พาณิชย์-สศก.ชี้ทางรอด เกษตรกร-ชาวสวนลำไย

นางนิยะดา หมื่นอนันต์ พาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ รายงานในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการฯเมื่อเร็วๆนี้ว่า สถานการณ์ผลผลิตเกษตรลำไยช่อ ขนาด AA.กิโลกรัมละ 17-18 บาท เกรด A. ราคา 17-18 บาทต่อ กก. เกรด B.ราคา 14-15 บาท/กก.และเกรด C.ราคา 9-10 บาท/กก. ส่วนลำไยในฤดู (ร่วง) เกรด AA 13 บาท/กก. เกรด A.ราคา 8 บาท/กก. เกรด B.ราคา 4 บาท/กก. เกรด C.ราคา 1-2 บาทต่อ กก.
สำหรับมาตรการแก้ปัญหาลำไยในระบบทั้งพื้นที่เชียงใหม่และลำพูนขณะนี้มีการบูรณาการความร่วมมือกันหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นสำนักงานพาณิชย์, เกษตรจังหวัด บริษัทประชารัฐรักสามัคคี เป็นต้น ระหว่างที่รอตลาดจีนเปิดก็จะมีการอบแห้งทั้งเปลือกรอส่งออกต่อไป ปีนี้ราคาลำไยรูดร่วงลดลงอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรต้องปรับเปลี่ยนการเก็บลำไย จากเดิมที่เก็บลำไยที่ร่วงมาขาย ต้องหันไปเก็บลำไยแบบมัดช่อ ใช้แรงงานในครัวเรือน เพื่อลดต้นทุนค่าแรง ซึ่งลำไยสดช่อขายได้ราคาสูง มีผู้รับซื้อมาก ต่างจากแบบรูดร่วงมีราคาขายเพียงกิโลกรัมละ 13 บาท


แนะเกษตรกรเก็บลำไยมัดช่อ..จะขายได้ราคาดีกว่ารูดร่วง
ด้านนางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) แถลงสื่อฯว่าปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เป็นผลมาจากความต้องการมีน้อยกว่าปริมาณผลผลิตในแต่ละฤดูกาล โดยเฉพาะในช่วงที่ผลผลิตออกมาพร้อมกันซึ่งภาครัฐฯได้พยายามเร่งแก้ไขมาตลอด ใช้ตลาดนำการผลิตหรือผลิตตามตลาดต้องการ รวมทั้งแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม และส่งเสริมระบบตลาดออนไลน์
และมีการวางยุทธศาสตร์รักษาเสถียรภาพราคาและรายได้ของเกษตรกร เช่น ข้าว มีแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปี 2560/61 เช่น ส่งเสริมนาแปลงใหญ่และเชื่อมโยงตลาดข้าว อินทรีย์ ปลูกพืชอาหารสัตว์ทดแทนนาข้าว ปลูกพืชหลากหลาย/พืชปุ๋ยสดลดรอบนาปรัง รวมทั้งประกันภัยข้าวนาปี เป็นต้น
ผลผลิต ลำไย สับปะรด มีการประสานโมเดิร์นเทรดช่วยรับซื้อเพิ่มเติมจากปกติ และให้โรงงานแปรรูป ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีแนวทางบริหารจัดการการนำเข้าวัตถุดิบอื่นทดแทน ยางพารา ก็มีการเร่งรัดการใช้ยางในประเทศให้มากขึ้น จัดตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพราคา และเชื่อมโยงตลาดท้องถิ่น (108 แห่ง) ตลาดกลาง (6 แห่ง) และตลาดภูมิภาค (3 ประเทศ) ซื้อขายยางฯผ่านระบบอีเลคทรอนิกส์


เกษตรกร ชาวสวนลำไยต้องใช้แรงงานในครัวเรือน ลดต้นทุนผลิต เก็บลำไยขาย

ร่วมแสดงความคิดเห็น