แล้ว มี 4,065 ฟาร์ม คิดเป็น 29.24% และมีเป้าหมายการดำเนินงานครบถ้วน 100% ภายในภาคเรียนที่ 2/2560 โดยมอบกรมปศุสัตว์ตรวจติดตามและให้คำแนะนำการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ลำดับต่อมาคือ คุณภาพน้ำนมดิบ จะมีการเก็บตัวอย่างจากศูนย์รวมรวบน้ำนมทุกศูนย์ฯ เดือนละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งมีการให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกร และเพิ่มประสิทธิภาพทั้งระบบ และด้าน การขนส่งนมโรงเรียน ต้องควบคุมคุณภาพได้ จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า – รถขนส่งนมโรงเรียน รวม 922 คัน แยกเป็นรถห้องเย็นขนส่งนมพาสเจอร์ไรส์  675 คัน และรถบรรทุกนมยูเอชที247 คัน
และประการสำคัญคือการจัดเก็บผลิตภัณฑ์นมที่โรงเรียน ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดเก็บนมที่โรงเรียน ทั้งนมพาสเจอร์ไรส์ และ ยูเอชที. โดยให้โรงเรียนถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการตรวจรับนมโรงเรียน โดยสุ่มตรวจคุณภาพ พร้อมตัดชิมก่อนที่จะให้เด็กนักเรียนดื่ม

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะเป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์ในการรักษาคุณภาพนมพาสเจอร์ไรส์ เช่น ถังแช่/ตู้เย็น เทอร์โมมิเตอร์ ฯลฯสำหรับการติดตามทั้งการขนส่งและการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นมโรงเรียนในแต่ละจังหวัด จะใช้กลไกของรัฐ โดยในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ คณะกรรมการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนระดับจังหวัดและระดับอำเภอ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะกรรมการฯ
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จากการตรวจสอบโครงการนมโรงเรียนในพื้นที่เชียงใหม่และใกล้เคียงนั้นพบว่าในส่วนของจังหวัดต่างๆในภาคเหนือนั้น ทาง อสค.ได้มีเอกสารแจ้งไปยังผู้ว่าฯแต่ละจังหวัด ตามเอกสารด่วนที่สุด ที่กษ.1917/ว.2692 ลว8 พค.60 โโยจะมีรายละเอียดผู้ประกอบการผลิ ตภัณฑ์นมที่เข้าร่วมโครงการอาหารเสริม)(นม)โรงเรียนที่ไดเรับมอบหมาย จากองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ซึ่งในภาคเหนือนั้นจะมีบริษัทเชียงใหม่เฟรชมิลค์ 57/1/ ม.6 ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่,บริษัท .โกลค์มิลค์ 38หมู่1 ต.ชมพู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ สหกรณ์โคนมเชียงใหม่ 97 หมู่ 1 ต.ไชยสถาน อ.สารภี จ.เชียงใหม่ และอ.ส.ค. เชียงใหม่ 122 หมู่1 ตำบล ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เป็น ผู้ประกอบการที่มีสิทธิเข้าจำหน่ายในพื้นที่ตามที่ระบุแต่ละเขตการศึกษา

ร่วมแสดงความคิดเห็น