คณะครุศาสตร์ ม.ราชภัฎเชียงใหม่ จัด”นิทรรศการมหกรรมคืนความรู้สู่สังคม”

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ จัดนิทรรศการ”มหกรรม คืนความรู้สู่สังคม”โดยมี รองศาสตราจารย์ว่าที่ร้อยตรีสกล แก้วศิริ คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงาน โดยมี รศ.ดร.พิทยาภรณ์ มานะจุติ ประธานโครงการผลิตครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กล่าวรายงาน เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2560 ณ ลานโปรโมชั่นฮอลล์ อุทยานการค้ากาดสวนแก้วรศ.ว่าที่ร้อยตรีสกล แก้วศิริ คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ กล่าวว่า งานนิทรรศการมหกรรมคืนความรู้สู่สังคม ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ครั้งนี้ ได้นำเสนอผลงานในแต่ละรูปแบบของสถานศึกษาร่วมกัน จากการติดตามการดำเนินของคณะกรรมการทำให้รู้ว่างานในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการผลิต และพัฒนาครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานซึ่งดำเนินงานต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการนำร่องถึง 17 โรงเรียน เป็นโรงเรียนต้นแบบ 5 โรงเรียนและโรงเรียนเครือข่าย 12 โรงเรียน ผลงานที่นำมาแสดงในวันนี้เชื่อได้ว่าคงจะเป็นผลพวงจากการที่คณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการจัดอบรมผู้บริหารสถานศึกษาครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศ และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อให้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้จัดชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพให้เกิดผลทั้งในเรื่องจิตตปัญญาศึกษา การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 การนิเทศแบบ Coaching & Mentoring การประกันคุณภาพการศึกษา และการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานหลังจากนั้นในช่วงเดือนมิถุนายน กรกฎาคม คณะวิทยากรและกรรมการได้ออกไปร่วมกิจกรรมและติดตามประเมินผลโครงการทุกโรงเรียน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนและประเมินความก้าวหน้าของโครงการ จนก่อให้เกิดความพร้อมและสามารถจัดนิทรรศการได้อย่างสมบูรณ์แบบวันนี้การจัดนิทรรศการในลักษณะมหกรรมประกอบด้วย การแสดง การนำเสนอโครงงานประดิษฐ์คิดต้นและนวัตกรรม ผลการวิจัยชั้นเรียน ตลอดจนการปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาโดยสร้างชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ นับว่าเป็นความ สำเร็จที่เราควรภาคภูมิใจร่วมกันและถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่มั่นคงในการผนึกกำลังกันผลิตและพัฒนาครูให้แก้สังคม ประเทศชาติให้เกิดความวัฒนาสถาพรและยั่งยืนต่อไป รศ.ดร.พิทยาภรณ์ มานะจุติ ประธานโครงการผลิตครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กล่าวว่า ตามที่คณะครุศาสตร์ ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ให้ดำเนินโครงการผลิตครูเพ่อพัฒนาท้องถิ่น โดยคัดเลือกนักศึกษาทุนเข้าร่วมโครงการ 95 คนควบคู่ไปกับการกพัฒนาครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มีสถานศึกษาต้นแบบที่เข้าร่วมโครงการ 5 แห่ง และสถานศึกษาเครือข่ายอีก 12แห่ง และมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการประมาณ 500 คนทั้งสองโครงการมีการเดินงานเชิงระบบอย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 เป็นต้นมาในลักษณะของการพัฒนาศักยภาพวิชาชีพครูโดยการสร้างชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ ( Professional Learning Community) มีกิจกรรมหนุนเสริมทักษะปฏิบัติแก่ครู อาจารย์ ตลอดจนนักศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จิตตปัญญาศึกษา การจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน การประกันคุณภาพการศึกษา และพัฒนาทักษะการขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยการนิเทศตามแนวทาง Coaching & Mentoring โดยคณะครุศาสตร์จัดให้มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเวทีการเรียนรู้ในสถานศึกษาตามความจำเป็น และมีกรรมการกลางทำหน้าที่ประสานข้อมูลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โจทย์แห่งการสร้างชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ การดำเนินโครงการผลิตแลพัฒนาครูได้ปรากฏผลเป็นข้อค้นพบใหม่ด้านรูปแบบการบริหารจัดการ การประดิษฐ์ชิ้นงาน การพัฒนาโครงงาน นันทนาการ ดนตรีการจัดชุดแสดง นาฎศิลป์ และจินตลีลาต่างๆเป็นผลการดำเนินงานที่ครอบคลุมทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพของกลุ่มเป้าหมายทุกระดับ ทั้งผู้บริหาร ครู อาจารย์ นักศึกษาฝึกประสบการณ์และนักเรียนซึ่งปรากฎแก่สายตาในวันนี้ในโอกาสนี้โรงเรียนสันป่าตอง(สุวรรณราษฎร์วิทยาคาร)สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 นำโดย นายสมัคร มูลประการ ผู้อำนวยการได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการและนำเสนอผลงาน “การขับเคลื่อนการสร้างชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู (PLC) จาก โรงเรียนต้นแบบสู่ โรงเรียนเครือข่าย” ประกอบไปด้วย โรงเรียนวัดช่างกระดาษ,โรงเรียนวัดท่ากาน และ โรงเรียนบ้านหัวริน พร้อมกันนี้ดร.บุญสม ยานะธรรม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวริน ได้นำนักเรียนแสดงบนเวทีและร่วมจัดนิทรรศการผลงานโรงเรียน ผลงานตนเองเผยแพร่ในงานนี้อีกด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น