แม่โจ้พัฒนาต้นแบบ แปรรูปอาหารอินทรีย์

คณะพัฒนาการท่องเที่ยว ม.แม่โจ้ เดินหน้าจัดกิจกรรมเทศกาลพิเศษเพื่อพัฒนาต้นแบบการแปรรูปอาหารอินทรีย์เชิงสร้างสรรค์อย่างมีส่วนร่วม เพื่อนำเอาความรู้และนวัตกรรมด้านการเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย บูรณาการเข้ากับศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวเชิงศิลปะวิทยาการอาหาร หรือ “Gastronomic Tourism” ตั้งเป้า สืบค้นและจัดเก็บฐานข้อมูลวัตถุดิบอินทรีย์ตามฤดูกาลที่มีศักยภาพในการแปรรูปและผลิตอาหารเชิงสร้างสรรค์อย่างน้อย 500 ชนิด ต่อยอดเป็นต้นแบบหน่วยธุรกิจบริการอาหารเคลื่อนที่เพื่อการแปรรูปอาหารอินทรีย์เชิงสร้างสรรค์อย่างมีส่วนร่วม มุ่งสู่การพัฒนานวัตกรรมการบริการสำหรับธุรกิจร้านอาหาร
ผศ.ดร.กชพร ศิริโภคากิจ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประธานเปิดกิจกรรมเทศกาลพิเศษเพื่อพัฒนาต้นแบบการแปรรูปอาหารอินทรีย์เชิงสร้างสรรค์อย่างมีส่วนร่วม (Co-Creative Organic Food Design) ”The Ultimate Seasonal Sensation ปฐมนิทัศน์ความอุดมแห่งฤดูกาล” หรือ The USS ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติคุ้มคำเชียงใหม่
ผศ.ดร.กชพร ศิริโภคากิจ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นสถาบันที่มุ่งเน้นด้านการเกษตร มีการกำหนดเส้นทางการพัฒนาระยะ 15 ปี เพื่อมุ่งสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต” ซึ่งยึดถือการพัฒนาบนฐานของความเคารพและให้ความสำคัญกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยสีเขียว และมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ โดยมีกลยุทธ์การพัฒนาผ่านการบูรณาการพันธกิจของมหาวิทยาลัยทุกด้านให้ครอบคลุมสู่การบริหารจัดการและการดาเนินการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนักศึกษา บุคลากร ศิษย์เก่า ตลอดจนชุมชน เพื่อขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต
ด้านอาจารย์อนุวัต เชื้อเย็น คณบดีคณะพัฒนาการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า คณะพัฒนาการท่องเที่ยวมีความตระหนักถึงหน้าที่ในการตอบสนองต่อนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยนำเอายุทธศาสตร์ในการมุ่งเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต” มาบูรณาการ มีเป้าหมายเป็นองค์รวมในการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนทางด้านการท่องเที่ยว เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ผ่านองค์ความรู้การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ หรือ High Vavue Destination
อาจารย์อนุวัต กล่าวต่อว่า ซึ่งในปีงบประมาณ 2560 จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาต้นแบบการแปรรูปอาหารอินทรีย์เชิงสร้างสรรค์อย่างมีส่วนร่วม ภายใต้ “กิจกรรมเทศกาลพิเศษเพื่อพัฒนาต้นแบบการแปรรูปอาหารอินทรีย์ เชิงสร้างสรรค์อย่างมีส่วนร่วม (Co-Creative Organic Food Design) ”The Ultimate Seasonal Sensation ปฐมนิทัศน์ความอุดมแห่งฤดูกาล” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 กรกฎาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Maejo Farm Inn, สวนเรียนรู้เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน และศูนย์ประชุมนานาชาติคุ้มคำเชียงใหม่ โดยกิจกรรมดังกล่าวได้จัดในสถานที่ๆหลากหลาย ที่มีการบูรณาการองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย บูรณาการเข้ากับศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวเชิงศิลปะวิทยาการอาหาร หรือ Gastronomic Tourism ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวแบบบูรณาการสหวิทยาการ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขาวิชาชีพ เช่นเชฟ เครือข่ายเกษตรกร นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญศาสตร์ด้านอาหารที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการเกิดเป็นฐานปฏิบัติการทางการศึกษา หรือ Education Platform เพื่อเป็นต้นแบบหน่วยธุรกิจบริการอาหารที่เคลื่อนที่ในแหล่งท่องเที่ยว หรือ Mobile Restaurant Prototyping Unit สร้างนวัตกรรมการบริการผ่านการแปรรูปผลผลิตเกษตรอินทรีย์อย่างสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้เกี่ยวข้องให้มีความเข้มแข็ง ควบคู่กับการผสมผสานการทำเกษตรอินทรีย์เข้ากับมรดกด้านอาหารพื้นถิ่น ศิลปวัฒนธเรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้าน ให้สามารถใช้ประโยชน์เพื่อโอกาสและการสร้างสรรค์ ร่วมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี โดยเสริมองค์ความรู้ด้านการตลาดให้ชุมชนสามารถทำการตลาดได้ด้วยตนเอง ทำให้สามารถสร้างสรรค์สินค้าและบริการให้มีความโดดเด่นมีคุณค่าและมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น สามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมอาหารและการท่องเที่ยวได้
คณบดีคณะพัฒนาการท่องเที่ยว กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยโครงการนี้มีเป้าหมายในการสืบค้นและจัดเก็บญานข้อมูลวัตถุดิบอินทรีย์ตามฤดูกาลที่มีศักยภาพในการแปรรูปและผลิตอาหารเชิงสร้างสรรค์อย่างน้อย 500 ชนิด แนวทางการแปรรูปอาหารอินทรีย์เชิงสร้างสรรค์อย่างมีส่วนร่วมและวัตถุดิบอินทรีย์ตามฤดูกาลที่มีศักยภาพในการปรุงและผลิตเป็นอาหารอย่างน้อย 10 ชุดความรู้ ประกอบไปด้วยตำรับอาหารไม่น้อยกว่า 100 สูตร ต้นแบบหน่วยธุรกิจบริการอาหารเคลื่อนที่เพื่อการแปรรูปอาหารอินทรีย์เชิงสร้างสรรค์อย่างมีส่วนร่วม (Business Mobile Restaurant Prototyping Unit) โดยมีพื้นที่การดำเนินการ ได้แก่ พื้นที่นำร่องเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และพื้นที่ชุมชนเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่
สำหรับเป้าหมายต่อไปของคณะทำงาน คือการพัฒนานวัตกรรมการบริการสำหรับธุรกิจร้านอาหาร (Restaurant Service Innovation) ตั้งเป้าเสริมความแข็งแกร่งทางวิชาการ ต่อยอดจุดเน้นการพัมนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้านเกษตรและตลอดห่วงโซ่ มุ่งสู่ความยั่งยืน สร้างประโยชน์สูงสุด หวังผลลัพธ์สุดท้ายเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง ขานรับนโยบายชาติ พร้อมเดินหน้าสู่ประเทศไทย 4.0 ต่อไป อาจารย์อนุวัต กล่าวส่งท้าย

ร่วมแสดงความคิดเห็น