โครงการถักทอเครือข่าย อพม ปี 2560 การสร้างวิชาชีพให้กับสตรีสร้างความเข้มแข็ง

เลขานุการกรม กรมกิจการสตรีและครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มอบนโยบายชุมชน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว พร้อมเปิดตัว ” โครงการถักทอเครือข่าย อพม.ประจำปี2560 ” เป็นการสร้างวิชาชีพให้กับสตรีในแต่ละชุมชนให้มีความเข้มแข็งสามารถสร้ายอาชีพและรายได้
นายกันตพงศ์ รังสีสว่าง เลขานุกรรม กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ” โครงการถักทอเครือข่าย อพม.ประจำปี 2560″ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและมั่งคงของมนุษย์ ซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงาน ด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้เรียนรู้ถึงบทบาทหน้าที่หลักของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบรมราชินีนาถ จ.ลำพูน เพื่อเป็นตัวกลางที่ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์ฯ เขตพื้นที่ จ.ลำพูนและ จ.เชียงใหม่ ในการดำเนินงานด้านสตรีและครอบครัว โดยนำกระบวนการของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและมนุษย์และความมั่งของมนุษย์ อพม. เป็นเครือข่ายเฝ้าระวังทางด้านปัญหาสังคมในชุมชน
ทั้งนี้ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ จ.ลำพูน เพื่อเป็นตัวกลางที่ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานศูนย์ฯ เขตพื้นที่ จ.ลำพูนและ จ.เชียงใหม่ ในการดำเนินงานด้านสตรีและครอบครัว โดยนำกระบวนการของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและมนุษย์และความมั่งของมนุษย์ อพม. ในฐานะหน่วยงานที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสตรีและครอบครัว พร้อมทั้ง ภารกิจด้านพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ผมจึงขอให้กำลังใจและให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ ทุกท่านใช้เวลาในการเข้าร่วมกระบวนกลุ่มและกิจกรรม กลุ่มสัมพันธ์ เพื่อเป็นการสร้างความมั่งคงของมนุษย์
นางสาวจารุวรินทร์ ธนาชนะสิทธิ์ กล่าวว่า ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวเฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า โครงการถักทอเครือข่าย อพม.ประจำปี 2560 เป็นโครงการที่ส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายทางสังคมซึ่งเป็นทุนทางสังคม ที่มีความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาสถาบันครอบครัว และเชื่อมประสานเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ ได้เข้าใจตระหนักเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่หลักของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ จ.ลำพูน บทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานซึ่งอยู่ในรูปแบบของเครือข่ายร่วมในการขับเคลื่อนงานบทบาท ภาระหน้าที่ เอกชน และภาคประชาสังคม ศูนย์ฯ โดยมุ่งเน้นดำเนินงานพัฒนาระบบส่งเสริมงานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ในระดับปฏิบัติการ ผู้ร่วมโครงการฯ ประกอบด้วยอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.ลำพูน จำนวน 60 คนอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ของ จ.เชียงใหม่จำนวน 40 คน เจ้าหน้าที่และผู้สังเกตการณ์รวมทั้งสิ้น จำนวน 5 คน โดยคณะทีมวิทยากรกระบวนการ ลักษณะกิจกรรมเป็นแบบการบรรยายให้ความรู้ กระบวนการกลุ่ม และกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์และครอบครัวเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ จ.ลำพูน ให้มีโอกาสสร้างภาคี เครือข่ายให้ครอบคลุมในระดับพื้นที่เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตรงตามยุทธศาสตร์

ร่วมแสดงความคิดเห็น