เอไอเอสมุ่งพัฒนากลุ่ม StartUp เมืองเชียงใหม่

เอไอเอส ตอกย้ำผู้นำด้านเครือข่ายและบริการดิจิทัล เดินหน้าสนับสนุนพลังไอเดียคนรุ่นใหม่ ต่อยอดธุรกิจสตาร์ทอัพแห่งเมือง ‘นักนวัตกรรม’ เชียงใหม่ StartUp Thailand 2017 Creative Valley

เอไอเอส เชื่อว่าพลังไอเดียของคนรุ่นใหม่ สามารถสร้างคอนเทนต์และธุรกิจใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้ทุกวัน อย่างไร้ข้อจำกัดทั้งเรื่องเวลาและสถานที่ ด้วยโครงข่ายดิจิทัล ทั้ง Mobile และ Fixed broadband ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้ตลาดผู้ใช้มือถือ และผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์และบริการ มีการเติบโตไปพร้อมๆกันอย่างก้าวกระโดด เห็นได้จากกระแสการเติบโตของธุรกิจ Tech Startup ในเมืองไทย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการยุคใหม่ ที่นำเทคโนโลยีและดิจิทัล มาสร้างเป็นบริการเพื่ออำนวยความสะดวกหรือแก้ปัญหาในการใช้ชีวิตด้านต่างๆ ให้กับผู้คน ซึ่ง เอไอเอส ได้ให้การสนับสนุนและผลักดันบริการออกสู่ตลาดมาอย่างต่อเนื่อง

เอไอเอส ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับภาครัฐ ในการส่งเสริมและกระจายโอกาสให้คนไทยทั่วประเทศได้เห็นถึงพลังของกลุ่มสตาร์ทอัพ ที่นำไอเดียผนวกกับเทคโนโลยี มาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ซึ่งจากการทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพอย่างใกล้ชิดมาตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ทำให้เรามองเห็นเทรนด์การเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพในระดับภูมิภาคเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในแง่ของการสร้างโซลูชั่นส์เพื่อแก้ปัญหาในการใช้ชีวิตให้กับคนในท้องถิ่น ตลอดจนการขยายตลาดและฐานลูกค้าไปยังต่างจังหวัด

โดยในงาน StartUp Thailand 2017 ที่ผ่านมา เอไอเอส พร้อมเปิดรับการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับเอไอเอส และได้นำกลุ่มสตาร์ทอัพ จากโครงการ AIS The StartUp ที่ประสบความสำเร็จ มาร่วมในงาน อาทิ

* FIXZY ให้บริการเรียกช่างซ่อม บ้านและที่พักอาศัย online บน application เพื่อตอบสนองการขยายตัวของธุรกิจบ้านจัดสรร คอนโดมิเนี่ยน หรือช็อปปิ้งมอลล์ ของเมืองเชียงใหม่ ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว (AIS the StartUp รุ่นพี่)

* Digio ให้บริการ mPos เครื่องเชื่อมต่อเพื่ออ่านข้อมูลบัตรเครติด อัตโนมัติ เพื่อตอบสนองธุรกิจกที่ต้องการทำธุรกรรมทางการเงิน เป็น fintech เทคโนโลยี่ที่ตอบสนองการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจทั้งรายใหญ่ และรายย่อย ของเมืองเชียงใหม่ (AIS the StartUp รุ่นพี่)

* Local Alike ให้บริการท่องเที่ยวเชิงสัมผัสวิถีชุมชน ตอบสนองนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติที่หลงเสน่ห์เมืองเชียงใหม่ และต้องการมาท่องเที่ยวที่เชียงใหม่เพื่อเข้าถึงบรรยากาศการท่องเที่ยว ความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง (AIS the StartUp รุ่นพี่)

* Nabour ให้บริการ application เพื่อการบริหารกิจการของนิติบุคคล บ้านจัดสรรค์ หรือคอนโด รองรับการขยายของสังคมเมือง และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ที่ขยายมาในเมืองเชียงใหม่ (AIS the Startup รุ่นน้อง กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาธุรกิจร่วมกัน)

*Somsir ให้บริการ ระบบบริหารจัดการโรงเรียน และสถานศึกษา เพื่อสนองตอบสถานศึกษาในเชียงใหม่ที่เพิ่ม และช่วยยกระดับสถานศึกษาสู่ smart education (AIS the Startup รุ่นน้อง สมัคร online เข้าร่วมโครงการฯ แล้ว รอการพัฒนาร่วมกัน)

* Tripzii ให้บริการท่องเที่ยวแนวผจญภัย (adventure trip) สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสการท่องเที่ยวแบบลุยๆ เช่น เดินป่า ,ล่องแก่ง ,โหนสลิงชมธรรมชาติอย่างใกล้ชิด (AIS the Startup รุ่นน้อง กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาธุรกิจร่วมกัน)

เอไอเอส เปิดโอกาสให้กับทุกคนสามารถเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งใน AIS The StartUp ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์, วางแผนธุรกิจทางการตลาด และรับสิทธิพิเศษมากมายในฐานะ Partnership ได้ที่ http://www.ais.co.th/thestartup/connect.html

ด้านนางเจนจิรา ทาตะรัตน์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Tripzii “ออกทริป ออกทัวร์ ออกเที่ยว” เปิดเผยว่า Tripzii เกิดจากแนวคิดที่ต้องการเป็นตัวกลางในการประสานให้กับผู้ประกอบการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวให้มาเชื่อมโยงกันง่ายขึ้น หรือจะเรียกว่านำผู้ประกอบการมาลงแพล็ดฟอร์มที่เราสร้างขึ้นมา ปกติปัญหาของผู้ประกอบการก็คือต้องคอยรับโทรศัพท์อยู่ตลอดเวลา แต่เราอำนวยความสะดวกให้คือ เป็นตัวกลางประสานให้นักท่องเที่ยวติดต่อกับผู้ประกอบการได้อย่างง่ายขึ้น สะดวกขึ้น โดยหลังจากเปิดตัวมาได้ 5 เดือนกว่า ขณะนี้เรามีผู้ประกอบการมาร่วมกับเรากว่า 30 รายแล้ว ในอนาคตจะต่อยอดให้แอพพลิเคชั่นนี้มีหลากหลายมากขึ้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น