มทร.ล้านนา เตรียมจัดการสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ ด้านพลังงานไฟฟ้าแรงสูง พลาสมาและไมโครนาโนบับเบิล

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดแถลงข่าว การประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 4 และการประชุมสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ ด้านพลังงานไฟฟ้าแรงสูง พลาสมาและไมโครนาโนบับเบิล สำหรับเกษตรและการประมงขั้นสูง ครั้งที่ 2 “ สู่วิจัยรับใช้สังคม ใส่ใจสิ่งแวลด้อม พัฒนาเศรษฐกิจ ด้วยนวัตกรรม” นำโดย ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วย ผศ.ดร.วิษณุ ทองเล็ก,รศ.ดร.พานิช อินต๊ะ และผศ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์ ร่วมแถลงข่าว โดยมีนายอัคค์สัจจาดวงสุภาสิญจ์ รักษาการผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ ดำเนินรายการ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา ณ ห้องปฏิบัติการประดิษฐกรรม( Fab Lab) อาคารวิศวกรรมศาสตร์ C3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (ดอยสะเก็ด)

ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนากล่าวว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทิร์น ได้ร่วมกันดำเนินการจัด การประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 4 และการประชุมสัมมนาวิชาการ ระดับนานาชาติ ด้านพลังงานไฟฟ้าแรงสูง พลาสมาและไมโครนาโนบับเบิล สำหรับเกษตรและการประชุมชั้นสูงครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 26-27 กรกฎาคม 2560 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่
ภายใต้แนวคิด “สู่วิจัยรับใช้สังคม ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พัฒนาเศรษฐกิจ ด้วยนวัตกรรม” เพื่อเป็นเวทีให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลงานการวิจัย นวัตกรรม สู้สังคมภายนอก ตลอดจนเกิดเครือข่ายการวิจัยของนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาในระดับชาติและระดับนานาชาติ ระหว่างนักศึกษา คณาจารย์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ เกิดการพัฒนาและสามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งจะเป็นการพัฒนาผลงานทางวิชาการ และสร้างงานวิจัยใหม่ร่วมกันต่อไปในอนาคต โดยได้รับเกียรติจาก มล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดี มทร.ล้านนา กล่าวรายงาน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วม จำนวน 300 คน ในการนำเสนอผลงานวิจัย ผลงานสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ผลงานสร้างสรรค์ และ การนำเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ นำเสนอบทความ เป็นต้นซึ่งในครั้งนี้มีความพิเศษโดยเป็นการนำเสนอผลงานนวัตกรรมด้านพลังงานไฟฟ้าแรงสูง พลาสมาและไมโครนาโนบับเบิลสำหรับเกษตรและการประมงขั้นสูง ที่ทาง มทร.ล้านนา ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศญี่ปุ่นในการร่วมกันศึกษาวิจัยเทคโนโลยีไมโคร นาโนบับเบิลโดยดำเนินการ ณ ศูนย์ Plasmas & Micro/Nano Bubbles to Agriculture and Aquaculture มทร.ล้านนาซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมที่สามารถถ่ายทอดลงไปสู่ภาคการเกษตรและถูกนำไปใช้เพื่อการผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยต้นแบบสถานีตรวจวัดฝุ่นละอองลอยในอากาศแบบออนไลน์ต้นทุนต่ำฯลฯ จึงอยากขอเชิญชวน ผู้สนใจ กลุ่มสถานประกอบการ กลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่ เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความทันสมัยของเทคโนโลยี”ในครั้งนี้

ร่วมแสดงความคิดเห็น