รพ. สวนปรุง จัดอบรมการดูแลเด็กโรคสมาธิสั้น

สหวิชาชีพจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลสวนปรุง ร่วมกับสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ และศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 จัด อบรมเชิงปฏิบัติการ การดูแลเด็กโรคสมาธิสั้น โดยมีนายธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง กล่าวเปิดโครงการ ณ โรงแรมเมอร์เคียว เชียงใหม่ เมื่อวันที่ผ่านมา

นายธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง กล่าวว่า เนื่องด้วยกรมสุขภาพจิต มีเป้าหมายการให้บริการในปี 2560 มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผล ตัวชี้วัดที่ 18 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับเด็กและวัยรุ่นที่มีคุณภาพมาตรฐานในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่นในเครือข่ายบริการสุขภาพให้มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต และเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่นที่พบบ่อย คือ โรค ADHD (โรคสมาธิสั้น)

ผลการสำรวจพบว่า ในเขตสุขภาพที่ 1 จังหวัดพะเยา และจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีอัตราการเข้าถึงโรคสมาธิสั้นในอัตราร้อยละ 3.31 และร้อยละ 0.169 ตามลำดับ ซึ่งการทำให้เกิดความสำเร็จนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและครูจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการคัดกรองดูแลและส่งต่อเด็กกลุ่มโรคนี้ ดังนั้นทีมสหวิชาชีพจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลสวนปรุงและหน่วยงานร่วมจึงจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การดูแลเด็กโรคสมาธิสั้น เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในการดูแลเด็ก อันจะทำให้อัตราการเข้าถึงบริการเพิ่มสูงขึ้นต่อไป ผลการสำรวจพบว่า ในเขตสุขภาพที่ 1 จังหวัดพะเยา และจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีอัตราการเข้าถึงโรคสมาธิสั้นในอัตราร้อยละ 3.31 และร้อยละ 0.169 ตามลำดับ ซึ่งการทำให้เกิดความสำเร็จนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและครูจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการคัดกรองดูแลและส่งต่อเด็กกลุ่มโรคนี้ ดังนั้นทีมสหวิชาชีพจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลสวนปรุงและหน่วยงานร่วมจึงจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การดูแลเด็กโรคสมาธิสั้น เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในการดูแลเด็ก อันจะทำให้อัตราการเข้าถึงบริการเพิ่มสูงขึ้นต่อไป

สำหรับผู้เข้ารับการอบรมประกอบด้วย สหวิชาชีพผู้รับผิดชอบงานจิตเวชเด็กและวัยรุ่นในโรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน และผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และครูประถมในจังหวัดพะเยาและจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 40 คน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพการคัดกรอง การดูแลเด็กและการส่งต่อ เด็กโรค ADHD ให้กับบุคลากรสาธารณสุข ครู ในจังหวัดพะเยาและจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ร่วมแสดงความคิดเห็น