ชลประทานชม.แจงแผน จัดการน้ำก่อนเข้าหนาว

ศูนย์ประมวลและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำสำนักงานชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ รายงานว่า จากการที่ช่วง 17-18ก.ย.ประเทศไทยมีภาคเหนือตอนบนมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ รวมถึงจ.เชียงใหม่ด้วย ส่วนแนวโน้มพายุไต้ฝุ่นตาลิม บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนตัวไปบริเวณตอนใต้ของญี่ปุ่นในวันนี้ โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย ในช่วงวันที่ 19 – 23 ก.ย. ร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้มีกำลังอ่อนลงลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีฝนตกหนักบางพื้นที่
ปริมาณน้ำฝนสูงสุด3อันดับ วันนี้ที่อ.ฮอด 40.3มม. อ.จอมทอง 39.8มม. และ อ.พร้าว 33.4มม.สภาพน้ำท่า แม่น้ำปิงที่สะพานนวรัฐ(วงแหวนรอบ 3) 154.4 ลบ.ม./วินาที เขื่อนแม่งัดฯปริมาณน้ำ 176ล้าน ลบ.ม(66%)มากกว่าปี 2559 59ล้าน ลบ.ม.
ระดับน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ระดับน้ำสูงสุด( 189ล้าน ลบ.ม.)รับน้ำได้อีก 89 ล้าน ลบ.ม. (34%) เขื่อนแม่กวงฯ มีปริมาณน้ำ 90 ล้าน ลบ.ม.(34%) มากกว่าปี 2559 19 ล้าน ลบ.ม. รับน้ำได้อีก173ล้านลบ.ม.(66%) ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างฯขนาดกลาง(12 อ่าง)มีน้ำรวม55ล้านลบ.ม.(63%)มากกว่าปี 2559รวม27ล้านลบ.ม. ส่วนอ่างฯขนาดเล็ก(118 อ่าง)ปริมาณน้ำรวม41ล้านลบ.ม.(62%)มากกว่าปี 2559รวม20ล้านลบ.ม.
ในด้านการเตรียมป้องกัน รับมือน้ำท่วมฉับพลันในเขตเมืองเชียงใหม่นั้นได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำแล้ว (พร้อมสูบน้ำ) 11 จุด รวม 22 เครื่อง ขนาด 8 นิ้ว10 จุด 20 เครื่อง แยกแสงตะวัน วัดไชยมงคล หน้าโรงเรียนเรยีนา หน้าโรงเรียนมงฟอร์ตประถม ทางลอดใต้สะพานป่าแดด หลังธนาคารกรุงไทย เชียงใหม่การ์เด้น วัดม่อนฤาษี แยกหลุยส์(สันกำแพง) และบ้านตำหนัก เครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้ว 1 จุด 1 เครื่อง หลังโรงงานลูกชิ้น รถนาคสูบน้ำขนาด 12 นิ้ว 1 จุด 1 เครื่อง วัดไชยมงคลเครื่องผลักดันน้ำ 2 เครื่อง ที่ ปตร.ท่าวังตาล
ผลเพาะปลูกฤดูฝน(ถึง 5 ก.ย.60)โครงการชลประทานขนาดใหญ่และกลางในเขตเชียงใหม่ปลูกแล้ว330,356ไร่(ข้าว 200,933 ไร่ พืชไร่-พืชผัก 13,367ไร่ ไม้ผล 113,418ไร่ บ่อปลา 2,614 ไร่ อื่นๆ 24 ไร่)(92% ,แผน359,859ไร่)


นอกจากนั้นยังติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 8 นิ้ว 6 จุด 9 เครื่อง ในเขตลำพูน อาทิ หมู่ 10บ.ริมกวง ต.ต้นธง เทศบาลเมืองลำพูน เป็นต้น สำหรับผลการเพาะปลูกฤดูฝนโครงการชลประทานขนาดใหญ่และกลางในเขตลำพูนปลูกแล้ว111,770ไร่(ข้าว 57,175 ไร่ พืชไร่-พืชผัก 1,880 ไร่ ไม้ผล 52,515ไร่ บ่อปลา 200 ไร่ ) (85% ,แผน131,300ไร่) และยังได้การเตรียมการช่วยเหลือพื้นที่เสี่ยงเกิดอุทกภัยที่บ้านท่าข้าม อ.แม่สะเรียง บ้านห้วยสิงห์ อ.แม่สะเรียงในเขต จ.แม่ฮ่องสอนด้วย
ประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์น้ำได้ทาง http://www.rid-1.com และศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ สำนักงานชลประทานที่ 1 053-245081


กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แจ้งเพิ่มเติมว่า การบริหารจัดการน้ำเพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกข้าวนาปีในช่วงฤดูฝน กรมชลประทานบูรณาการร่วมกับกรมประมงและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการ ปล่อยน้ำเข้านา ปล่อยปลาเข้าทุ่ง ประมาณต้นเดือนกันยายน 2560 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้เสริมอีกทางหนึ่งด้วย พื้นที่ปลูกข้าวหลายๆแหล่งได้ปรับปฏิทินการเพาะปลูกให้เร็วขึ้น ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2560 เป็นต้นมา เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก่อนจะถึงฤดูน้ำหลากเดือนกันยายน – ตุลาคม ป้องกันนาล่มซ้ำซาก

ร่วมแสดงความคิดเห็น