การฝังเข็มรักษา ดีอย่างไร ?

การฝังเข็ม เป็นวิธีการรักษาโดยใช้เข็มที่มีขนาดเล็กปักเข้าจุดต่างๆของร่างกาย เพื่อทำการรักษาโรคลดอาการเจ็บปวด ช่วยปรับให้การทำงานของอวัยวะต่างๆอยู่ในสภาพสมดุล โรคที่การฝังเข็มรักษาได้ผล กลุ่มโรคอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อโรคระบบประสาท เช่น ไมเกรน อัมพฤกษ์ อัมพาต ปลายประสาทอักเสบ อาการนอนไม่หลับ โรคภูมิแพ้ทางจมูก เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของการฝังเข็ม

1. เพื่อปรับการทำงานของอวัยวะเลือดลมให้อยู่ในภาวะสมดุล

2. เพื่อระงับบรรเทาอาการเจ็บปวดจากภาวะโรค

การรักษาและวิธีการหลังจากการตรวจวินิจฉัยแล้วแพทย์ผู้ให้การรักษาจะใช้เข็มที่ทำด้วยสแตนเลสไม่เป็นสนิมที่มีขนาดเล็กกว่าเข็มฉีดยาไม่มีสารหรือยาเคลือบเข็ม เป็นเข็มที่สะอาดปลอดเชื้อ ปักเข้าผิวหนังตรงจุดฝังเข็มตามแนวเส้น ลมปราณ ที่ตรงกับอาการของโรค โดยความลึกขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ทำการรักษา โดยใช้ระยะเวลา ประมาณ 20 นาที นอกจากการฝังเข็มด้วยเข็มแล้ว ยังมีการรักษาด้วยอุปกรณ์อื่นร่วม เช่น การฝังเข็มร่วมกับลนยา โดยหลังจากที่ฝังเข็ม จะใช้โกศลนยาขนาดเล็ก วางไว้บนเข็มเพื่อเน้นการบำรุงร่างกาย , การฝังเข็มร่วมกับการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า โดยหลังจากที่ฝังเข็มแล้ว ใช้สายไฟเชื่อมต่อกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิดพิเศษโดยเฉพาะเป็นไฟฟ้ากระแสตรงประมาณ 9 โวลต์ (ซึ่งไม่ทำให้เกิดไฟดูด) แต่จะรู้สึกถึงการกระตุ้นที่กล้ามเนื้อเป็นจังหวะ แรงพอทนได้ เป็นจังหวะตามกระแสไฟฟ้า และไม่ทำให้เจ็บปวดจนทนไม่ได้ , การลนยา เป็นการใช้สมุนไพรโกศ ลนบริเวณจุดฝังเข็มช่วยเรื่องการบำรุงร่างกาย ส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที , การครอบกระปุก เพื่อให้เลือดลมเดินสะดวก เพื่อกำจัดความชื้น ของเสี่ยในร่างกายได้ ช่วยลดอาการคั่งอุดกั้น ของเลือดภายในร่างกาย ช่วยเสริมสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง


อาการข้างเคียงจากการฝังเข็ม มีอาการปวดหรือเจ็บมากจากการฝังเข็มอาจเกิดจากผู้ป่วยบางรายที่มีอาการตึงเครียดในระหว่างการรักษา , อาจมีเลือดออกจากจุดที่ลงเข็มได้ภายหลัง จากการถอนเข็มออก ส่วนใหญ๋ เลือดที่ออกจะหยุดเอง หรืออาจใช้การกดด้วยก้อนสำลี , การเป็นลม เกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยที่ไม่เคยรักษา โดยการฝังเข็มมาก่อน หรืออาจเกิดในผู้ป่วยที่หวาดกลัว ตื่นเต้น หรือสภาพร่างกายอ่อนเพลียมากเกินไป , เข็มติด เกิดจากการหดเกร็ง บีบรัดเข็มของกล้ามเนื้อ อย่างรุนแรง หรือจากผู้ป่วยขยับเปลี่ยนท่าขณะมีเข็มคาอยู่ , เข็มงอ เกิดจากขณะแทงเข็มใช้แรงดันมากเกินไป หรืออาจแทงถูกเนื้อเยื่อที่แข็ง เช่น กระดูกหรือพังผืด , เข็มหัก มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก เข็มหักมักเกิดจากเข็มที่งอก่อนแล้วจึงหัก ส่วนที่หักง่ายคือส่วนคอเข็ม

การเตรียมตัวก่อนรับบริการฝังเข็ม

1.ให้รับประทานอาหารแต่พอดี ไม่อิ่มจนเกินไป

2. สวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมสบาย

3. ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรอดนอน

การปฏิบัติตัวขณะฝังเข็ม

1.ควรนั่งหรือนอนในท่านั้นประมาณ 10 – 20 นาที ตามคำแนะนำของผู้ให้การรักษา

2.หากมีอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวกให้รีบแจ้งผู้ให้การรักษาทันที

ข้อห้ามในการฝังเข็ม

1.ผู้ป่วยที่รับประทานยากันเลือดแข็งตัว Warfarin

2.ผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง เช่น เอดส์

การปฏิบัติตัวหลังการฝังเข็ม

1.นอนพัก 3-5 นาที ก่อนการเคลื่อนไหวเพื่อสังเกตอาการผิดปกติ

2.สังเกตบริเวณฝังเข็มว่ามีอาการปวด เลือดออก หรือรอยบวมหรือไม่

3. ควรดื่มน้ำหลังการฝังเข็ม

4.ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้มาพบแพทย์ก่อนนัด

5.ถ้ามีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ตามปกติ อาการจะหายไปเองภายใน 24 – 48 ชั่วโมง

การฝังเข็มรักษาได้ผลดี ได้แก่ กลุ่มโรคปวดหน้า ศีรษะ รยางค์ ข้อต่อ ร่วมถึงการปวดท้องประจำเดือน ปวดปลายประสาท ต่าง ในทาง TCM อาการปวดมักเกิดจากการไหลเวียนที่ไม่ดี ไม่เพียงพอ ดังนั้น การรักษา จึงเน้นกระตุ้นให้เลือดลมไหวเวียนได้สะดวก

…..รพ.แมคคอร์มิค / ข้อมูล….

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ร่วมแสดงความคิดเห็น