แม่โจ้เดินหน้า คลอดผู้นำเกษตรยุคใหม่

ม.แม่โจ้ เดินหน้าเปิดการอบรมหลักสูตรผู้นำเกษตรยุคใหม่ รุ่นที่ 1 ” MAGLEAD” ภายใต้การบูรณาการจาก 3 ภาคส่วนใหญ่ สนองยุทธศาสตร์ชาติไทยแลนด์ 4.0 มุ่งการเสริมสร้างฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร โดยอาศัยองค์ความรู้ทางวิชาการเกษตร เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างเครือข่ายเพื่อให้เกิดการต่อยอดในเชิงธุรกิจ และให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติต่อไป
นายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดการอบรมหลักสูตรผู้นำเกษตรยุคใหม่ รุ่นที่ 1 ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดขึ้น โดยมี ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วย ดร.องอาจ กิตติคุณชัย ประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ ณ โรงแรมแคนทารี่ฮิลล์ จ.เชียงใหม่
ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า การจัดโครงการอบรมในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากแนวคิดของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของมหาวิทยาลัย ในบริบทความเป็นมหาลัยที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางด้านการเกษตรในระดับนานาชาติ ต้องวางแผนการปรับองค์กรรับการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ สอดคล้องไปกับกรอบยุทศาสตร์ชาติและทิศทางยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 15 ปี ตลอดจนเตรียมความพร้อมต่อการเป็นมหาวิทาลัยในกำกับของรัฐ โดยหลักสูตร “ผู้นำการเกษตรยุคใหม่” จะเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการพัฒนาวิสัยทัศน์ผู้นำ รวมถึง การวางแนวทางการพัฒนา ทิศทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา (Public-Private Partnership; PPP หรือ Triple Helix) และสร้างผู้นำองค์กรในรุ่นต่อไปเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะ เกิดขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริหารระดับสูงระดับ CEO หรือเทียบเท่าเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายผู้บริหารภาครัฐ เอกชน และนักวิชาการ (PPP) ด้านการเกษตร สร้างความเข้าใจและกำหนดทิศทางการพัฒนาการเกษตรในอนาคต โดยวิทยากรจาก 3 ผ่าย คือภาครัฐ ภาคเอกชน และตัวแทนของผู้เข้าร่วมอบรม
อธิการบดี ม.แม่โจ้ กล่าวต่อว่า การดำเนินงานครั้งนี้มีการอบรมหลักสูตรระหว่างวันที่ 7 ก.ค. – 12 ส.ค. 60 มีระยะเวลาการอบรมทั้งสิ้น 12 วัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อสร้างเครือข่ายผู้นำด้านการเกษตรยุคใหม่ สร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าอบรมในหลักสูตร วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อันจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายสัมพันธภาพและความร่วมมือระหว่างผู้เข้าการอบรม 2.เพื่อให้เกิดการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ในการสร้างโครงการกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเกษตรขงประเทศ และ 3.เพื่อพัฒนาวิสัยทันศ์ให้แก่ผู้นำ และผู้นำรุ่นใหม่ในการพํมนามหาวิทยาลัยภายใต้การก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในการกำกับของรัฐ
ด้าน ดร.องอาจ กิตติคุณชัย ประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ไว้ 6 ด้าน ซึ่ง 1 ในนั้นคือยุทธศาสตร์ การพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งมุ่งการเสริมสร้างฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน รวมทั้ง การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร โดยอาศัยองค์ความรู้ทางวิชาการเกษตร เทคโนโลยี และนวัตกรรม (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2558ข) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในบริบทความเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นความเลิศทางด้านการเกษตรในระดับนานาชาติ ต้องวางแนวทางการปรับองค์กรรับการเปลี่ยนจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ สอดคล้องไปกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติ และทิศทางยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 15 ปี ตลอดจนเตรียมความพร้อมต่อการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ดังนั้น หลักสูตร “ผู้นำการเกษตรยุคใหม่” จะเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการพัฒนาวิสัยทัศน์ผู้นำ รวมถึง การวางแนวทางการพัฒนา ทิศทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา (Public-Private Partnership; PPP หรือ Triple Helix) และสร้างผู้นำองค์กรในรุ่นต่อไปเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะ เกิดขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริหารระดับสูงระดับ CEO หรือเทียบเท่าเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายผู้บริหารภาครัฐ เอกชน และนักวิชาการ (PPP) ด้านการเกษตร สร้างความเข้าใจและกำหนดทิศทางการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนในอนาคต
ขณะที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทองเลียน บัวจูม รองอธิการบดี ม.แม่โจ้ กล่าวว่า หลักสูตรผู้กำการเกษตรยุคใหม่ หรือ MAGLEAD นี้ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการบูรณาการของ 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ กาคเอกชน และสถาบันการศึกษา หรือที่เรียกว่า Triple Helix เพื่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือ และเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาการเกษตรในอนาคต โดยอาศัยกระบวนการ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา “คือการให้ผู้เข้าร่วมได้ “เข้าใจ” ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และทิศทางของการพัฒนาประเทศ “เข้าถึง”มุมมอง องค์ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญและผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมที่หลากหลาย เพื่อให้มุมมองและเกิดแนวคิดในการ “พัฒนา”การเกษตรและอาหารทีมั่นคงและยั่งยืน สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศและแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของโลก
“ซึ่งหลังจากจบการอบรมผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับความรู้และเครือข่ายจากภาคส่วนต่างๆ สามารถนำความรู้และเทคโนโลยีที่ได้ไปต่อยอดในธุรกิจของตนเอง อาทิ ธุรกิจด้านการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น ทั้งยังนำความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงด้านต่างๆในธุรกิจหรือองค์กรของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหลังจากการอบรมเสร็จสิ้นทาง ม.แม่โจ้ จะได้ทำการสรุปผลการอบรมเพื่อหาข้อเสนอแนะเชินโยบายให้แก่รัฐบาล หวังให้เกิดการต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติต่อไป” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทองเลียน กล่าว

ร่วมแสดงความคิดเห็น