เชียงใหม่จัดระเบียบหอพัก สั่งทุกอปท.สำรวจ-งัดโทษขู่

นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จังหวัดได้มีหนังสือแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น( อปท.) ทุกแห่งที่มีหอพักตามพระราชบัญญัติหอพัก พศ.2558 ตรวจสอบและกรอกข้อมูลแบบสำรวจ ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ จากนั้นคณะกรรมการส่งเสริมกิจการหอพักจังหวัดเชียงใหม่ได้สรุปรายละเอียด อุปสรรค ปัญหาแจ้งไปยังนายอำเภอ ,ผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อรับทราบพร้อมเร่งดำเนินการตามที่แนะนำไป

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ แจ้งเพิ่มเติมว่าปัญหาอุปสรรคทั้งหมด ประมาณ 15 เรื่อง นอกจากชี้แจงทุกประเด็นปัญหาที่รวบรวมมาแล้ว ยังมีข้อแนะนำในการแก้ไขที่ชัดเจน อาทิ กรณีอนุโลมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 พศ.2543 ออกตามความพรบ.ควบคุมอาคาร 2522 ประเด็น ลักษณะอาคารอยู่อาศัยรวม

ทางออกของปัญหาต้องจดทะเบียน ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถรับนักศึกษา บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี เข้าอยู่อาศัยได้ เพราะจะมีความผิด มีโทษทั้งจำและปรับ โดยการฝ่าฝืน กำหนดโทษ ในแต่ละมาตรา ตามฐานความผิดแตกต่างกัน มีอัตราระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท ถึงสามแสนบาทหรือทั้งจำและปรับ


กรณีผู้ประกอบกิจการหอพัก ยังไม่ทราบถึงการประกาศใช้พรบ.ดังกล่าว ให้อปท.เร่งสำรวจ เพราะถ้าเข้าเกณฑ์เงื่อนไขพรบ.หอพัก 2558 ในฐานะนายทะเบียนทุกท้องถิ่น (อปท.) ต้องแจ้งให้มาขออนุญาตไม่เช่นนั้นจะมีความผิด
ทั้งนี้พระราชบัญญัติหอพัก พศ.2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่ 22 เมษายน 2558 มีผลบังคับใช้แล้ว หากมีข้อสงสัยในกิจการที่อาจเข้าข่าย หอพักไม่ว่าจะเป็นบ้านเช่า อาคารพาณิชย์ หรือกิจการที่มีการเก็บค่าเช่า จากการเข้าพัก

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่
สำหรับจังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนสถานศึกษาประมาณ 1,146 แห่ง เป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกว่า 893 แห่ง สถาบันการศึกษาเอกชนราวๆ 140 แห่ง สถาบันอุดมศึกษาของรัฐฯประมาณ 12 แห่ง มีครู/อาจารย์ 21,155 คน และนักเรียน นิสิต นักศึกษาประมาณ 4-5 แสนคน ส่งผลให้การลงทุน กิจการด้านหอพัก แมนชั่น อาคารที่พักอาศัยเพื่อรองรับตลาดกลุ่มนี้ ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ใกล้สถานศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยพายัพ , มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , มหาวิทยาลัยแม่โจ้, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นต้น

ปัจจุบันอัตราห้องพัก ล้นตลาด ทำให้เกิดการแข่งขันที่สูง อาจส่งผลให้ผู้ลงทุนหลีกเลี่ยง ภาระ ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น จนอาจมีผลต่อสวัสดิภาพความปลอดภัยของผู้พัก ผู้เช่าได้ จึงต้องเร่งจัดระเบียบ

พรบ.หอพักฉบับล่าสุด (2558)
รายละเอียด พรบ.หอพัก พศ.2558

ร่วมแสดงความคิดเห็น