ประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผน การสร้างสุขภาวะแก่เด็กเล็ก

                 สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่ จัด“การประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการการสร้างสุขภาวะแก่เด็กเล็กในศูนย์เด็กเล็กเอกชน โดย โครงการส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนอาหารสุขภาวะในชุมชนบ้านจัดสรรและศูนย์พัฒนาการเด็กเอกชนโดยมีนายไพศาล สุรธรรมวิทย์ เลขานุการนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่  เป็นประธานเปิดการประชุม ”ณ.โรงแรมเมอร์เคียวเชียงใหม่ เมื่อวันที่ผ่านมา สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่ จัด“การประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการการสร้างสุขภาวะแก่เด็กเล็กในศูนย์เด็กเล็กเอกชน โดย โครงการส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนอาหารสุขภาวะในชุมชนบ้านจัดสรรและศูนย์พัฒนาการเด็กเอกชนโดยมีนายไพศาล สุรธรรมวิทย์ เลขานุการนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่  เป็นประธานเปิดการประชุม ”ณ.โรงแรมเมอร์เคียวเชียงใหม่ เมื่อวันที่ผ่านมา  โครงการส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนอาหารสุขภาวะ ในชุมชนบ้านจัดสรรและศูนย์พัฒนาการเด็ก จังหวัดเชียงใหม่ ความเป็นมาสถานการณ์ปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาหารในปัจจุบันสถานการณ์การบริโภคของโลกมีการเปลี่ยนแปลงมาก นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้เกิดจากการมีผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นและมีความต้องการอาหารเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น หากการเปลี่ยนแปลงนั้นยังเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่หลากหลายของผู้บริโภค ที่ต้องปรับเปลี่ยนตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคม

ซึ่งมีการแบ่งแยกการบริโภค และการแยกสินค้ามากมาย เพื่อให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในพืชอาหารเพิ่มขึ้น การเพิ่มของสารเคมีในสัตว์เลี้ยงที่เป็นอาหาร เช่น หมูเนื้อไก่ไข่และปลา ส่งผลต่อการดื้อยาของจุลินทรีย์ก่อโรค การกลายพันธุ์ของเชื้อโรค  การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่มีการพัฒนาการอย่างรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยหนึ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์ (ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์,2014)

นอกจากนั้น ยังพบว่าการแปรรูปอาหารหรือการปรุงแต่งอาหาร เพื่อให้อาหารนั้นมีรสชาติดี อร่อยขึ้น ทำให้อาหารกรอบ น่ารับประทาน และไม่ให้อาหารบูดหรือเน่าเสีย โดยเติมสารเจือปนในอาหารให้มีสี กลิ่น รส ชวนน่ารับประทาน ซึ่งสารปรุงแต่งเหล่านั้นบางอย่างไม่มีโทษต่อร่างกายแต่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ บางอย่างเป็นอันตรายต่อร่างกายหากรับประทานมากหรือบ่อยครั้ง อาหารบางประเภทก็เสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรค (แบคทีเรีย ไวรัส และปรสิต) โดยการปนเปื้อนสามารถเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของอาหาร เช่น การปนเปื้อนเชื้อจากวัตถุดิบ การปรุง การเก็บอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ (สํานักโรคติดต่อทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข, 2559)

เมื่อการบริโภคในวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไป รูปแบบของการบริโภคก็แปรผันตาม ทำให้พฤติกรรมบริโภคเป็นการบริโภคแบบเร่งรีบ ขาดความประณีตในตัวอาหารส่งผลให้มีการบริโภคอาหารที่มีพลังงาน ไขมัน โซเดียม น้ำตาล ไขมันอิ่มตัวสูง ในขณะที่ผักผลไม้ก็มีการปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและระดับที่ต้องเฝ้าระวัง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง ประเทศต่างๆในโลกกำลังเผชิญกับปัญหาดังกล่าวเหล่านี้

จำนวนของประชากรในโลกเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ประกอบด้วย โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด  มะเร็ง ภาวะไตวายเรื้อรัง ภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วน (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.),2560) โรคดังกล่าวนี้กำลังเป็นภัยคุกคามในประเทศไทยเช่นกัน โดยวัดได้จากอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

ดังนั้นสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้จัด“การประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการการสร้างสุขภาวะแก่เด็กเล็กในศูนย์เด็กเล็กเอกชน  ให้มีสุขภาวะที่ดีในปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งด้านอาหารปลอดภัย การดูแลสุขภาพกายและใจ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

ร่วมแสดงความคิดเห็น