เดินหน้าปั้นกลุ่มสตาร์ทอัพ หวังสร้างมูลค่าเพิ่มทาง ศก.

Startup Thailand 2017 เดินหน้าต่อขึ้นภาคเหนือมุ่งล้านนา ส่งท้ายจัดงานส่วนภูมิภาคก่อนล่องสู่เมืองกรุงจัดงานปิดท้าย “สตาร์ทอัพ” ของปีนี้ ชูคอนเซ็ปต์ “เชียงใหม่ เมืองสร้างสรรค์ ” พร้อมหนุนให้เป็นเมืองแห่งศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ ความสร้างและนวัตกรรม “อรรชกา” ลั่น!สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้ 1,600 ล้านบาท ภายใน 5 ปี ซึ่งก่อให้เกิดการจ้างงานในกลุ่มสตาร์ทอัพ 4,000 คน ต่อปี

เมื่อเร็วๆ นี้ นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รองศาสตราจารย์สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายประจวบ กันธิยะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกันเปิดงาน Startup Thailand 2017 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ภาคเหนือถือเป็นอีกหนึ่งภูมิภาคที่มีความสำคัญและมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียนและจังหวัดเชียงใหม่ยังเป็นศูนย์กลางของภาคเหนือทั้งทางด้านเศรษฐกิจการศึกษาการแพทย์และมีความเป็นเอกลักษณ์ทั้งทางด้านศิลปวัฒนธรรม อาหาร วิถีชีวิต ” เชียงใหม่ เมืองสร้างสรรค์ ” ได้รับการพัฒนาและสนับสนุน ให้เป็นเมืองแห่งศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ ความสร้างสรรค์และนวัตกรรม ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาทางด้านสังคมอันนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของรัฐบาลไทยที่ต้องการดึงศักยภาพที่เป็นจุดแข็งและมีเอกลักษณ์โดดเด่นของเชียงใหม่เพื่อพัฒนาความสร้างสรรค์และความรู้ทางด้านเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือมีกลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจหลากหลายด้าน อาทิธุรกิจความงามและสุขภาพ กลุ่มธุรกิจเกษตรและอาหาร การศึกษา การท่องเที่ยวและโรงแรมรวมถึงไอที ซอฟต์แวร์ดิจิทัลคอนเทนท์ ขณะเดียวกันภูมิภาคแห่งนี้ยังเป็นพื้นที่ที่มีสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน สตาร์ทอัพจำนวนมากมีแนวความคิดสร้างสรรค์เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด มีความเป็นสากล สามารถเติบโตออกไปสู่ตลาดโลกได้ และมีสตาร์ทอีกหลายรายยังขาดการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืน

กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ หวังว่าการจัดงานสตาร์ทอัพไทยแลนด์ 2017 ครั้งนี้ จะเป็นกลไกหนึ่งในการสนับสนุนกลุ่มสตาร์ทอัพในสาขาต่างๆช่วยเสริมความสมบูรณ์ของ Startup Ecosystem ในภูมิภาคนี้ และ เชื่อมโยงชุมชนกับการเติบโตของธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ผ่านการสร้างแรงบันดาลใจให้ชุมชนเห็นประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาสร้างสรรค์ธุรกิจแบบใหม่ ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจและชุมชนได้ อันจะส่งผลระยะยาวต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ecosytem และยังยกระดับคุณภาพของชุมชนในพื้นที่ได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ตั้งเป้าหมายการพัฒนาสตาร์ทอัพไว้ภายในระยะเวลา 3 ปี จะสามารถเพิ่มจำนวนสตาร์ทอัพ ได้ 400 รายต่อปี สามารถสร้างมูลราคาเพิ่มทางเศรษฐกิจได้ 1,600 ล้านบาทภายใน 5 ปี และเกิดการจ้างงานในกลุ่มสตาร์ทอัพ 4,000 คนต่อปี นอกจากนี้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะใน 9 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่ถือเป็น New Engine of Growth ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต

ร่วมแสดงความคิดเห็น