เวทีรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่ออนาคตของประเทศไทยในระยะ 20 ปี ภาคเหนือ

เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่ออนาคตของประเทศไทยในระยะ 20 ปี ภาคเหนือ เพื่อนำไปประกอบการปรับปรุงร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติที่มีการปรับปรุง รวมทั้งความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนที่ได้รับ ไปเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติต่อไป

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 22 กรกฎาคม 2560 พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร ประธานอนุกรรมการที่ปรึกษาและรับฟังความคิดเห็น ภายใต้คณะกรรมการเตรียมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่ออนาคตของประเทศไทย ในระยะ 20 ปี ที่โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วมจากจังหวัดภาคเหนือ 17 จังหวัด ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ผู้แทนกลุ่มสาขาอาชีพ และภาคส่วนต่างๆ

ยุทธศาสตร์ชาติที่รัฐบาลกำลังดำเนินการนี้ เป็นยุทธศาสตร์ระยะยาว 20 ปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2560 – 2579 โดยในห้วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาเป็นกรรมการและอนุกรรมการ ทำการยกร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี เพื่อให้ร่างกรอบยุทธศาสตร์มีความชัดเจนและได้รับการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง จึงได้ให้มีการระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ภายใต้หัวข้อ “การรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่ออนาคตของประเทศไทยในระยะ 20 ปี” ซึ่งมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นแบบเปิดกว้าง ในระดับภาคให้ครบทั้ง 4 ภาค วัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากกลุ่มภาคีการพัฒนาในระดับภูมิภาค เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาประเทศไทยในอนาคตระยะ 20 ปี สำหรับนำไปประกอบการปรับปรุงร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติที่มีการปรับปรุง รวมทั้งความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนที่ได้รับ ไปเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามกระบวนการและขั้นตอนตามกฎหมายที่กำหนดไว้

ประเด็นการระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่ออนาคตของประเทศไทยในระยะ 20 ปี จะครอบคลุมทั้งสถานการณ์ เป้าหมาย และแนวทางหลักในการพัฒนาประเทศที่สำคัญ 6 ด้าน เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางไปสู่การเป็นประเทศรายได้สูง และเป็นประเทศพัฒนาและ 1.ด้านความมั่นคง 2.ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3.ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน 4.ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม 5.ด้านการสร้างความเจริญเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 6.ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อจะได้ร่วมกันกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศไทย ไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยร่วมกันจัดทำกรอบยุทธศาสตร์ชาติที่มีคุณภาพและสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง.

ร่วมแสดงความคิดเห็น